ดุสิตโพล ชี้ปัญหาการศึกษาไทยมาจากความเหลื่อมล้ำ-การบริหารงานของศธ.

21 ส.ค. 2565 -สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน ระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม 2565 พบว่า ประชาชนคิดว่าปัญหาการศึกษาไทย ณ วันนี้ เกิดจาก ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ร้อยละ 61.19รองลงมาคือ การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 59.49 โดยเห็นด้วยว่าในช่วงโควิด-19 “ครูไทย” ปรับตัวได้ดีทันกับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 70.71 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา “ครูไทย” คือ เงินเดือนและค่าตอบแทน ร้อยละ 65.34 รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โควิด-19 ร้อยละ 64.49 ทั้งนี้ครูไทยที่ดีควรรักในอาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ร้อยละ 74.98 รองลงมาคือ กล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการแบบเดิม ๆ ร้อยละ 67.42 และประชาชนมองว่าอาชีพครูยังเป็นอาชีพที่คนอยากเป็น ร้อยละ 57.97 รองลงมาคือ ไม่อยากเป็น ร้อยละ 40.99

จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลเกี่ยวกับ “การศึกษาและครูไทย” หลายปีที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุของปัญหาการศึกษาไทยยังคงมาจากความเหลื่อมล้ำและการบริหารงานที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้ง แม้จะต้องการปฏิรูปการศึกษาไทยให้ดีขึ้นแต่ก็ยังคงมีปัญหาสะสมมาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 กลับพบว่าบุคลากรสำคัญอย่าง “ครูไทย” นั้นปรับตัวได้เป็นอย่างดี สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันอย่างหลากหลาย ทั้งนี้บทบาทของครูไทยที่ประชาชนคาดหวังก็คือการเป็นครูที่รักในอาชีพและกล้าที่จะทำสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่คนไทยอยากเป็น และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการศึกษาไทยต่อไป

ผศ.ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า จากผลการเสวนากลุ่มเรื่อง “VUCA World…ครูไทยไปทางไหนดี” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเข้าร่วมจำนวน 7 ท่าน สะท้อนให้เห็นว่าตราบใดที่ระบบโครงสร้างหลักสูตรยังไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทของสังคมไทย ไม่สามารถผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้ ครูไทยจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่ผันผวน เปิดใจฟังผู้เรียนเพื่อสร้างความเข้าใจมากกว่าการตัดสินว่าถูกหรือผิด รักและศรัทธาในวิชาชีพพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู เพื่อทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าโรงเรียนคือพื้นที่ปลอดภัย และเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยการลงมือทำ และที่สำคัญควรปรับนโยบายด้านการประเมินครูด้วยเทคนิคการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวนดุสิตโพล จัดอันดับ 'หมูเด้ง' เหตุการณ์แห่งปี 'อิ๊งค์' ที่สุดนักการเมืองหญิง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2567” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 14,246

ดุสิตโพลเผยคะแนนนิยมฯ นายกอิ๊งค์ ลดลง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567”

เซียนการศึกษา “วิษณุ เครืองาม” เสนอตั้งกรรมการนวัตกรรมทางการศึกษา Active Learning พร้อมภาครัฐสานต่อเพื่อการศึกษาในอนาคต

ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาล แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในประเทศไทยยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับความต่อเนื่อง หลักสูตร Active Learning จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอย่างจริงจัง

ดุสิตโพลชี้ผลงานรัฐบาลแพฯ 3 เดือนประเมินไม่ได้ แถมต่ำกว่าคาดหวัง 28%

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “3 เดือนรัฐบาลแพทองธาร” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,162 คน