5 ก.ย. 2565- ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ แถลงข่าว “ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkeypox)” สายพันธุ์ B.1 และ A.2 จำนวน 30 คน พบว่า ส่วนใหญ่ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้นในระดับป้องกันโรค มีเพียง 2 รายมีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษวานรได้
นพ. ศุภกิจ กล่าวว่า โรคฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร (Monkeypox) พบครั้งแรกในลิง เมื่อปี พ.ศ. 2501 จากนั้นได้เริ่มมีการรายงานพบการระบาดในคน ปี พ.ศ.2513 ซึ่งประมาณร้อยละ 70 เป็นการแพร่กระจายจากสัตว์สู่คน และกลายเป็นโรคประจำถิ่นแถบประเทศแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ต่อมาในปี พ.ศ.2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานว่าพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อฝีดาษวานร จำนวน 4,594 ราย เสียชีวิต 171 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.7 และมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ และข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 2 กันยายน 2565 ผู้ป่วยยืนยัน 50,327 ราย ตาย 15 ราย โดยพบใน 100 ประเทศ
ในขณะที่มีรายงานว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษคน สามารถป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ร้อยละ 85 ดังนั้นจึงมีคำถามว่าคนไทยที่รับวัคซีนฝีดาษเมื่อ 40 ปีก่อน จะมีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษวานรได้หรือไม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้นำซีรั่มจากอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนโรคฝีดาษคนมานานกว่า 40 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 45-54, 55-64 และ 65-74 ปี มาหาระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อฝีดาษวานร สายพันธุ์ B.1 (พบในยุโรป) และ A.2 (พบในแอฟริกา) ที่แยกได้จากผู้ติดเชื้อที่พบในประเทศไทย มาทดสอบโดยวิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน เพื่อหาค่าที่ไวรัสฝีดาษวานรเชื้อเป็นถูกทำลายได้ครึ่งหนึ่ง หรือที่เรียกว่า PRNT Titer 50%, PRNT50 โดยภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนฝีดาษคน ซึ่งระดับแอนติบอดี titer มากกว่าหรือเท่ากับ 32 (PRNT50 ≥ 32) ถือว่าคนนั้นมีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษวานรได้
ผลการทดสอบ ยังพบอีกว่า ในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนฝีดาษมานานกว่า 40 ปี จำนวน 28 ราย ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสฝีดาษวานรทั้ง 2 สายพันธุ์ มีเพียง 2 ราย ที่พบมีระดับภูมิคุ้มกันมากกว่า 32 (PRNT50 titer>32) ที่สามารถลบล้างฤทธิ์ของไวรัสฝีดาษวานรได้ ในจำนวนนี้พบ 1 รายมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ A.2 และอีก 1 รายมีภูมิคุ้มกันต่อทั้ง 2 สายพันธุ์ สรุปได้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษเมื่อ 40 ปีก่อน ไม่มีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษวานรได้
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องของวัคซีนนั้น หากมีวัคซีนเข้ามาจะใช้ 2 กรณี คือ กลุ่มเสี่ยงมาก เช่น เจ้าหน้าที่ห้องแลป, คนสัมผัสใกล้ชิด และกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติไปสัมผัสโรคก็อาจฉีดให้ เพื่อลดความรุนแรงของโรค หากถามว่าจำเป็นต้องนำมาฉีดกับคนทั่วไปไหม ขณะนี้ยังไม่จำเป็น เนื่องจาก ขณะนี้สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดส่วนใหญ่ เป็น BA.2 ซึ่งไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรง ยกเว้นคนที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี ที่กินยากดภูมิคุ้มกัน หรือคนที่เป็นโรคบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มกันน้อย รวมทั้งเด็กเล็ก
อย่างไรก็ตาม ขอเน้นย้ำว่าโรคฝีดาษวานรไม่ได้ติดต่อกันง่าย ส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสผื่นผู้ป่วยทางผิวหนังโดยตรงหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลีกเลี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงหรือคู่นอนที่ไม่รู้จัก ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่รุนแรง หายเองได้ แต่จะมีอาการรุนแรงได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและในเด็กเล็ก ดังนั้นมาตรการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง สามารถนำมาใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ ปัจจุบันประเทศอเมริกาและยุโรป ได้ให้การรับรองวัคซีนจีนนีออส (JYNNEOS) เพื่อนำมาใช้ป้องกันโรคฝีดาษลิงในกรณีฉุกเฉินแล้ว ส่วนประเทศไทยได้มีการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจากประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับป้องกันโรคในกลุ่มที่มีความเสี่ยงแล้วจำนวน 1,000 โดส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "ชุดทดสอบสารพาราควอดตกค้างในผักและผลไม้สด"
วันนี้ (26 สิงหาคม 2567) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชุดทดสอบอิมมูโนโครมาโตกราฟี สำหรับตรวจหาสารพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้สด ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