
15พ.ย.2565- นพ. อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในงานเสวนา เรื่อง “คุณภาพอากาศในอาคาร เรื่องที่ที่คนไทยต้องรู้ และทิศทางการขับเคลื่อนคุณภาพอากาศในอาคารของประเทศไทย” ในการประชุม Healthy Air Forum 2022 ณ โรงแรม Grand Center Point Terminal 21 กรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบันมลพิษทางอากาศทั้งในอาคารและในบรรยากาศ เกิดจากการเติบโตของเมือง กิจกรรมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือการเผาในที่โล่ง ทำให้มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพทางอากาศในอาคารด้วย ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารปิดมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อวัน หากมีการจัดการอากาศในอาคารที่ไม่ดี อาจเกิดการสะสมสารมลพิษและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้
จากผลการสำรวจของกรมอนามัย ปี 2563 พบว่า ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนมีอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในครัวเรือน ได้แก่ อาการปวดหัว ไมเกรน ร้อยละ 20.5 ระคายเคืองตา ร้อยละ 19.7 และผื่นคันตามผิวหนัง ร้อยละ 18.8
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานและส่งเสริมให้เกิดการจัดการคุณภาพอากาศในอาคารที่ดีและคุ้มครองสุขภาพประชาชน 2 มาตรการ คือ 1) มาตรการด้านนโยบายและมาตรฐาน โดยพัฒนาค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคาร เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ทางวิชาการในการเฝ้าระวัง กำกับดูแลคุณภาพอากาศภายในอาคาร และเป็นแนวทางให้เจ้าของอาคารใช้ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่เหมาะสม
และ 2) ผลักดันมาตรการในการจัดการคุณภาพอากาศในอาคาร เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การจัดทำ “ห้องปลอดฝุ่น” ซึ่งปัจจุบัน กรมอนามัยได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนให้เกิดห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุขและศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ที่มีฝุ่นสูง เพื่อให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้อยู่ในอาคารที่มีอากาศสะอาด รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ประชาชน แจ้งเตือนให้ทราบถึงความเสี่ยง ป้องกันและจัดการความเสี่ยงได้อย่างอย่างเหมาะสม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เด็กเล็กต่ำกว่า 5 ขวบในเอเชียตะวันออก-แปซิฟิก โดนมลพิษอากาศคร่าชีวิต 100 คน/วัน
ในขณะที่กรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับมลพิษทางอากาศในระดับที่เป็นอันตราย ส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งต้องหยุดและเกิดความกังวลด้านสุขภาพเป็น
รัฐบาลจับมือร้านอาหารผุดห้องอาหารปลอดฝุ่น!
รัฐบาลจับมือร้านอาหารจัดพื้นที่ปลอดภัยในโครงการ 'ร้านอาหารปลอดฝุ่น' คาด 3 เดือน เพิ่มได้กว่า 20,000 แห่ง ยกระดับมาตรฐานร้านอาหารและภัตตาคารไทย
“สมศักดิ์” มอบ สสส.ให้ความรู้วงกว้าง ห่วงคนไทยเป็นโรคร้ายจากค่าฝุ่น PM 2.5 เผยตัวเลขป่วยด้วยมลพิษทางอากาศสูง 12 ล้านคน เฉพาะเด็กรักษารายวันเฉลี่ย 2,760 ราย
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2568 ว่า ที่ประชุมรับทราบแผนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ของ สสส.
ค่าฝุ่น PM 2.5 เชียงใหม่และภาคเหนือขยับสูงขึ้น ชี้อากาศเริ่มแย่มากขึ้น
ค่าฝุ่น PM 2.5 เชียงใหม่และภาคเหนือขยับสูงขึ้น สั่งจับตาใกล้ชิด อุตุฯแนะงดเผาจัดการเชื้อเพลิงหลังการระบายอากาศเริ่มแย่มากขึ้น