บทเรียนจากโควิด สธ.เตรียมปั้น 'นักป้องกันและวิจัย ควบคุมโรคเขตเมือง' ตั้งเป้าปี73 ผลิตได้ 200 คน

29 ก.ย.2565-นพ.ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการขยายตัวของเขตเมือง และมีชุมชนเมืองเพิ่มมากขึ้น ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นเกิดเป็น สังคมพหุวัฒนธรรม เมื่อเทียบกับพื้นที่ มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สาธารณูปโภค อุปโภค มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นศูนย์กลางของความเจริญทุกๆ ด้าน ส่งผลให้พื้นที่ เขตเมือง เป็นพื้นที่เปราะบางง่ายต่อการระบาดของโรค ซึ่งยากต่อการวางแผนมาตรการป้องกันควบคุมโรค และการจัดระบบบริการสาธารณสุขพื้นฐาน กรมควบคุมโรคจึงจัดตั้ง ศูนย์การอบรมและวิจัยการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ขึ้น ณ อาคารศูนย์การแพทย์บางรัก ชั้น 13 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร ขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของคนเมือง โดยร่วมกับมูลนิธิป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง จัดทำแผนงานพัฒนาการอบรมและวิจัยด้านป้องกันควบคุมโรค เขตเมือง 10 ปี พ.ศ. 2564-2573 (Training and Research in Urban Disease Control: TR-UDC Program)


ทั้งนี้ เพื่อให้มีนักปฏิบัติการเชี่ยวชาญภาคสนามและนักวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ที่มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมอัตลักษณ์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะระบาดวิทยาในเขตเมือง ทักษะการใช้ข้อมูลในระดับ Big data ทักษะการทำงานร่วมกับภาคเอกชน ทักษะการออกแบบนโยบายการวางแผนและการคลังสุขภาพเขตเมือง รวมทั้งทักษะ ทางสังคมวิทยามานุษยวิทยาการแพทย์เพื่อการควบคุมโรคเขตเมือง นอกจากนี้นำทักษะไปพัฒนาให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและจัดการระบบการฝึกอบรมและวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองระดับประเทศ นับเป็นเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเขตเมือง เพื่อให้เกิดเป็นนโยบาย และมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองที่ใช้ได้จริง มีการจัดการโครงสร้างและกลไกการบริหารที่ดีขึ้น พัฒนาเป็นระบบการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง รวมถึงความเสี่ยงทางสุขภาพ ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้
” ขอขอบคุณนพ.อำนวย กาจีนะ ประธานมูลนิธิป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองที่ริเริ่มการก่อตั้งศูนย์ฯนี้ ทั้งนี้ แผนงานฯ 10 ปี มีเป้าหมายผลิตนักปฏิบัติการเชี่ยวชาญภาคสนาม ปีละ 20 คน ภายใน 10 ปีจะมีถึง 200 คน อันเป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติ”นพ.ปรีชา กล่าว

นายสุขสันต์ จิตติมณี รองผอ.สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ได้กล่าวว่า ในระยะแรกของการจัดตั้งศูนย์ฯนี้ สปคม.จะได้ดูแลในการบริหารทรัพยากรและบุคลากร เพื่อให้ศูนย์ฯ ดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นพ.ชาโล สาณศิลปิน ผู้อำนวยการศูนย์การอบรมและวิจัยการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า ระยะเริ่มต้นศูนย์การอบรมและวิจัยการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง จะเป็นหน่วยงานในกำกับของสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เพื่อเป็นสถาบันร่วมกับมหาวิทยาลัยจัดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (Master of Science in Urban Disease Control and Prevention: M-UDC) ในการผลิตนักปฏิบัติการเชี่ยวชาญภาคสนามและนักวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และพัฒนานโยบายและจัดการระบบการฝึกอบรมและวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองระดับประเทศ ตามแผนงานฯ (TR-UDC program) โดยในปีการศึกษา 2565 ศูนย์การอบรมและวิจัยการป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองร่วมกับมูลนิธิป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และมหาวิทยานวมินทราธิราช เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (Master of Science in Urban Disease Control : M-UDC) ระยะ 1 ปี รุ่นที่ 1 มีผู้ที่กำลังศึกษา ในหลักสูตรฯ นี้ จำนวน 14 คน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว

สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่