สปสช.นำร่อง 'รพ.หนองฮี' ดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน เบิกค่ารักษาจาก'บัตรทอง' ได้

19ต.ค.2565- พญ.รัชฎาพร สีลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองฮี จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา โรงพยาบาลหนองฮีได้เปิดบริการดูแลผู้ป่วยในแบบ Home Ward ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยทีมแพทย์ประจำบ้านและสหวิชาชีพ เบื้องต้นจะเริ่มใน 7 กลุ่มโรคตามที่กรมการแพทย์กำหนด ได้แก่ 1. โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 2. โรคโควิด-19 ในกลุ่ม 608 ที่สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ 3. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ ที่มีข้อกำหนดว่าต้องฉีดยาฆ่าเชื้อวันละ 1 ครั้ง 4. ผู้ป่วยระดับน้ำตาลในเลือดสูง และไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย 5. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะอันตราย 6. One Day Surgery หรือบริการผ่าตัดวันเดียวกลับ 7. ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันโรงพยาบาลหนองฮีดูแลได้ 6 กลุ่มโรค ยกเว้นบริการ One Day Surgery หรือบริการผ่าตัดวันเดียวกลับ ซึ่งจากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-30 ก.ย. 2565 พบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับบริการแล้ว 29 ราย เป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่ม 608 ผู้ป่วยนำตาลในเลือดสูง และผู้ป่วยความดันโลหิต ส่วนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลในขณะนี้อยู่ที่ 15 เตียง

พญ.รัชฎาพร กล่าวอีกว่า โรงพยาบาลหนองฮีเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2556 ถูกจัดให้เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กที่สุด สามารถให้บริการแบบผู้นอกได้เท่านั้น หลังจากปี 2560 ที่ตนเองเข้ามารับตำแหน่ง พบว่าประชาชนต้องการให้มีบริการผู้ป่วยใน หรือแอดมิทด้วย ซึ่งหากโรงพยาบาลจะเปิดวอร์ดสำหรับผู้ป่วยในก็จะต้องขอดำเนินการ และโรงพยาบาลเองก็ไม่มีงบประมาณสำหรับเปิดวอร์ดผู้ป่วยใน ฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาดำเนินการตามขั้นตอนนานถึง 5 ปี

“ส่วนตัวเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตั้งใจเข้ามาอยู่ที่โรงพยาบาลหนองฮี เพราะอยากทำให้เป็นโรงพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ หรือ Super Primary Care จึงเกิดการพูดคุยกับประชาชนในอำเภอ และเกิดการทอดผ้าป่าระดมทุนเพื่อสร้างตึกผู้ป่วยใน จนถึงปี พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลหนองฮีสามารถให้บริการผู้ป่วยในได้ 10 เตียง และสามารถขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้” พญ.รัชฎาพร กล่าว

พญ.รัชฎาพร กล่าวอีกว่า ในอดีต โรงพยาบาลจะไม่สามารถเบิกค่ารักษากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลที่บ้านได้เหมือนผู้ป่วยใน สุดท้ายก็ต้องดำเนินการเป็นรายเคส เช่น เบิกตามรายกองทุน อาทิ กองทุนผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ฯลฯ แต่หลังจากที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.แล้ว ก็สามารถเบิกได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความร่วมมือของสำนักพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ สปสช. กรมการแพทย์ สธ.

พญ.รัชฎาพร กล่าวว่า จุดสำคัญของการจัดระบบริการ Home Ward คือการทำงานร่วมกับคนในชุมชน ผู้ป่วย หรือญาติของผู้ป่วยได้อย่างยั่งยืน และทีมแพทย์ก็ได้เห็นความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย รวมถึงประชาชนก็จะได้เป็นเจ้าของสุขภาพของคนในครอบครัว และตนเองสปสช.นำร่อง ‘รพ.หนองฮี’ นำร่องดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เบิกค่ารักษาจาก ‘บัตรทอง’ ได้

เพิ่มเพื่อน