'ททท. 'สโลแกน'หมอโอภาส'มอบข้าราชการสธ.

3 ต.ค. 2565- ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมมอบนโยบายและทิศทางการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุขต่อผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลาง และผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้บริหารส่วนภูมิภาค ภายหลังเข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา

นพ.โอภาสกล่าวว่า ขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกคนยึดตามพระราชดำรัส สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ที่ “ให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นปณิธานในการทำงานร่วมกัน ซึ่งช่วงโควิด 19 ที่ผ่านมา ทุกคนได้ร่วมแสดงพลังต่อสู้วิกฤต พิสูจน์ให้เห็นถึงความเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขและระบบสาธารณสุขไทย จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และทำให้เห็นว่า “สุขภาพของคนไทย” มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ซึ่งปัจจุบันเราอยู่กับโควิดอย่างคุ้นเคยมากขึ้น และเศรษฐกิจเริ่มขับเคลื่อนได้ อย่างไรก็ตามเรายังอยู่ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (VUCA World) เช่น การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจการขาดแคลนทรัพยากรและอาหาร, สภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ มลพิษ, ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี,การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประชากรอายุยืนขึ้น เด็กเกิดใหม่และวัยแรงงานน้อยลง เมืองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น และด้านสาธารณสุข ที่มีทั้งโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ โรคติดต่อไม่เรื้อรังปัญหาสุขภาพจิต และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทัน

สำหรับทิศทางที่จะร่วมกันพัฒนากระทรวงสาธารณสุขและสุขภาพของคนไทยต่อไป จะนำนโยบายมุ่งเน้น 5 ประการ ของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ได้แก่ การทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น, การยกระดับการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อคนไทยแข็งแรง, ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง, นำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และข้อมูลสุขภาพต้องเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน ซึ่งระยะ 3 ปีต่อจากนี้ จะเป็นโอกาสพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ครอบคลุมทั้งมิติสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อเป้าหมาย “ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรง” ด้วยแนวนโยบาย “สุขภาพคนไทยเพื่อสุขภาพประเทศไทย” มุ่งเน้น 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยกระดับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟู และความเสี่ยงต่อสุขภาพ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็ว พัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย ดูแลสุขภาพกาย-ใจตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้แข็งแรง

2.ยกระดับบริการรองรับสังคมสูงวัยและลดอัตราตายโรคสำคัญ โดยเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เพิ่มศักยภาพ 3 หมอ ทั้ง อสม.หมอคนที่ 1 เป็นผู้นำด้านสุขภาพชุมชน เพิ่มศักยภาพ รพ.สต. หมอคนที่ 2 เป็นจุดเชื่อมต่อดูแลสุขภาพจากชุมชนสู่ระบบบริการ โดยใช้การแพทย์ทางไกล และเพิ่มประสิทธิภาพเชื่อมโยงกับหมอคนที่ 3 ดูแลแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ปรับโฉมโรงพยาบาลทุกแห่งเป็น “โรงพยาบาลของประชาชน” มีสถานที่ สิ่งแวดล้อม สะอาด สวยงาม เข้าถึงง่าย รับบริการสะดวก ลดความแออัด ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัย บริการมีคุณภาพ ใส่ใจดุจญาติ และเพิ่มขีดความสามารถระบบบริการและเครือข่ายไร้รอยต่อ “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต มะเร็ง สุขภาพจิต ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของคนไทย

3.ผลักดันบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขสู่ยุคดิจิทัล ให้โรงพยาบาลทุกแห่งใช้การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้เอื้อต่อการบริการอย่างไร้รอยต่อ และเร่งพัฒนานวัตกรรมการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การแพทย์ระดับอณู (Molecular medicine) เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ ดูแลรักษาสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคตามลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรม และใช้ยาเฉพาะบุคคล (Personalized medicine) 4.ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพ เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในอนาคต รวมถึงผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพนานาชาติ สนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

และ 6.พัฒนาสู่องค์กรสมรรถนะสูงและบุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น ด้วยแนวทาง 4T ได้แก่ Trust สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายนโยบาย ฝ่ายต่างประเทศและเครือข่าย, Teamwork &Talent ทำงานเป็นทีม สนับสนุนคนเก่ง, Technology ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และ Targets ทำงานแบบมุ่งเป้าหมาย จัดการทรัพยากรให้เกิดผลิตภาพและบริการที่มีคุณค่า ขณะที่บุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น มีความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน สามารถยืดหยุ่นปรับตัวได้ในภาวะวิกฤต

“ขอให้ทุกคนยึดหลักปฏิบัติในการทำงาน “ททท” คือ “ทำทันที” “ทำต่อเนื่อง” “ทำและพัฒนา” และร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อนและพัฒนาสาธารณสุขไทยสู่การยกระดับบริการและการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นระบบสาธารณสุขที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน” นพ.โอภาสกล่าว

ในโอกาสนี้ นพ.โอภาส ได้รับมอบบัตรแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะและดวงตา จากสภากาชาดไทย พร้อมทั้งขอให้บุคลากรสาธารณสุขให้ความสำคัญและช่วยกันรณรงค์เรื่องการบริจาคอวัยวะและดวงตา ซึ่งเป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ ช่วยให้ผู้ป่วยที่รอคอยการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' ข้องใจนำกัญชากลับสู่ยาเสพติด 'คนเดียวกันพูดคนละอย่างได้อย่างไร' จี้ป.ป.ส.แจง

'พีระพันธุ์' ข้องใจ นำกัญชากลับเข้าสู่บัญชียาเสพติด 'คนเดียวกันพูดคนละอย่างได้อย่างไร' เล็งให้ ป.ป.ส.แจง หลังนโยบายชักเข้าชักออก ขอคุยก่อนประชุม ย้ำต้องอธิบายให้ได้

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

'เศรษฐา' สั่ง สธ.เร่งเพิ่มครูสอนพยาบาล

'รัดเกล้า' เผย อนุมัติงบเพื่อยกระดับโรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม-สระแก้ว นายกฯ ย้ำมีฮาร์ดแวร์แล้วต้องมีซอฟต์แวร์ด้วย สั่ง สธ. เพิ่มจำนวนครูสอนพยาบาล

ททท. กางแผนปี 68 ดึงต่างชาติเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน สร้างรายได้ 3.4 ล้านล้าน

ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในงานประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ปี 2568 (Tourism Authority of Thailand Action Plan 2025 : TATAP 2025) ว่า ททท.ตั้งเป้าหมายในปี 2568 สร้างรายได้รวมเพิ่มจากที่ทำได้ในปี 2567 ไปอีก 7.5%

อย่าเอากัญชามาล้างแค้นการเมือง ! “หมอปัตพงษ์” วิเคราะห์ท่าที “สมศักดิ์” หลังเผยไทม์ไลน์นำกัญชากลับเป็นยาเสพติด

รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ หน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความเห็นภายหลังนายสมศักดิ์ เทพสุทิน