TICA เชื่อมความสัมพันธ์ไทย-สปป.ลาวมอบ26ทุนการศึกษาระดับป.โท

ตลอดระยะเวลา 70 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย และ สปป.ลาว สิ่งที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ การดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และเป็นรากฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ล่าสุด ณ สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จัดพิธีมอบทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมของรัฐบาลไทย ประจำปีการศึกษา 2565-2566  โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ(TICA)  ภายใต้ความร่วมเพื่อพัฒนาทวิภาคีไทย-ลาว โดยในปีนี้ผู้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโททั้งสิ้น 26 ทุน และผู้รับทุนฝึกอบรม หลักสูตร Knowledge of Diplomacy for Participants from Lao People’s Democratic Republic จำนวน 5-8 ราย เพื่อสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพบุคลากร ซึ่งจะได้รับการเข้าศึกษาในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนา สปป.ลาว ผ่านการมอบทุนการศึกษาเพื่อศึกษาหลักสูตรต่างๆในประเทศไทย

อุรีรัชต์ เจริญโต

อุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาสปป.ลาว ประมาณปีละ 30 ทุน โดยในปีนี้ได้คัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์ได้รับทุนการศึกษาในระดับการศึกษาปริญญาโทจำนวน 26 ทุน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2565 เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย โดยผู้ที่ได้รับทุนจะเป็นบุคลากรในหน่วยงานราชการประจำสปป.ลาว เพราะเมื่อจบการศึกษาความรู้และประสบการณ์ต่างได้รับจากไทย จะต้องนำกลับมาพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศของผู้รับทุน ซึ่งเป็นบุคคลเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในอนาคตของความสัมพันธ์ไทย-ลาว  

“โดยผู้ที่ได้รับทุนนั้นจะได้เข้าเรียนเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษก่อนเริ่มเรียนมหาวิทยาลัยที่ไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน-กลางเดือนพฤศจิกายน 2565 หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนจะสามารถพัฒนาทักษาทางด้านภาษา เพื่อการสื่อสารและเข้าใจในเชิงวิชาการจนสามารถสำเร็จการศึกษา และนำความรู้ ประสบการณ์ กลับมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา สปป.ลาว ความร่วมมือในครั้งนี้เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ใหญ่ ที่หยั่งรากลึก แผ่กิ่งก้าน และออกดอกออกผลให้ประโยชน์กับทั้งสองประเทศได้อย่างยั่งยืน” อธิบดี TICA กล่าว

ดร.บัววัน วิระวง

ดร.บัววัน วิละวง  อธิบดีกรมอุตสาหกรรมและหัตถกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยได้รับทุนการศึกษาของไทยว่า  ได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.จุฬาฯ ในปี 2538-2541 นับว่าเป็นเกียรติที่ได้รับทุนเข้าศึกษามหาวิทยาลัยอันดับต้นของไทย ซึ่งการปูพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์และการภาษาอังกฤษในการสื่อนับว่าดี พอเรียนจบก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ที่สปป.ลาวได้เลย อาทิ การเจรจาการค้า หรือในระบบการค้าระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงการต่อยอดศึกษาในต่อในระดับปริญญาโทและเอก ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา สปป.ลาว เป็นสิ่งที่สำคัญในสร้างทรัพยากรมนุษย์ และเป็นการต่อยอดในการสร้างอาชีพไม่ว่าจะทำงานกับทางรัฐบาลหรือเอกชน

ลั่งละนา ไซยะวงสา

ด้านผู้ได้รับทุน ลั่งละนา ไซยะวงสา อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาว โดยได้รับทุนเข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยพระจอมเจ้าพระนครเหนือ สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับนวัตกรรม บอกว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคม ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันในการสื่อสาร และการเข้าถึงสื่อมีเดียต่างๆ ซึ่งการเข้าเลือกสาขานี้ในไทย จะสามารถนำมาต่อยอดความรู้ได้ และหลายคนในสปป.ลาว ให้ความสนใจในสาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร เรียกได้ว่าอยู่ในระดับท็อป รวมไปถึงการนำนวัตกรรมมาพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา พัฒนาบุคคล เศรษฐกิจ การค้า การเกษตร เพื่อการประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย และการก้าวทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

สีพม มุนปัน

สีพม มุนปัน อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรป่าไม้ มหาวิยาลัยสุพานุวง โดยได้รับทุนเข้าศึกษาปีนี้ และเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิชาการจัดการและการพัฒนาทรัพยากร กล่าวว่า หลังจากเรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ที่มหาวิทยาลัยสุพานุวง และได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำมหาลัย และตัดสินใจเข้าคัดเลือกรับทุนจากประเทศไทย รู้สึกดีใจมากที่ผ่านการคัดในปีนี้จาก TICA เพราะได้มีการเตรียมตัวและค้นคว้าเกี่ยวกับสาขาที่อยากจะเรียน  เพื่อจะต่อยอดความรู้เพราะมองเห็นว่าที่ประเทศลาว ยังมีการเติบโตเศรษฐกิจไม่มากมากนัก ซึ่งการเรียนรู้ตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะทางการเกษตร ที่อยากจะต่อยอดสิ้นค้าทางด้านเกษตรในการนำเทคโลยีมาประยุกต์ใช่เรื่องการถนอมอาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาเหล่านี้ จะมีส่วนช่วยให้ สปป. ลาว บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs ข้อที่ 4 คือ ความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ซึ่งรัฐบาลไทยมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของ สปป. ลาว ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิสาขบูชา' ไทย-ลาว สืบทอดศรัทธาวิถีพุทธ

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ คือ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยและเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขงอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือ

เซ็นทารา เปิดตัว “โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ” โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง

ประสบการณ์ความสนุกครั้งใหม่ในสปป.ลาว กับโรงแรมไลฟ์สไตล์แห่งแรกในเวียงจันทน์ พร้อมห้องพักทันสมัย ดีไซน์เรียบง่าย และเทคโนโลยีเชื่อมต่อสุดล้ำ