PISAสะท้อนเยาวชนไทย พร้อมเข้าสู่โลกศตวรรษที่ 21 หรือไม่

นิตยสาร สสวท. หรือสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).ฉบับที่ 237(เดิอนก.ค.-ส.ค.)ได้ลงบทความเรื่อง “สะท้อนประเด็นจากผลการประเมิน PISA ด้านการอ่าน”เขียนโดย ดร.นันทวัน สมสุข รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิชาการวัดและประเมินผล สสวท และสูชาดา ปัทมวิภาค ผู้ชำนาญ สาชาการวัดและประเมินผลระดับนานาชาติ สสวท  โดยมีสาระสำคัญดังนี้  ว่า
 การประเมินผลทางการศึกษาขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เราคุ้นชื่อกันว่า “PISA” ซึ่งย่อมาจากProgramme for International Student Assessment หรือโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for EconomicCo-operation and Development หรือ OECD) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนมีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำ เป็นต่อการดำ รงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง

 PISA ประเมินนักเรียนช่วงอายุ 15 ปีซึ่งถือว่าเป็นวัยที่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ โดยเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง หรือเรียกว่า “ความฉลาดรู้” (Literacy)ได้แก่ ความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical literacy) และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์(Scientific literacy) การประเมินนักเรียนจะประเมินทั้ง3 ด้าน ดังกล่าวไปพร้อมกัน โดยการประเมินแต่ละครั้งจะมีหนึ่งด้านที่เน้นเป็นหลักซึ่งจะหมุนเวียนไปในแต่ละรอบการประเมิน ทั้งนี้ความฉลาดรู้ทั้งสามด้านนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำ เป็นสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่ประชากรจำ เป็นต้องมีเพื่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ PISA ได้เริ่มดำ เนินการมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 (PISA 2000) และมีการประเมินอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ปีเพื่อติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษาและมุ่งให้ข้อมูลแก่ระดับนโยบาย ปัจจุบันเข้าสู่การประเมินรอบ PiSA 2022 โดยมีประเทศเข้าร่วมการประเมินมากกว่า 80 ประเทศ

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการประเมิน PISA ตั้งแต่การประเมินรอบแรกจนถึงปัจจุบัน และมีสถานะเป็นประเทศสมาชิกสมทบ (Associates) โดยมีสถาบันส ส่่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ทำหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติ(National Center) ดำ เนินการเก็บข้อมูลการวิจัย

ผลการประเมิน PISA มีความสำ คัญอย่างยิ่งเนื่องจากสามารถบ่งบอกข้อมูลต่อเนื่องให้แก่ระดับนโยบายในการกำหนดสิ่งที่ควรพัฒนาในระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ นอกจากนี้PISA ยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(IMD World Competitiveness Ranking) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของประชากรในประเทศในการพิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันและความน่าลงทุนของประเทศอีกด้วย

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมการประเมิน PISA มาตั้งแต่ PISA2000 จากผลการประเมินพบว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคะแนนตั้งแต่การประเมิน PISA 2000 จนถึง PISA 2018 ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของไทยไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ด้านการอ่านมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ใน PISA 2018 ยังพบว่า มีนักเรียนไทยที่มีความสามารถทางการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน (ระดับ 2) ขึ้นไป ประมาณ 40%, 47%, และ 56%



ทั้งนี้ในจำนวนนี้มีนักเรียนไทยเพียง 0.2% ที่มีความสามารถทางการอ่านในระดับสูง (ระดับ 5 และระดับ 6) ส่วนประเทศสมาชิก OECD มีนักเรียนในกลุ่มประมาณ 9% มีความสามารถด้าน การอ่านที่ระดับสูง นักเรียนสามารถทำความเข้าใจกับบทอ่านที่มีความยาวและจัดการกับแนวคิด ที่เป็นนามธรรมหรือขัดกับความรู้สึกได้สามารถแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น จากสิ่งชี้บอกโดยนัยที่อยู่ในบทอ่านได้  นอกจากนี้ ยังพบว่านักเรียนไทยทั้งกลุ่มที่มีคะแนนสูงและกลุ่มที่มีคะแนนต่ำ ต่างก็มีจุดอ่อนอยู่ที่ด้านการอ่านเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การยกระดับความสามารถทางการอ่านของนักเรียนจึงถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับระบบการศึกษาไทย ซึ่งผลการประเมินทั้งคะแนนและสัดส่วนนักเรียนที่มีความสามารถตั้งแต่ระดับพื้นฐานของทั้งสามด้านยังคงต่ำ กว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ในทุกรอบการประเมินที่ผ่านมาโดยเฉพาะในด้านการอ่าน

