ของเขาดีจริงๆ พบผู้ป่วยโควิดอายุ 105 ปี ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน เชื้อลงปอด ได้รับยาแอนติบอดิ LAAB หายป่วยกลับบ้านได้

18 ก.ย. 2565- นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการที่ ประเทศไทยได้จัดหาภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ Long Acting Antibody (LAAB) ให้ประชาชนกลุ่มที่มีความจำเป็นนับเป็นการยกระดับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 เพื่อดูแล ป้องกันสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน กลุ่มเสี่ยง 608 เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูกที่ได้รับยากดภูมิ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งกลุ่มนี้หากติดเชื้ออาจเสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรงหรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งการทำงานของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป เมื่อฉีดเข้าไปแล้วร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิดได้สูงทันทีภายหลังฉีด ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมาก ในการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว ซึ่งในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ในการรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

นพ. โอภาส กล่าวอีกว่า ช่วงต้นเดือนกันยายน 2565 พบผู้ป่วยโรคโควิด 19 รายหนึ่ง อายุ 105 ปี และยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 โดยมีอาการไข้สูง มีเสมหะ ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ และต่อมามีปอดติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในวันแรก แต่เนื่องจากมีอายุมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แพทย์จึงพิจารณาให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB แก่ผู้ป่วยด้วยในวันที่ 4 กันยายน 2565 ร่วมกับยาปฏิชีวนะ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2565 อาการผู้ป่วยค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาการปอดติดเชื้อน้อยลง ไข้ลง ค่าออกซิเจนในเลือดกลับมาปกติ และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้วันที่ 14 กันยายน 2565 รวมระยะเวลาที่ใช้รักษาน้อยกว่า 2 สัปดาห์ โดยการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือ LAAB น่าจะมีผลดีในการรักษาผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขยังเน้นย้ำแนะนำให้ผู้สูงอายุทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดโดยเร็วก่อนจะเกิดการติดเชื้อ

สำหรับ ประเทศไทย มีนำเข้าภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB และฉีดครั้งแรกให้กับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต ที่สถาบันบำราศนราดูร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 และส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 กลุ่มเป้าหมายระยะแรกผู้ป่วยไตวายระยะเรื้อรังที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกไต) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก โดยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการพิจารณาในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิดด้วย LAAB หรือสามารถติดต่อเข้ารับการฉีดได้ที่สถานพยาบาล พร้อมกันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด สำรวจจำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ ในสถานพยาบาลทุกสังกัด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจาก LAAB อย่างทั่วถึง


“นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข กำลังพิจารณาเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด และฉายแสง, ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่ต้องได้รับยากดภูมิขนาดสูง, ผู้ป่วยโรคข้อที่ต้องรักษาด้วยยากดภูมิ และผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำโรคอื่นๆ”นพ.โอภาสกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอมนูญ’ เผยข้อมูลระบาดวิทยา พบ ‘โควิด-ไข้หวัดใหญ่’ ยังแพร่เชื้อต่อเนื่อง

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ยังมีต่อเนื่อง ไวรัสไข้หวัดใหญ่กำลังพุ่งสูงขึ้นตามฤดูกาล เข้าฤดูฝนแล้ว เชื้อไวรัสทางเดินหายใจทุกชนิดจะกลับมาระบาดหนักอีก

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19