คุณหญิงกัลยาชี้ช่องลดเหลื่อมล้ำการศึกษา! ต้องให้ผู้เรียนเลือกที่ไหนก็ได้

คุณหญิงกัลยาแนะระบบการศึกษาไทย หากจะลดความเหลื่อมล้ำได้ต้องเปลี่ยน โดยให้ผู้เรียนเลือกเรียนที่ไหนก็ได้ที่ได้ทั้งความรู้ทั้งวิชาการและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

16 พ.ย.2565 - ที่โรงแรมอวานีขอนแก่นโฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ จ.ขอนแก่น คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยมีบุคลากรภาคการศึกษาในพื้นที่รวมถึงผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่และเครือข่ายทางการศึกษาร่วมประชุมผ่านระบบทางไกล อย่างพร้อมเพรียง

คุณหญิงกัลยากล่าวว่า ขอชื่นชมการจัดการศึกษาของขอนแก่นที่มีการก่อตั้งทีมงานพัฒนาระบบการคิดนอกกรอบ และมีนโยบายต่อการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ให้ยึดหลัก 3 ข้อคือ ทำงานโดยใช้หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ทรงแก้ไขปัญหาประชาชนทุกด้านอย่างประหยัด การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนและการใช้ธรรมชาติของแต่ละพื้นที่แก้ไขปัญหา ซึ่งจากกิจกรรมต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการเสวนาการการเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาและสถานการณ์เด็กและเยาวชนรวมถึงการระดมวามคิดเห็นจะเป็นข้อมูลสำคัญนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ต่อไป

ขณะที่นายสัญญา มัครินทร์ ผู้ริเริ่มมหาวิทยาลัยไทบ้าน กล่าวว่า มองว่าปัญหาเป็นเรื่องเชิงโครงสร้างที่รัฐอาจจะไม่ได้ซับพอร์ตหรือการเติมเต็มได้แบบเต็มที่ อย่างอำเภอสีชมพูที่อยู่นั้นก็ไกลจากในเมืองมีความเหลื่อมล้ำด้านสถานที่เพราะห่างจากตัวอำเภอเมือง 130 กม.การเข้าโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่ดีหรือการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีการเลื่อมล้ำ ถ้าจะทำได้ดีรัฐต้องดูแลเรื่องพื้นฐานก่อนถ้าบอกว่าอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญในยุคนี้ในพื้นที่ที่อยู่อินเตอร์เน็ตยังเข้าไม่ถึง

"ในแง่ของรัฐบาลการช่วยเหลือคือต้องช่วยจริงๆ ได้เรียนฟรีคือต้องฟรีจริงๆ การเดินทาง อาหารการกิน รัฐต้องดูแลแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆคิดว่ารัฐสามารถทำได้ การเรียนนอกระบบน่าจะเป็นคำตอบที่ดีอย่างนึง เดิมทีการศึกษาถูกผูกขาดด้วยรัฐแต่ถ้ามีพื้นที่หรือมีโอกาสให้ชาวบ้านให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ที่สอดคล้องกับบริบทของคนในชุมชนได้แต่รัฐต้องสนับสนุนด้วยมีทุนสร้างทักษะให้คนเหล่านั้นจัดการศึกษาและรับรองด้วยว่าการศึกษาแบบนี้ช่วยลดความเลื่อมล้ำได้จริง"นายสัญญาระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกอิ๊งค์ควง 2 รมต.หญิงลง 'ขอนแก่น-มหาสารคาม' ติดตามแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-ตัดริบบิ้นเปิดงาน

นายกฯ เร่งสปีดนโยบายรัฐบาล ลงขอนแก่น-มหาสารคาม 20 ธ.ค. แก้ไขน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พร้อมตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ของไทย