หมอยง ชี้ตำแหน่งเกิดตุ่ม จุดแตกต่างผู้ป่วยฝีดาษวานรในและนอกแอฟริกา

31 ก.ค.2565-นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่อง “ฝีดาษวานร  ลักษณะอาการของโรค ผู้ป่วยนอกแอฟริกา จะแตกต่าง จากผู้ป่วยในแอฟริกา” ระบุว่า จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ จำนวน 197 ราย พบในผู้ชายทั้งหมด ที่เป็นชายรักชาย ลักษณะรอยโรคที่เกิดขึ้น กว่าครึ่งหนึ่งจะเกิดที่อวัยวะเพศ รอบก้น ทวารหนัก เยื่อบุช่องปาก แม้กระทั่งต่อมทอนซิล ซึ่งตรงข้ามกับโรคที่เกิดในแอฟริกา พบที่แขนขา ศีรษะ

ตุ่มที่เกิดขึ้นจะมีหลายระยะ กล่าวคือสุกหรือ แห้งไม่พร้อมกัน ซึ่งตรงข้ามกับในแอฟริกาที่จะพบตามแขนขา ศีรษะ และส่วนใหญ่จะเป็นระยะเดียวกันสุกพร้อมกัน ตามตำรา อาการไข้ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวพบน้อยกว่าในแอฟริกา ที่เกิดนอกแอฟริกาจะมีอาการเจ็บก้นอย่างมากจำนวนหนึ่ง และตุ่มแผลเกิดขึ้นในอวัยวะเพศเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง รายละเอียดอ่านได้จาก https://www.bmj.com/content/bmj/378/bmj-2022-072410.full.pdf

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ากลไกการเกิดโรคน่าจะแตกต่างกัน โดยทั่วไปในแอฟริกา น่าจะเกิดจากการได้รับเชื้อแล้วเชื้อเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง เข้ากระแสโลหิต แล้วจึงมีอาการแสดงขึ้นเป็นตุ่มที่แขนขา ศีรษะ รอยโรคจึงเกิดขึ้นพร้อมกัน ลักษณะตุ่มหนองที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยนอกแอฟริกา จึงมีหลายระยะ เช่นบางตุ่มสุก บางตุ่มพึ่งขึ้นหรือบางตุ่มเริ่มแห้ง ซึ่งไม่เหมือนกับในแอฟริกา

ฝีดาษวานรที่เกิดนอกแอฟริกา โดยเฉพาะที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลกนี้ การรับเชื้อน่าจะสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศ ที่อาจจะมีรอยถลอก abrasion และทำให้เกิด รอยโรค เป็นตุ่มขึ้น พร้อมกันนั้นที่สัมผัสโรคเชื้อก็จะเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองและกระแสโลหิต แล้วจึงไปเกิดตุ่มที่อื่นอีกได้ด้วย การเกิดตุ่มบริเวณสัมผัส ทำให้เกิดรอยโรคขึ้นเช่นเดียวกันกับ การปลูกฝีสมัยก่อน ใช้เชื้อหนองฝีหยอดที่ต้นแขน แล้วสะกิดหรือควร ให้เกิดรอยถลอก ตุ่มแผลจึงเกิดขึ้นบริเวณที่ถลอก

สิ่งที่ช่วยยืนยันว่า โรคนี้เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะผู้ป่วยฝีดาษวานร จะพบโรคทางเพศสัมพันธ์ร่วมด้วยเป็นจำนวนมากเช่น HIV หนองใน ซิฟิลิส chlamydia (หนองในเทียม) และ Herpes กรณีที่มีอาการไข้ ปวดเมื่อยหรืออาการทางระบบน้อย และมีลักษณะเด่นทางแผลที่อวัยวะเพศ ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากไปพบแพทย์ และโรคนี้ก็หายได้เอง จึงทำให้ยากต่อการควบคุม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่าตกใจ! ‘หมอยง’ ชี้พบโรคทางเดินหายใจมาก เป็นโรคประจำฤดูกาล จะเริ่มลดหลังเดือนก.ย.

รคทางเดินหายใจ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน จะพบมากในฤดูฝน ตั้งแต่นักเรียนเปิดเทอม ทั้งโควิด 19 ไข้หวัดใหญ่ และมาเดือนนี้เป็นฤดูกาลของ RSV

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

‘หมอยง’ ชี้ไข้เลือดออกปีนี้ การระบาดจะน้อยกว่าปีที่แล้วมาก

ขณะนี้จะเข้าสู่เดือนกรกฎาคมแล้ว การระบาดของไข้เลือดออกยังน้อยกว่าปีก่อนๆมาก และมีแนวโน้มว่าการระบาดจะน้อยลงกว่าปีที่แล้วมาก

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด

‘หมอยง’ เทียบระบาดโควิดปีนี้น้อยกว่าปีก่อน คาดปี 67 มีผู้เสียชีวิต 300 คน ส่วนใหญ่กลุ่มเปราะบาง

ขณะนี้กำลังเข้าสู่ฤดูกาล การระบาดในปีนี้เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลน้อยกว่าปีที่แล้ว