เร่งคลอดเกณฑ์สรรหา อ.ก.ค.ศ.'ตรีนุช'ลั่นได้ครบ 245เขตภายใน 6ก.พ.66 ยันโครงสร้างใหม่อุดทุจริต

9 พ.ย.2565-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2565 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว และมีผลให้อํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ไปเป็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้กำหนดให้ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา) และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา) ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ

รมว.ศธ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ ศธ. ได้เตรียมการรองรับ พ.ร.บ.ฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าให้ให้เป็นไปตามกฎหมาย และดำเนินการให้มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รวมทั้งสิ้น 245 เขตพื้นที่ฯ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 6 ก.พ.2566

โดยที่ผ่านมาทางสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ยกร่างจำนวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม ก.ค.ศ.พิจารณาแล้ว ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ทางสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เตรียมดำเนินการถ่ายโอนภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลไปยังเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมทั้งให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทุกเขตเตรียมการรองรับ โดยจัดเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและอบรมให้มีความรู้ เพื่อให้ช่วงรอยต่อการถ่ายโอนการบริหารงานบุคคลไม่มีปัญหา ส่วนการบริหารงานบุคคลในระหว่างนี้ มาตรา 11 ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ระบุไว้ว่าการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของ กศจ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล ซึ่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ค้างการดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19 /2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2560 จนกว่าจะมี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามพ.ร.บ.ฉบับนี้

ต่อข้อถามว่าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการโอนงานบุคคลกลับ ไปที่เขตพื้นที่การศึกษาแล้ว จะไม่มีช่องโหว่การจ่ายเงินเพื่อแลกกับการโยกย้ายครูและผู้บริหาร รมว.ศธ.กล่าวว่า เรื่องนี้เราจะดำเนินการอย่างโปร่งใสแน่นอน เพราะองค์ประกอบของอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่จะมีทั้งหมด 11 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในระดับจังหวัดเป็นประธาน พร้อมไตรภาคีเครือข่าย เช่น นายอำเภอ ผู้แทนกศจ. เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาการบริหารจัดการในโมเดลดังกล่าวอาจมีช่องทางที่มาจากผู้แทนครูด้วยกันเอง แต่จากนี้ไปเราจะบริหารด้วยไตรภาคีเครือข่าย และที่สำคัญการคัดเลือกองค์ประกอบของอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่จะต้องเสนอที่ประชุมก.ค.ศ.อนุมัติไม่ใช่เป็นการแต่งตั้งกันเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ราชกิจจาฯ แพร่กฎกระทรวง ห้ามไล่ออกนักเรียน-นักศึกษาที่ตั้งครรภ์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดําเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

ตัวเลขนร.ฉีดวัคซีนมาแล้ว 'ตรีนุช' เผยยอดแจ้งความประสงค์ต้องการฉีด 3.6 ล้านคน หรือ 71.6 % คาดจะมีเพิ่มอีก

นางสาวตรีนุช เทียนทอง นัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)