'สกศ.'แนะใช้หลัก9ข้อของยูเนสโกฟื้นฟูเรียนรู้เด็ก

เป็นกรอบจัดการศึกษาช่วงสถานการณ์โควิดยังแพร่ระบาด “อรรถพล”เผยแม้เปิดเรียนแล้ว แต่สถาบันการศึกษายังทำได้แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการฟื้นฟูการเรียนรู้เด็ก  หลังได้รับผลกระทบจากโควิดนาน  2ปี ทำให้ทุกวันนี้ยังสับสน ไม่มีกรอบชัดดเจน

25ก.ค.2565-นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นสถานการณ์ที่กระทบกับคนทั่วโลก และภาพที่ใหญ่กว่าผลกระทบด้านสุขภาพมาก คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการศึกษาด้วย การที่ต้องปิดโรงเรียนส่งผลกระทบกับนักเรียนกว่า 1,500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ ช่วงการระบาดช่วงแรกที่ต้องปิดเรียน และสับสนกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ยังส่งผลมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ที่แม้จะมีการเปิดเรียนแล้ว แต่สถานการณ์ยังไม่ปกติ และคาดการณ์ได้ว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 การจัดการศึกษาก็จะเปลี่ยนไปไม่เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้น สกศ.จึงเห็นว่าหน่วยงานการศึกษา ทังระดับนโยบายและระดับปฏิบัติควรต้อง เตรียมตัวสำหรับการจัดการศึกษาแบบปกติใหม่ (New Normal) อย่างต่อเนื่อง
“แม้สถานการณ์การระบาดของโควิดตังแต่เริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน จะผ่านมากว่า 2 ปี แต่ก็ยังต้องมีการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จนบางครั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เริ่มไม่มั่นใจว่าควรยึดกรอบใด สกศ. ในฐานะเข็มทิศการศึกษาของประเทศ จึงแนะนำให้ยึดกรอบข้อแนะนำของ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนาคตของการศึกษา (International Commission on the Futures of Education) ที่องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้เผยแพร่ ในการ จัดการหรือแก้ปัญหาด้านการศึกษา”เลขาสกศ.กล่าว

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า สำหรับ ข้อแนะนำของ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนาคตของการศึกษา มี ดังนี้ คือ 1. ยึดมั่นพันธกิจที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการศึกษาโดยค้านึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เพราะ การศึกษาเป็นเกราะป้องกันความไม่เท่าเทียม 2. ขยายคำจำกัดความของสิทธิในการศึกษาเพื่อให้เข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้นในภาวะยากลำบาก โดยเน้นให้ความสำคัญของการเชื่อมต่อเพื่อการเข้าถึงความรู้และข้อมูลได้สะดวกในทุกที่ ทุกเวลา 3. ให้คุณค่ากับวิชาชีพครู และเพิ่มความยืดหยุ่นโดยส่งเสริมเงื่อนไขที่ให้อิสระในการทำงานของครูเพื่อ ส่งเสริมให้ครูสามารถทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การเรียนการสอน ตอบสนองต่อวิกฤตการณ์โควิด-19 4. ส่งเสริมสิทธิและการมีส่วนร่วมของนักเรียนเด็กและเยาวชน ในการสร้างร่วมของการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ 5. ปกป้องและรักษาพื้นที่ทางสังคมที่เกิดจากการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ในขณะที่เรา เปลี่ยนแปลงการศึกษา โรงเรียนเป็นพื้นที่ทางสังคมที่ปลอดภัยส้าหรับเด็ก แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ แต่ห้องเรียนเป็นรูปแบบที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการใช้ชีวิตร่วมกัน แตกต่างจากพื้นที่การเรียนรู้อื่นๆ 6. รัฐพึงส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและนักเรียนเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย และ ไม่ควรพึ่งพาแพลตฟอร์มของเอกชนมากเกินไป เพราะอาจเป็นการขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำให้กว้างขึ้น

7. ใช้สถานการณ์โควิด-19 ให้เป็นประโยชน์ในการให้นักเรียนและครูใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พร้อมๆ กับ สร้างภูมิคุ้มกันและการคิดอย่างมีวิจารณญานในการแยกแยะข้อมูลที่ผิดหรือข้อมูลปลอม 8. ร่วมกันดูแลและใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการศึกษาอย่างคุ้มค่า และเป็นประโยชน์สูงสุด เพราะมีนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้แล้ว ว่า สถานการณ์โควิดในครังนี้ทำลายความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศไปหลาย ทศวรรษ การใช้งบประมาณให้คุ้มค่าจึงเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตไปพร้อมกันด้วย
9. ส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่เพียงแค่ในประเทศแต่รวมไปถึงระดับนานาชาติ ด้วย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เราเห็นภาพชัดเจนว่า หากไม่ร่วมมือกันวงจรการแพร่ระบาดจะไม่อาจหยุดยังได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทย ผลักดันลุ้น 'ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า' ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก

“เกณิกา”เผย ข่าวดีคนไทย "สุดาวรรณ" หนุนสวธ.จัดทำแผน ปีนี้เตรียมลุ้น “ต้มยำกุ้ง - ชุดเคบาย่า”ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโก เดินหน้าผลักดันSoft Power ไทยให้นานาชาติรู้จัก

ครม.เห็นชอบ 'สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา' เข้าบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (9 เมษายน 2567) มีมติเห็นชอบเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม “สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” ภายใต้ชื่อ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements