กรมวิทย์ฯ เผยเจอโอมิครอนBA.2.75ในไทย9รายเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ชี้ไม่ควรตระหนก ทั่วโลกBA.5 ยังครองเป็นหลัก

14ก.ย.2565- นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า อยากทำความเข้าใจสถานการณ์โควิดในปัจจุบัน จากที่เป็นข่าวว่าเจอโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA2.75.2 รายแรกของประเทศ อยากเรียนให้ทราบว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เฝ้าระวังตรวจสายพันธุ์โควิด-19 ทุกสัปดาห์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่ง รวมทั้งส่วนส่วนกลางด้วย ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจจำนวน 359 คน พบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 จำนวน 333 คน สายพันธุ์ย่อย BA.2 ประมาณ 20 คน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 จำนวน 5 คน ซึ่งเราจับตาดู และ สายพันธุ์ย่อย B.1.1.529 จำนวน 1 คน

ทั้งนี้ ในภาพรวมของประเทศนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งดูทั้งคนที่เดินทางเข้าประเทศ ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ BA.4/BA.5 พบว่าสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 ครองสัดส่วนมากที่สุด 93% ส่วนที่เหลือเล็กน้อยเป็นสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ 1% เมื่อแบ่งตามพื้นที่ของประเทศ ขณะนี้ โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 มีสัดส่วนอยู่ในกรุงเทพฯ 92% และส่วนภูมิภาค 94%

นพ.ศุภกิจกล่าวอีกว่า เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมออกมาในจำนวน 803 ราย พบว่าปัจจุบันพบการแพร่ระบาดส่วนใหญ่ยังเป็น BA.5 รวมสะสมจำนวน 688 คน คิดเป็น 85% ขณะที่ BA.4 จำนวน 106 คน ลดลงเหลือ 10% ถือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่มีการระบาด เป็น BA.5 ส่วนใหญ่ พบ BA.2.75 รวม 9 รายเมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาและการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งหมด 9 ตัวอย่าง แบ่งเป็น จ.แพร่ 2 คน กรุงเทพมหานคร 5 คน ตรัง 1 คน และสงขลา 1 คน โดยในกรุงเทพฯ เราพบสายพันธุ์ย่อยของ BA.2.75 คือ เจอ BA.2.75.1, BA.2.75.2, BA.2.75.3 อย่างละ 1 ราย หรือจะนับว่าทั้ง 2 เป็นรายแรกในไทยก็ได้ ส่วนที่เหลืออีก 6 ราย ก็เป็นสายพันธุ์ของตัวแม่ นี่คือสถานการณ์เป็นจริงในขณะนี้

ส่วนกรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียระบุว่าเจอสายพันธุ์ลูกหลานของ BA.2.75 ในประเทศไทยแล้ว ต้องเข้าใจว่าการกลายพันธุ์เป็นเรื่องธรรมชาติของไวรัส และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างจับตาการกลายพันธุ์ในตำแหน่งต่างๆของไวรัส ว่าจะมีความหมายอย่างไร จะส่งผลต่อการแพร่ระบาด ความรุนแรง และการหลบวัคซีนหรือไม่ โดยเฉพาะ BA.2.75 ที่เป็นตัวแม่ แต่เมื่อมาเป็นตัวลูกหลาน กลายเป็น BA.2.75.2 ตัวที่มีการเพิ่มในตำแหน่ง R346T และ F486S หรือ BA.2.75 .2 แพร่ระบาดเร็วกว่าBA.5 ราว 114% แต่ข้อมูลนี้มาจากการสังเกตุการณ์ในห้องแล็บ ยังตอบในโลกสถานการณ์ความเป็นจริงไม่ได้ ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเชิงสถิติ ที่ต้องเฝ้าจับตาดูต่อไป แต่ต้องยอมรับว่าขณะนี้ ทั้งโลกตรวจการกลายพันธุ์ไม่ได้มากเท่าเดิม อาจเป็นการสุ่ม ตรวจ ดังจะเห็นได้ว่าหลายประเทศถอดหน้ากากกันแล้ว ดังนั้น ข้อมูลที่ได้อาจไม่ใช่ตัวแทนสถานการณ์ที่แท้จริง

นพ.ศุภกิจ ยังสะท้อนว่า แนวโน้มว่าลูกหลานของBA.2.75 ยังไม่ได้น่ากังวล โดยดูจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่จับตาสถานการณ์โควิดในช่วง 2สัปดาห์ แล้วมามาเปรียบเทียบกัน โดยองค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลสิ้นเดือนส.ค. พบว่า BA.5 แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 84.8 %เป็น 86.8 % สอดคล้องกับประเทศไทย ส่วนBA. 4 ลดลง จาก6.8 %เหลือ 4.2 % หรือเทียบสัดส่วน BA. 4 กับ BA.5 จากเดิมอยู่ที่ประมาณ 1 ต่อ 4 แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือ 1 ต่อ 7 ส่วนBA. 2 .75 ตัวแม่ ไม่ได้เพิ่มหรือลด แต่ภาพรวมทั้งโลกลูกหลานของ BA.2.75 เพิ่มจาก0. 9 % เพิ่มมาเป็น 1.2%

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่พูดกันถึง BJ.1 ซึ่งเป็นข้อมูลรวบของสายพันธุ์ BA.2.10.1 ยืนยันว่าไม่ใช่พันธุ์ใหม่ แต่ยังเป็นสายพันธุ์ BA.2 ซึ่งเป็นเพียงลูกหลาน ที่งอกออกมาเท่านั้น และยังก็มีตัวอื่นๆ อีก การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ต่าง ๆ หากบางอันไม่มีปัญหาก็จบ สายพันธุ์นั้นก็จะสงบหายไป เแต่เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังมีระบบเฝ้าระวังและติดตามดูตลอด

” ขอให้เชื่อมั่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับเครือข่ายการตรวจสายพันธุ์ทั่วโลก ทำการเฝ้าระวังและส่งรายงานในระบบ GISAID อย่างสม่ำเสมอ อาจจะมากสุดในอาเซียน หากตรงไหนมีสัญญาณจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่า ต้องดูตรงไหนเป็นพิเศษ เราก็จับตาดู และศูนย์วิทย์ฯ สามารถตรวจจับได้ ไม่ได้ช้า ไม่ได้มีปัญหา ไม่ต้องกังวลสรุป คือ ณ วันนี้ในประเทศไทยยังเป็น BA.5 ยังเป็นหลักสัดส่วน 85% ส่วน BA.4 ถอยลงไปเหลือ 13% ส่วน BA.2.75 รวมถึงสายพันธุ์ย่อย 9 ราย คิดเป็นเพียง 1% ดังนั้น ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก ที่บางคนมาโพสต์ข้อมูลหวือหวา ขอให้ตั้งสตินิดหนึ่ง เราเฝ้าระวังอยู่แล้ว”นพ.ศุภกิจกลาว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน