คกก.MIU สธ. เสนอ 5 ข้อถ่ายโอน รพ.สต ระบุอปท.ต้องจัดงบฯให้ตั้งแต่ 1-5 ล้านบาท ตามขนาดรพ.สต.

9 ต.ค. 2565- นพ. รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ 11) และประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข ด้านถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) โดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) เปิดเผยว่า จากการศึกษาฯ มีข้อเสนอเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ รพ.สต. ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ

1.การให้บริการ ต้องให้บริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพไม่น้อยกว่าเดิม มีบุคลากรตามเดิม ในช่วงแรกโรงพยาบาลแม่ข่ายเดิมยังสนับสนุนแพทย์ เภสัชกร บุคลากรอื่นที่ให้บริการแก่ รพ.สต. หากช่วงแรก อบจ.ยังไม่มีวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็น โดยที่ อบจ. ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม ต้องเน้นประเด็นนี้เพื่อให้ รพ.สต. ยังให้บริการได้ตามเดิม ในระยะยาวต่อเนื่อง

2.เรื่องโครงสร้าง ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดเตรียมและส่งมอบข้อมูลภารกิจ งบประมาณ อัตรากำลัง และพัสดุครุภัณฑ์ ของ สอน./รพ.สต. เพื่อให้ อบจ. จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่แผนพัฒนาท้องถิ่นและข้อบัญญัติงบประมาณ ตามกรอบระยะเวลาที่กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยพัสดุครุภัณฑ์ที่เป็นของ รพ.สต.อยู่เดิม ควรถ่ายโอนไปทั้งหมด

3.การสนับสนุน ควรทำความเข้าใจกับหน่วยบริการประจำแม่ข่ายของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (CUP)ทั้งการจัดสรรงบประมาณ การสนับสนุนยา เวชภัณฑ์ บุคลากร ให้แก่ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกับหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และควรแก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำรุง เพื่อการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการอื่น พ.ศ.2544 ให้จ่ายเงินบำรุงให้ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปแล้วได้ แต่ขึ้นกับการตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมถึงควรมีข้อตกลงและระเบียบที่ชัดเจนในการสนับสนุนยา เวชภัณฑ์ และบุคลากรข้ามกระทรวง

4.เรื่องบุคลากร ควรกำกับท้องถิ่นให้บริหารจัดการให้มีบุคลากรขั้นต่ำตามที่กำหนด โดย สอน.หรือ รพ.สต.ขนาดเล็ก รับผิดชอบประชากรน้อยกว่า 3,000 คน มีบุคลากร 7 อัตรา, ประชากร 3,000 – 8,000 คน มีบุคลากร 12 อัตรา และประชากรมากกว่า 8,000 คน มีบุคลากร 14 อัตรา

และ 5.งบประมาณ เสนอว่ารายได้จากหน่วยบริการประจำแม่ข่ายที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก สปสช. ที่จัดสรรให้ตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายได้ทำข้อตกลงกำหนดไว้ ต้องไม่แตกต่างจากแนวทางการจัดสรรงบประมาณก่อนการถ่ายโอน มีความเสมอภาคและเท่าเทียม และให้สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรงบประมาณให้แก่ รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ขนาดเล็ก 1 ล้านบาท/ปี ขนาดกลาง 1.5 ล้านบาท/ปี และขนาดใหญ่ 5 ล้านบาท/ปี โดยต้องวางแผนให้ รพ.สต. และ อปท.ทราบ เพื่อจะได้เตรียมงบประมาณในอนาคตและบริหารจัดการได้

สิ่งสำคัญคือ มาตรฐานและคุณภาพของระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพประชาชนต้องไม่แตกต่างจากเดิมก่อนการถ่ายโอนฯ รวมถึงการทำงานร่วมกันที่สอดประสานปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางสาธารณสุขระดับชาติเพื่อประโยชน์สุงสุดของประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมศักดิ์' ฟุ้งปีหน้า 'รัฐบาลอิ๊งค์' ฉลุย อีก 2 ปีครึ่ง พท. กลับมายิ่งใหญ่

'สมศักดิ์' มองทิศทางการเมืองปี 68 มั่นใจรัฐบาลแพทองธาร เดินไปได้ไร้ปัญหาสะดุดล้ม พรรคร่วมไม่ถึงขั้นแตกหัก ฟุ้งอีก 2 ปีครึ่ง เพื่อไทยกลับมายิ่งใหญ่

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน