กรมสุขภาพจิต ส่งทีม MCATT ลงพื้นที่เยียวยาจิตใจผู้ประสบเหตุ แนะไม่ควรสอบถาม ซักไซ้ ขุดคุ้ย เหยื่อ หรือญาติ

7 ต.ค. 2565- นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต จัดทีมเร่งด่วนเพื่อเยียวยาจิตใจ (MCATT) ทันที่หลังเกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือดูแลจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งนี้ได้ดำเนินการเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตทุกครอบครัวรวมทั้งสิ้น 88 รายโดยทุกรายยังต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดเนื่องจากยังมีความเสี่ยงสูงจากภาวะปัญหาสุขภาพจิต
แพทย์หญิงอัมพร กล่าวว่า การปฏิบัติการเยียวยาที่สำคัญโดยใช้หลักการปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid: PFA) เป็นกระบวนการสำคัญในการเยียวยาจิตใจอย่างใกล้ชิด ช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้แก่ ครอบครัว ญาติ และคนในพื้นที่ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบในชุมชนใกล้เคียง ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไป โดยการซักถามต่อผู้ที่เผชิญเหตุการณ์ความรุนแรง ลักษณะการถามที่มีลักษณะเจาะ เค้น ขุดคุ้ย จะเป็นการตอกย้ำภาพความรุนแรง เสียง บรรยากาศของความรุนแรงจะฉายวนอยู่ในจิตใจคนนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกลายเป็นแผลลึก ทำให้เยียวยา คลี่คลายได้อยากและหากจำเป็นต้องกระทำ ขอให้ทำโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจความรู้สึกและข้อจำกัดตรงนี้ด้วย การถามต้องพร้อมรับฟังอารมณ์ ความรู้สึก ไม่สร้างคำถามที่ทำให้รู้สึกคุกคาม ทำให้ต้องกลับไปคิดวนซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ทำให้เขารู้สึกผิด หรือกล่าวโทษตอกย้ำ

โดยกรณีการดูแลจิตใจกลุ่มเด็กและผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ที่กำลังอยู่ในสภาพของความหวาดกลัว ตระหนก ควรให้การดูแลอย่างเร่งด่วนที่สุด รู้สึกปลอดภัย อยู่ในสถานที่ที่รอดพ้นจากอันตรายแล้วทำให้รู้สึกได้รับการปกป้องทางร่างกายและความรู้สึกได้จากผู้ปกครอง/คนที่คุ้นเคย โดยการรับฟัง และเข้าใจการแสดงออก ท่าทางของเด็กๆ ทั้งนี้ควรระมัดระวังไม่ควรสอบถาม ซักไซ้ ขุดคุ้ย ให้เล่าถึงเหตุการณ์ เพื่อให้ตอบคำถามถึงเหตุการณ์นี้ซ้ำๆ จะทำให้เกิดบาดแผลทางจิตใจที่ลึกและเรื้อรังยากต่อการเยียวยาและในกลุ่มญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งเยียวยาผลกระทบสภาพทางอารมณ์ทันที ดูแลบาดแผลทางจิตใจให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันผลกระทบทางจิตใจระยะยาว

แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่ออีกว่า ในการเยียวยาสร้างความเข้มแข็งทางใจในชุมชน ให้ผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตในพื้นที่ สามารถใช้หลักการ Safe คือการสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยกลับมาโดยเร็ว Calm การไม่กระจายข่าวลือหรือการส่งต่อข้อมูลจนเกิดการตื่นตระหนก Hope การสร้างความหวังให้กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และ Care การใส่ใจดูแลในสังคมร่วมกันโดยทีม MCATT จะติดตาม ดูแลช่วยเหลือและเยี่ยมบ้านอย่างใกล้ชิดพร้อมจัดตั้งศูนย์เยียวยาจิตใจในพื้นที่ โดยกระจายตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย และกับพัฒนาสังคมและตำรวจในพื้นที่เป็นต้นการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตประชาชนหลังประสบเหตุหรือที่เรียกว่าโรคเครียดภายหลังภยันตราย PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ซึ่งจะมีอาการดังนี้ ตื่นกลัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการหวาดกลัว ตื่นตระหนก ตกใจง่าย กระสับกระส่าย วิตกกังวล คิดมาก มองโลกและตนเองในแง่ลบ นอนไม่หลับ หงุดหงิด สมาธิแย่ลง บางรายอาจมีความรู้สึกผิด รู้สึกซึมเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง หรือการคิดเรื่องทำร้ายตัวเองดังนั้นจึงขอให้สำรวจความรู้สึกตัวเองว่า “โกรธ/ก้าวร้าว จนไม่สามารถจัดการได้หรือไม่” หากมีความรู้สึกดังกล่าวขอให้ตั้งหลัก หาทางออก เช่น ขอคำปรึกษาจากคนใกล้ตัวรับฟังและใส่ใจคนรอบข้าง หากไม่สามารถจัดการความรู้สึกตัวเองได้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือโทรสายด่วน 1323 ตลอด
24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสุขภาพจิต ตั้งเป้าดูแลใจผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ลดเครียด ซึมเศร้า

รองโฆษกรบ. เผย กรมสุขภาพจิต วางแผนสนับสนุน ดูแลสุขภาพใจให้ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ตั้งเป้าลดความเครียด ภาวะซึมเศร้า สร้างความเข้มแข็งทางใจ

ตัดตอนผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ฟื้นฟูคืนสู่'บ้าน'

กรณีฆาตกรรม’ป้ากบ’ บัวผัน ตันสุ  ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  โดยกลุ่มเยาวชนคึกคะนอง ซึ่งป้ากบอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” อาศัยฟุตบาทเป็นที่หลับนอน  จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญและขยายปัญหาที่เรื้อรังมานานให้ชัดเจน

สธ.ขยายบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ.-รพท.ครบทุกจังหวัด

สธ.ขยายบริการผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ./รพท.ครบทุกจังหวัด นำร่องศูนย์ธัญญารักษ์จังหวัด ครบทุกเขต พร้อมผลิตบุคลากรเติมเต็มระบบบริการ

อัดวัคซีนใจทุกสถานประกอบการ ผลักดันตรวจสุขภาพจิตประจำปี

การสร้างสุข-ลดทุกข์วัยทำงานในสถานประกอบการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถานที่ทำงานคือบ้านหลังที่ 2 (Second House) ยิ่งทักษะเดิมของแรงงานไม่สอดรับกระบวนการผลิตแบบใหม่