17ต.ค.2565-สถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก หรือ Times Higher Education จากประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยมีเกณฑ์การจัดอันดับพิจารณาจากคุณภาพการสอน (Teaching) 30 % คุณภาพงานวิจัย (Research) 30% งานวิจัยที่ถูกนำไปอ้างอิง (Citations) 30% ความเป็นสากล (International Outlook) 7.5% และรายได้จากภาคอุตสาหกรรม (Industry Income) 2.5 % โดยใช้ตัวชี้วัดในการประเมินผลกว่า 13 ตัวชี้วัด ล่าสุดได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดทั่วโลก ประจำปี 2023 หรือ“THE World University Rankings 2023” ปรากฎว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีผลงานที่ยอดเยี่ยมทำให้ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ในไทย โดยอยู่ในอันดับ 801-1000 ของโลกร่วมกับมหาวิทยาลัยในไทยอีก 3 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า การจัดอันดับ “THE World University Rankings 2023” มจธ. มีคะแนนรวม 32.7 สูงสุดของทุกมหาวิทยาลัยในไทย โดยได้รับการประเมินตามตัวชี้วัดใน 5 กลุ่มหลัก ดังนี้ คุณภาพการสอน 18.4 คะแนน คุณภาพงานวิจัย 18.6 คะแนน งานวิจัยที่ถูกนำไปอ้างอิง 57.0 คะแนน ความเป็นสากล 36.0 คะแนน และรายได้จากภาคอุตสาหกรรม 71.8 คะแนน โดยมีผลคะแนนที่โดดเด่นของด้านคุณภาพงานวิจัย งานวิจัยที่ถูกนำไปอ้างอิง และด้านภาพรวมความเป็นสากล ที่มีผลคะแนนที่ดีขึ้นจากปี 2022 ทั้งนี้ คุณภาพการสอน และคุณภาพงานวิจัย มาจากการสำรวจความมีชื่อเสียงเป็นองค์ประกอบหลัก โดยสำรวจความมีชื่อเสียงด้านการสอน 15% และด้านการวิจัย 18% ซึ่ง มจธ.ได้คะแนนในส่วนนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจนัก จึงจะต้องมีการสร้างกลไกให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักที่กว้างขวางขึ้น พร้อมกับการพัฒนา ผลักดัน และสนับสนุน ทั้งในด้านการสอนและงานวิจัย ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
อธิการบดี กล่าวอีกว่า มจธ. มีเป้าหมายที่จะเป็น “The Sustainable Entrepreneurial University มหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และด้วยภารกิจหลักข้อหนึ่ง คือ การวิจัยและนำองค์ความรู้และผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยและสังคมโลก การเรียนการสอนของ มจธ. จึงมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้ได้ทักษะที่คิดเป็น ทำได้ มีความสามารถแก้ไขปัญหา ทำงานวิจัยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมได้ มจธ.ได้มีการจัดระบบนิเวศที่ส่งเสริมสนับสนุน ตั้งแต่เริ่มทำวิจัยไปจนถึงการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น เปิดโอกาสให้กับนักศึกษาได้ทำงานวิจัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีในด้านที่สนใจ ผ่านทุนการศึกษา REAL (Research Experience and Applied Learning) จนนำไปสู่การได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิจัยทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติที่มีความน่าเชื่อถือในระดับ Q1 ของนักศึกษาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก องค์ความรู้ที่ได้ก็มีระบบสนับสนุนให้สามารถต่อยอดไปใช้ประโยชน์และสร้างนวัตกรรม ทำให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ“THE World University Rankings” ในครั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยในไทยอยู่ในอันดับโลก จำนวน 18 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามลำดับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“เบทาโกร” จับมือ “มทร.ล้านนา” และ “มจธ.” ยกระดับทักษะพนักงานระดับ ปวส. ศึกษาต่อปริญญาตรี ด้วยรูปแบบ “โรงเรียนในโรงงาน”
“บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)” หรือ “BTG” โดย “ดร.ถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์” (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานบริหารส่วนกลาง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
“ศุภมาส” รมว.กระทรวง อว.ปลื้ม 19 มหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับโลก “จุฬาฯ - มหิดล – เชียงใหม่ – วลัยลักษณ์” อันดับโลกดีขึ้น ม.พะเยา ได้รับการจัดอันดับเพิ่ม
เมื่อวันที่ 28 ก.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี. รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า Times Higher Education ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ไ