สธ.แจงยิบ ผลงานกัญชา ปี 65 เห็นผล 4 ด้าน ยันเฝ้าระวังปลดจากยาสเพติดให้โทษแล้ว

สธ. แจงละเอียดยิบ ผลงานกัญชา ปี 65 เห็นผล 4 ด้าน เพิ่มการเข้าถึงของผู้ป่วย สร้างวิจัยและนวัตกรรม คุ้มครองผู้บริโภค และปกป้องกลุ่มเปราะบาง ส่วนปี 66 จะเน้นส่งเสริมและกำกับการใช้ให้ประชาชนปลอดภัย ยันเฝ้าระวัง ปลดพืชกัญชาจากยาสเพติดให้โทษแล้ว

4พ.ย.2565- ในการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่3พฤศจิกายน 2565) โดยมี นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุมนั้น ได้มีกรมและกองต่างๆ ภายในกระทรวงสาธารณสุข มาสรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2565 และแนวทางการขับเคลื่อนกัญชาทางการแพทย์ในปี 2566 โดยภาพรวมของการขับเคลื่อนที่ผ่านมา เน้นใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเข้าถึงยาที่มีคุณภาพของผู้ป่วย การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม การคุ้มครองผู้บริโภค และการปกป้องกลุ่มเปราะบาง ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนในปี 2566 ก็ยังคงเน้นการขับเคลื่อนใน 4 ประเด็นเดิม โดยบูรณาการทำงานทุกกรม กองให้เชื่อมร้อยกัน สร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมการใช้และผลักดันให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจและการคุ้มครองความปลอดภัยของสาธารณชน และเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็นในการขับเคลื่อน คือ การสร้างความรอบรู้ด้านกัญชา และการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ

นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณกรมและกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ให้ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ก็ยังสามารถขับเคลื่อนจนทำให้ผู้ป่วยร้อยละ 154.38 เข้าถึงยากัญชาได้ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2564 ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยในปี 2566 นี้ ทางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จะร่วมกับเขตสุขภาพ สถาบันกัญชาทางการแพทย์ และกองบริหารการสาธรณสุข รวมถึงกรมวิชาการทั้งสาม คือ กรมการแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมสุขภาพจิตในการจัดทำการวิจัยเพื่อขยายกลุ่มโรค และเสนอเข้าสู่หลักประกันสุขภาพ อันจะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า การวางแผนการวิจัยได้มีการออกแบบให้มีความหลากหลายขึ้น ทั้งการวิจัยร่วมกับต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของยากัญชาจากประเทศไทย โดยกรมการแพทย์ได้เปิดแนวรุกวิจัยร่วมกับต่างประเทศ โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยกัญชาทางการแพทย์ระหว่างประเทศ (International Medical Cannabis Research Center: IMCRC) และจัดทำแพลตฟอร์มการวิจัยที่เปิดให้ทุกหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเข้ามาร่วมใช้ ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้ลงนามความร่วมมือกับเนเธอแลนด์ และกำลังหารือร่วมกับมาเลเซีย ส่วนกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก็จะดำเนินการวิจัยกัญชาทางการแพทย์แผนไทย เพื่อสนับสนุนการใช้โดยเฉพาะในหน่วยปฐมภูมิ

“ซึ่งในปี 2566 นี้ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจะดำเนินการปรับสถานะยาน้ำมันเดชา จากบัญชี 3 ของบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้มาเป็นบัญชี 1 เพื่อให้สามารถสั่งจ่ายได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะการวิจัยที่ผ่านมาพบว่ายาน้ำมันเดชา ใช้ได้ผลดี และช่วยแก้ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของประชาชน และยังจะเป็นการเปิดโอกาสให้เอกชนนำยาดังกล่าวมาผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนและจำหน่ายให้สถานพยาบาลต่อไปได้ นอกจากงานวิจัยในระดับกรมแล้ว ในปีนี้ทางผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ จะร่วมกับเขตสุขภาพ สถาบันกัญชาทางการแพทย์ และกองบริหารการสาธารณสุข ได้จัดทำตัวชี้วัดเรื่องการจัดการความรู้และวิจัยกัญชา โดยแต่ละเขตสุขภาพจะมีงานวิจัยอย่างน้อย 2 เรื่อง แต่ปัจจุบันก็มีบางเขตสุขภาพแจ้งมาว่าอาจจะมีมากกว่า 2 เรื่อง ซึ่งตรงนี้จะทำให้เรามีองค์ความรู้มากขึ้นในการนำมาใช้กับผู้ป่วย” นพ.ประพนธ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม นพ.ประพนธ์ ย้ำว่า การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกัญชาทางการแพทย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ในผู้ป่วยที่ปลอดภัย และยังเป็นชุดข้อมูลในการเสนอเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร โดยปัจจุบันเรามียากัญชาทั้งในรูปแบบสารสกัด และยาตำรับแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านจำนวน 10 รายการ และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 1 รายการ ซึ่งยาเหล่านี้ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนั้นแล้วยังให้ความสำคัญกับการยกระดับองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยให้มีความทันสมัย เพิ่มการยอมรับของผู้ป่วย โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้นำยาตามองค์ความรู้ดั้งเดิมมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิผลในการรักษา เช่น การทำเป็นยาครีม ยาผงละลายน้ำ หรือการพัฒนายาเม็ดให้เกิดการแตกตัวในลำไส้ เพื่อลดผลข้างเคียงจาการระคายเคืองกระเพาะ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิผลของยาให้ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น ในส่วนของต้นทางของห่วงโซ่อุปทาน ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการศึกษาวิจัยลักษณะทางพันธุกรรมและเคมีของกัญชาสายพันธุ์ไทย ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 สายพันธุ์หลัก อยู่ในระหว่างการดำเนินการขึ้นทะเบียนเพื่อรับรองสายพันธุ์ หกประสบความสำเร็จ ประเทศไทยก็จะมีสายพันธุ์กัญชาไทยที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกับต่างประเทศ ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์สุขภาของประเทศ และแผนงานในปี 2566 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คือ พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากกัญชาสายพันธุ์ไทยให้ภาคเอกชน


ส่วนข้อห่วงใยของสาธารณชนต่อการปลดพืชกัญชาจากยาสเพติดให้โทษนั้น นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า ทางกระทรวงได้พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ตั้งแต่ระดับชุมชน โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ทำงานกับ อสม ในการให้เป็นแกนนำในการเฝ้าระวังและให้ข้อมูลกัญชาที่ถูกต้องกับผู้ป่วย รวมถึงกรมการแพทย์ และกรมสุขภาพจิตก็ได้ติดตามผลกระทบจากการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด ผ่านฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข และของกรมเอง ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและปกป้องกลุ่มเปราะบาง ทั้งการออกประกาศกระทรวงกำหนดให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมอนามัยมีการออกกฎกระทรวงและประกาศกรมอนามัยในการควบคุมกำกับการสูบในที่สาธารณะและการนำกัญชาไปใส่ในอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ได้ดำเนินการจัดทำชุดทดสอบแล้วทั้งสิ้น 3 ชุด ได้แก่ cannabis rapid test ใช้ทดสอบตัวอย่างว่ามีกัญชาเป็นองค์ประกอบหรือไม่ THC test kit ใช้ตรวจแยกกัญชาและกัญชง และ test kann ใช้ตรวจวัดปริมาณ THC ในสารสกัดและน้ำมันกัญชาที่ 0.2% ต่อน้ำหนัก และยังขยายเครือข่ายการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพ และปีที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็ได้ออกสำรวจปริมาณ THC, CBD และสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์กัญชา และได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพไปเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในปีหน้า เราจะทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดให้มากขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค


“ในปี 2566 เราจะเน้นเรื่องการสร้างความสมดุลของการใช้และความปลอดภัย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์และบริการในท้องตลาด ที่จะนำข้อกฎหมายมาบังคับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการสร้างความรอบรู้ให้ผู้บริโภคและผู้ป่วยก็จะดำเนินการควบคู่กัน โดยจะเตรียมการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดประเทศ ที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเพิ่มขึ้น”นพ.ประพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอเดชา' รำลึกเรื่องประทับใจกับ 'แอ๊ด คาราบาว' จากเพลง คนเก็บฟืน ลงท้ายที่ พระอภัยมณี

นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า

นายกฯ เผยข่าวดี ครม.ช่วยลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ลดดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ 

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

ครม. อนุมัติงบ 1.9 พันล้าน ช่วยบรรเทาค่าไฟกลุ่มเปราะบาง เดือน ก.ย.-ธ.ค.67

นายคารม พรพลกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ก.ค.67 เคยอนุมัติหลักการช่วยบรรเทาค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง วันนี้ (11 ธ.ค.) ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณ 1,900 ล้านบาท

“กระทรวง พม.” ช่วยคนกลุ่มเปราะบาง 5 จว.พื้นที่น้ำท่วมใต้

เมื่อวันที่ 29 พ.ย.67 ที่กระทรวง พม. นายนิกร จำนง ประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ตามที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

'อนุทิน' ลงพื้นที่นราธิวาส ช่วยเหลือปชช.น้ำท่วม เร่งอพยพชาวบ้าน เข้าศูนย์พักพิง

ที่ ศาลากลาง จ.นราธิวาส นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร ได้เรียกประชุมส่วนราชการ เพื่อติดตามปัญหาอุทกภัย

โฆษกฯ ฝากเตือนลูกหลานช่วยกลุ่มเปราะบางที่โอนเงินหมื่นไม่สำเร็จ

“ จิรายุ ”ฝากลูกหลานช่วยเตือนญาติผู้ใหญ่คนใกล้ชิด 4 หมื่นกว่าคนที่รัฐโอนเงินหมื่นให้ไม่ได้ เหตุไม่ได้ทำพร้อมเพย์ แนะอย่าปล่อยให้เสียโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและคนพิการ หลังรัฐจะปิดโอนหมดสิทธิ 19 ธ.ค. นี้