ศธ.ปรับมาตรการโควิด ในโรงเรียนเป็นโรคเฝ้าระวัง

3 ต.ค.2565-น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาทั่วประเทศ ตามประกาศยกเลิกมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และประกาศหลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีคณะผู้บริหารของกระทรวง และน.พ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลายลง กระทรวงสาธารณสุข จึงประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงยกเลิกประกาศ 3 ฉบับ เพื่อให้สอดรับด้วย แต่สถานศึกษา เป็นสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มและทำกิจกรรมที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการ จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ จึงต้องปรับแนวปฏิบัติให้สอดรับกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข หากมีการติดเชื้อในสถานศึกษาให้จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมโดยไม่ปิดเรียน เน้นการพัฒนาระบบและทักษะให้นักเรียนและครูสามารถดูแลตนเองได้ โดยใช้โครงการ 1 โรงเรียน 1 ครูอนามัย สร้างเด็กไทยรอบรู้สุขภาพ มีระบบการคัดกรอง เฝ้าระวัง การส่งต่อ ด้านความเครียดหรือซึมเศร้าต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและลดความรุนแรง

นพ.สราวุฒิ กล่าวว่า สำหรับสถานศึกษา กรณีผู้ที่ติดเชื้อ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และการจัดสถานศึกษาให้ปลอดภัย ว่า ประกาศนโยบายมิติสุขภาพและคำแนะนำการป้องกันโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จัดสภาวะแวดล้อมของสถานศึกษา สะอาด ปลอดภัย สุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาล มีการปะเมินความเสี่ยงตามความเหมาะสม ส่งเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ ครู บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง ปฏิบัติตามสุขภาพส่วนบุคคลขั้นพื้นฐาน มีการตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียนตามมาตรฐานงานอนามัยโรงเรียน เฝ้าระวังสังเกตุอาการกรณีกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ให้ประสานปรึกษา และส่งต่อโรงพยาบาล ในส่วนของการได้รับวัคซีนของเด็กนักเรียนตั้งแต่ช่วงอายุ 12-17 ปี มีเพิ่มมากขึ้น

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า จะมีการสื่อสารไปยังโรงเรียนและผู้ปกครอง โดยยังคงเน้นการป้องกันตัวเองตามแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเข้มงวด ขณะที่โรงเรียนจะต้องเน้นการป้องกันและเฝ้าระวัง สังเกตุอาการนักเรียนอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดการเรียนการสอนให้เกิดความปลอดภัยกับเรียนเรียน ขณะเดียวกันต้องพร้อมกับการเผชิญสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการปฏิบัติตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขด้วย

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ในส่วนของอาชีวะที่จะเร่งดำเนินการคือการสร้างความเข้าใจ และแนวทางปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการผ่อนปรนในหลายเรื่อง รวมทั้งต้องทีการประชุมทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ร่วมกับผู้บริหารและครู พร้อมกับต้องดำเนินการตามนโยบาย 1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย เพื่อดูแลในเรื่องนี้ และจะต้องเพิ่มความเข้มข้นในการดูแลความสะอาดห้องพัก ห้องปฏิบัติการต่างๆ เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่มีนักศึกษาอยู่ประจำ ในโครงการ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ พร้อมจัดทำแผนเผชิญเหตุด้วย โดยขณะนี้พร้อมขับเคลื่อนและจัดการศึกษาในสถานการณ์ขณะนี้ได้อย่างไม่มีปัญหาในทุกเรื่อง

นายวัลลพ สงวนนาม เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) กล่าวว่า เนื่องจาก กศน.มีความหลากหลายในการจัดกิจกรรม และสถานที่ต่างๆ จึงต้องมีการประสานความร่วมมือกับทุกส่วนไม่ว่าจะเป์นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศาสนสถาน และผู้ประกอบการ ให้เตรียมความพร้อมสถานที่ในการจัดกิจกรรมให้มีความปลอดภัยมากที่สุด มีการสร้างความรู้ความเข้าใจกับบุคลากรในสังกัด นักเรียน นักศึกษา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยข้อมูลระบาดวิทยา พบ ‘โควิด-ไข้หวัดใหญ่’ ยังแพร่เชื้อต่อเนื่อง

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ยังมีต่อเนื่อง ไวรัสไข้หวัดใหญ่กำลังพุ่งสูงขึ้นตามฤดูกาล เข้าฤดูฝนแล้ว เชื้อไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิดจะกลับมาระบาดหนักอีก

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19