สสส.-สธ.-มสช.ดึงพลังชุมชน ป้องกันปัญหาฆ่าตัวตายของคนไทย คาด 10 ปี ความสูญเสียแซงโรคไม่ติดต่อ

8 ก.ย.2565- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมออนไลน์“พลังชุมชนท้องถิ่นร่วมส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตคนไทย”เพื่อกระตุกสังคมไทยให้ความสำคัญและร่วมแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยเริ่มจากตัวเอง เนื่องในวัน “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” (World Suicide Prevention Day) ตรงกับวันที่10 กันยายน ของทุกปี หลังพบอัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์โควิด ด้านแพทย์ระบุอีก 10 ปี ปัญหาสุขภาพจิตแซงหน้าโรคไม่ติดต่อทั้งหมด สร้างความสูญเสียขึ้นเป็นอันดับ 1 พร้อมชู อบต.ผักไหม จ.ศรีสะเกษชุมชน ต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพจิต

นายชาติวุฒิ วังวล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส.กล่าวว่าสสส.ได้เร่งเสริมความพร้อมและขับเคลื่อนการทำงานด้านการพัฒนาสุขภาพจิตในระดับพื้นที่กับหลายหน่วยงาน เช่น กับ มสช.ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนท้องถิ่นในสถานการณ์วิกฤต นำร่องใน 10 พื้นที่ทั่วประเทศ ผ่านนวัตกรรมแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Dmindระบบปัญญาประดิษฐ์คัดกรองภาวะซึมเศร้า ที่คนในชุมชนสามารถคลิกเข้าไปประเมินตัวเองได้ง่าย ๆ ได้ผลแม่นยำ ทดแทนการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยรวมถึงกลุ่มเปราะบาง หรือให้ชุมชนช่วยมอนิเตอร์ผู้ป่วยจิตเวช สนับสนุนจัดการปัญหาด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ของตนเอง

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทยว่า ปัจจุบันว่าการฆ่าตัวตายทั่วโลกมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น และคาดการณ์ว่าอีก 10 ปีข้างหน้า สุขภาพจิตจะกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอันดับ 1 ของโรคไม่ติดต่อทั้งหมด ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 500-1,000 คนต่อปี ในปี 2564มีคนฆ่าตัวตายถึง 5,000 ราย และพบว่าอันดับ 1 หรือร้อยละ 50 ที่ทำให้คนฆ่าตัวตาย คือ ปัญหาด้านความสัมพันธ์ ปัญหาในเรื่องสุขภาพกายมาเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 20-30 อันดับ 3 คือปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันดับ 4คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งอันดับ 3 และ 4 จะสลับกันขึ้นลง ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้คนฆ่าตัวตายไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แต่ร้อยละ 90 มี 2สาเหตุร่วม โดยมีปัญหาด้านความสัมพันธ์เป็นปัจจัยหลักเสมอ

ดร.นพ.วรตม์ กล่าวต่อว่า แม้ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น แต่บุคลากรด้านสุขภาพจิตกลับมีจำนวนจำกัด จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นในประเทศไทยมีไม่ถึง 200 คน จิตแพทย์มี 1,000 กว่าคน นักจิตวิทยาอีก 1,000 กว่าคน ซึ่งการจะเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพจิต ให้เพียงพอต้องใช้เวลาถึง 5-10 ปี นอกจากนี้ การทำงานแบบดั้งเดิมที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล อาจไม่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพจิต จึงเป็นเรื่องของทุกคน กรมสุขภาพจิต สธ.จึงหันมาร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น ทำงานสุขภาพจิตร่วมกับ อสม.ที่มีอยู่ 1ล้านคนทั่วประเทศ ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ การทำงานร่วมกับ สสส. มสช.และภาคีเครือข่าย ในการฝึกให้ทุกคนในชุมชนเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิต และเริ่มทำงาน ตั้งแต่ระดับครอบครัว สามารถสังเกตอาการโรคพื้นฐาน เช่น โรคซึมเศร้าสัญญาณการฆ่าตัวตาย มีทักษะการรับฟัง การให้กำลังเชิงบวก ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโครงการ HOPE Task Force หรือทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตายที่กรมสุขภาพจิตร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้ช่วยชีวิตผู้ที่ต้องการฆ่าตัวตายให้รอดชีวิตได้กว่า 400 คนถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการวัดการช่วยเหลือให้คนไม่ฆ่าตัวตายแต่เมื่อเทียบกับอัตราการฆ่าตัวตายที่ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการส่งเสริมและป้องกันเป็นหน้าที่ทุกคนดังนั้นการสร้างความร่วมมือในระดับชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วน

