เพราะโควิดมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา 'หมอยง' เผยเราเสียโอกาสได้รับวัคซีนเชื้อตาย ที่มีไวรัสทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะส่วนหนาม

เราได้เสียโอกาสไปมากกับการใช้วัคซีนเชื้อตายในระยะแรก ทั้งที่ขณะนี้ก็มีอีกหลายประเทศผลิตวัคซีนเชื้อตายขึ้นมาเช่น ฝรั่งเศส (Valneva) อินเดีย (Covaxin) และได้ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วเช่นกัน การให้วัคซีนเชื้อตายแต่เริ่มต้น เป็นการให้ไวรัสทั้งตัว เปรียบเสมือนจำลองการติดเชื้อ ซึ่งต่างกับวัคซีนไวรัส Vector และ mRNA จะมีส่วนของโปรตีนเฉพาะหนามแหลมเท่านั้น

27 ต.ค.2565 – ศ.นพ..ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความหัวข้อ”โควิด 19 โรคที่จะไม่หายจากไป วัคซีนยังมีความจำเป็น “ความว่า

Covid-19 จะยังคงอยู่กับเราตลอดไป และมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ตามหลักวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต เพื่อการดำรงอยู่
เมื่อประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะจากการฉีดวัคซีน การติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อ จะทำให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อไวรัสได้เป็นอย่างดีถึงแม้ว่าจะมีการกลายพันธุ์ไปบ้าง ความรุนแรงของโรคจึงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับในระยะแรกที่เราไม่มีภูมิต้านทานกันเลย


ประชากรส่วนใหญ่ขณะนี้ทั่วโลกเชื่อว่ามีภูมิต้านทานบางส่วนเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ และวัคซีน จึงทำให้ความรุนแรงของทั่วโลกลดลง เห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมากถ้าเปรียบเทียบกับปีแรก


ถึงแม้ว่าไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่หนามแหลม spike ส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ จึงทำให้สามารถติดเชื้อได้ซ้ำขึ้นได้ แต่ภูมิต้านทานส่วนอื่นเช่นระดับเซลล์ และการกำจัดไวรัสโดยอาศัยเซลล์ ยังคงอยู่ ทำให้การกำจัดไวรัสเป็นไปได้ดีกว่าคนที่ไม่มีภูมิต้านทาน ความรุนแรงของโรคจึงลดลง ถึงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำ


ระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 3 ปี เห็นได้ชัดเจนว่าวัคซีนไม่ว่าจะเป็นเชื้อตาย ไวรัส Vector หรือ mRNA ไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ วัคซีนทุกตัวลดความรุนแรงของโรคได้ไม่ต่างกัน และต้องให้อย่างน้อย 3 เข็มขึ้นไป และยังจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นเป็นครั้งคราวเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ ความจำเป็นในการกระตุ้นยังต้องมีต่อไปโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608


เราได้เสียโอกาสไปมากกับการใช้วัคซีนเชื้อตายในระยะแรก ทั้งที่ขณะนี้ก็มีอีกหลายประเทศผลิตวัคซีนเชื้อตายขึ้นมาเช่น ฝรั่งเศส (Valneva) อินเดีย (Covaxin) และได้ขึ้นทะเบียนใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วเช่นกัน การให้วัคซีนเชื้อตายแต่เริ่มต้น เป็นการให้ไวรัสทั้งตัว เปรียบเสมือนจำลองการติดเชื้อ ซึ่งต่างกับวัคซีนไวรัส Vector และ mRNA จะมีส่วนของโปรตีนเฉพาะหนามแหลมเท่านั้น


ในปัจจุบันนี้เราได้วัคซีนสร้างภูมิต้านทานโดยธรรมชาติ จากการติดเชื้อ ต่อวัน อาจจะมากกว่าการฉีดวัคซีนต่อวันของบ้านเรา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก

'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค

'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง

ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ จับตาโรค 'โอโรพุช' ระบาดในลาตินอเมริกา อาการคล้ายไข้เลือดออก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า