ความท้าทายในการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านของไทย การประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy)ของ PISA ต่างจากการประเมินการอ่านทั่วไปที่มักเข้าใจว่ามีบริบทเพียงการอ่านออกเขียนได้  แต่ PISA มีมุมมองเรื่องความฉลาดรู้ด้านการอ่านในแง่การแสดงความสามารถที่กว้างขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับสาระข้อมูลที่ได้อ่าน ผู้อ่านต้องสามารถค้นหาและรู้ตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะระหว่าง PISA 2015 กับ PISA 2018 ที่นักเรียนไทยมีคะแนนการอ่านลดลงถึง 16 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่านอยู่ที่ 393 คะแนนนั้น เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของคะแนนการอ่าน ระหว่าง PISA 2015 และ PISA 2018 ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน พบว่า เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากกว่ารูปแบบของบทอ่านในข้อสอบ การอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นการอ่านผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องเข้าใจสิ่งที่อ่านและบูรณาการเข้ากับความรู้เดิม ตรวจสอบและประเมิน

มุมมองของผู้เขียนและตัดสินใจว่าสิ่งที่อ่านนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ หรือเกี่ยวข้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของเรื่องหรือไม่ โดยกรอบการประเมิน PISA2018 ระบุกระบวนการในการอ่าน 3 ด้านหลักที่สะท้อนความฉลาดรู้ด้านการอ่าน

กับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการอ่านกับคะแนนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยที่พบว่า มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.75 และ 0.83 ตามลำดับดังแสดงในภาพ3นั่นจึงยิ่งสะท้อนภาพที่ชัดเจนว่าสมรรถนะด้านการอ่านคือ รากฐานสำคัญและส่งผลต่อการเรียนรู้ในด้านอื่นๆของนักเรียน ดังนั้น จากผลการประเมิน PISA จึงบ่งชี้ว่าการยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนไทยถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับระบบการศึกษาไทย

ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวกต่อคะแนนการอ่านของนักเรียนไทยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ 1) การมีกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ที่เชื่อว่าความสามารถและสติปัญญาเป็นสิ่งที่พัฒนาได้2) การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานที่ให้ความสำคัญกับความทุ่มเทในการทำงานให้สำเร็จ และ 3) การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โดยไม่มีความรู้สึกเชิงลบหรือแปลกแยก

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ PISA สะท้อนให้เห็นว่า ระบบการศึกษาไทยจำเป็นต้องยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอย่างเร่งด่วน ซึ่งการดำ เนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเกิดจากการส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นนิเวศทางการเรียนรู้และใกล้ตัวของนักเรียนมาก ประกอบ ไปด้วยโรงเรียน ซึ่งสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ครูซึ่งมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้รวมไปถึงการพัฒนาด้านพฤติกรรม อารมณ์และสังคมของอยู่ที่โรงเรียน

นอกจาก 3 ปัจจัยดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า มีปัจจัยสำคัญอื่นๆที่ส่งผลเชิงบวกต่อคะแนนการอ่านด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนโดยตรง ได้แก่ความเพลิดเพลิน ในการอ่าน และการรู้กลวิธีในการอ่านเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครูและการสนับสนุนจากพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยดังแสดงในภาพ 5

“นักเรียน ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัว ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการหล่อหลอมด้านต่างๆ และเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนในความพยายามและความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียน  เนื่องจากการอ่านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกๆ วันของคนส่วนใหญ่ การอ่านจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและช่วยให้เราได้รับทราบข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นมากมายและหลั่งไหลอย่างรวดเร็ว”บทวิเคราะห์สรุป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เชฟรอนสนับสนุนงานวิ่ง Saturday School Run 2024 ระดมทุนการศึกษาสู่ฝันเยาวชนไทย ฉลอง 10 ปี มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการศึกษา สู่รากฐานที่แข็งแกร่งของสังคมไทยผ่านการพัฒนา “พลังเยาวชน”

กระทรวง อว.ลุยยกระดับผลการประเมิน PISA เด็กไทยปี 68

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางและดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล

นายกฯ ชื่นชม 3 โครงงาน ของตัวแทนเยาวชนไทย นำขึ้นไปทดลองจริงบนอวกาศ

นายกฯ ชื่นชมตัวแทนเยาวชนไทย จากการแข่งขันโครงการ 'Asian Try Zero-G 2023' ไทยได้รับคัดเลือกถึง 3 โครงงาน เพื่อนำขึ้นไปทดลองจริงบนอวกาศ