นางจันทรา หาญสุทธิชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทันจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจิตเวชใน ต.ผักไหม จะมีไม่มากประมาณ 20กว่าคน ต่อประชากร 7,160 คน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่แพทย์วินิจฉัยและญาติเห็นด้วย7-8 คน และที่แพทย์วินิจฉัยแต่ตัวผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยไม่ยอมรับ 10 กว่าคน แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีชาวบ้านฆ่าตัวตายในปี 2562 และ 2564 รวม 2 คน ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคจิตเวชแต่ไม่แสดงอาการ เป็นจุดที่ทางอบต.ผักไหมหันมาให้ความสำคัญและทำงานเชิงรุกมากกว่าเดิมที่ผ่านมา มีการร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนในตำบล

“เราไม่เคยคาดคิดว่าคนปกติธรรมดาอยู่ ๆ จะลุกขึ้นมาฆ่าตัวตายซึ่งเป็นวัยแรงงานในชุมชน และภายนอกดูเป็นคนอัธยาศัยดีมีน้ำใจ แต่พอทราบสาเหตุการฆ่าตัวตายว่า มาจากความน้อยเนื้อต่ำใจในครอบครัวก็ทำให้เราคิดว่าการบวกปัญหาจิตเวช เข้าไปในกลุ่มเปราะบาง ที่ต้องดูแลตั้งแต่ปี 2560นั้นไม่เพียงพอทำให้การทำงานของเราและชุมชนเปลี่ยนเป็นเชิงรุกและอาศัยความร่วมมือสูง โดยดึงเรื่องเข้าเวทีประชาคมตำบลกับคณะกรรมการ สปสช.ระดับตำบลให้เพิ่มเรื่องจิตเวชเข้าไป แม้จะไม่มีค่าตอบแทนให้ และเรียกทีม Long Term Care อสม.สภาผู้นำชุมชน รพ.สต.ในพื้นที่ กระทั่งเจ้าหน้าที่ อบต.ทุกคน ที่ส่วนมากเป็นคนในพื้นที่เข้ามาสแกน เสริมกำลัง ดูแลคนและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงทั้งหมดแบบรายหมู่บ้าน มีการเก็บฐานข้อมูลที่ละเอียดแม่นยำ รวมถึงเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติม ยิ่งได้ มสช.และ สสส. เข้ามาช่วยกระตุ้นเมื่อปี 2564 จนถึงปี 2565ก็ยิ่งทำให้ชุมชนหันมาใส่ใจเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง จากเดิมที่มองเป็นปัญหาธรรมดา ก็กลายเป็นเข้าใจสาเหตุ รู้ปัญหา รู้โทษและใส่ใจปัญหาสุขภาพจิต” นายก อบต.ผักไหมกล่าว

ด้านนางอรพิน วิมลภูษิต เลขาธิการสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่าตัวเลขจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าช่วงวัยที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุดร้อยละ 74 คือ วัยแรงงานอายุ 25-59 ปี ขณะที่สถานการณ์โควิดทำให้แรงงานกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้ปานกลางถูกเลิกจ้างถึง1.4-1.7 ล้านคน หรือร้อยละ 62 ของแรงงานทั้งประเทศกลุ่มวัยแรงงานจึงกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตายขนาดใหญ่ ที่รัฐและสังคมควรจับตามองและให้ความสำคัญและผลักดันเพิ่มองค์ความรู้หรือระบบปฏิบัติการที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพการเงินให้กับกลุ่มแรงงานในประเทศไทย ในรูปแบบนโยบายหรือยุทธศาสตร์ระดับประเทศที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกันโดยอาจผนวกไปกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ทุกวันนี้รักษาแค่เพียงสุขภาพกาย

ด้าน นายพงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการโครงการฯ มสช. ในฐานะผู้จัดการโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนท้องถิ่นในสถานการณ์วิกฤตและตลอดช่วงชีวิต กล่าวว่าทางโครงการฯ เน้นพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อลดและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยแรงงานในชุมชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ รวมถึงผู้สูงวัย ผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ มุ่งเป้าสร้างแกนนำการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนท้องถิ่นเสริมองค์ความรู้ไปปรับประยุกต์เพื่อผลิตเป็นเครื่องมือเสริมการทำงานให้แข็งแกร่งเข้าถึงได้ง่าย เกิดพื้นที่ต้นแบบนำไปสู่การขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินงานแล้วในหลายพื้นที่ ได้แก่ อบต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย อบต.วังกรด อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร รพ.สต.บ้านคลองเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต