ม.รามคำแหงแจง 3 เรื่องอื้ออึง แต่งตั้ง 30 รองอธิการฯ ,จัดซื้อ iPad และอธิการบดีไม่ร่วมประชุมสภามหา'ลัย

22ก.ค.2565- ม.รามคำแหง ชี้แจงความจริง “กรณีตั้งรองอธิการบดี”จากการที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวของมหาวิทยาลัยรามคำแหงเกี่ยวกับการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งได้เผยแพร่ออกไปในวงกว้างนั้นเนื้อหาของข่าวประกอบด้วย ประเด็นต่าง ๆ 3 ประเด็น ได้แก่ การแต่งตั้งรองอธิการบดี การจัดซื้อiPad และการไม่เข้าประชุมของอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหงใคร่ขอชี้แจงรายละเอียดในแต่ละประเด็น ดังนี้1.การแต่งตั้งรองอธิการบดี ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ครั้งที่ 7/2565วันที่ 25 เมษายน 2565 อธิการบดีได้ยื่นเอกสารเพื่อเข้าวาระ 5.20 เรื่องขออนุมัติแต่งตั้งรองอธิการบดีโดยเสนอชื่อบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นรองอธิการบดีทั้งสิ้น จำนวน 30 ตำแหน่งซึ่งเป็นกรอบตำแหน่งที่สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติไว้ โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ในครั้งนั้นที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ร่วมกันพิจารณาแล้วมีมติให้ชะลอการแต่งตั้งรองอธิการบดีออกไปก่อน จนกว่าจะมีการอ่านคำพิพากษาจากศาลปกครองสูงสุด ซึ่งในขณะนี้มีคำสั่งศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในการปฏิบัติหน้าที่ของอธิการบดี จำนวนรองอธิการบดีที่เสนอขอแต่งตั้งนั้นเป็นไปตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดจำนวนกรอบตำแหน่งรองอธิการบดีไว้ตามความจำเป็น ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นระยะเวลาหลายปีก่อนหน้านี้เพื่อกระจายอำนาจในการบริหารจัดการสาขาวิทยบริการจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 23จังหวัดทั่วประเทศ การบริหารจัดการในสาขาวิทยบริการฯนั้น มีพันธกิจหลักเช่นเดียวกับส่วนกลาง


ประกอบด้วย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงอุดมศึกษาฯ ที่มอบหมายให้ดูแลโครงการ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” หรือ “U2T”ด้วยการนำองค์ความรู้จากคณาจารย์ไปช่วยเหลือประชาชนในตำบลต่างๆประกอบกับมีนโยบายที่จะจัดการเรียนการสอนในคณะหรือสาขาที่นักศึกษาและประชาชนต้องการศึกษาต่อเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 4 คณะสาขาวิชา


ทั้งนี้ รองอธิการบดีในตำแหน่งที่เสนอแต่งตั้งนั้นไม่มีเงินประจำตำแหน่งตามที่สื่อบางฉบับระบุแต่อย่างใดเนื่องจากปัจจุบันผู้ช่วยอธิการบดีทุกคนมีสถานภาพเป็นข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งได้ รับเงินเดือนประจำตามปกติอยู่แล้วในปัจจุบันนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีทั้ง 30 ตำแหน่งดังกล่าว ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากอธิการบดี หากทว่าเมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานของการประสานกับองค์กรภายนอก จะไม่สามารถปฏิบัติราชการ หรือตัดสินใจดำเนินการบางกรณีได้เทียบเท่ารองอธิการบดี ซึ่งส่งผลให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเสียโอกาสอันเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัย สืบเนื่องจากมติของสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงในครั้งที่ 7/2565 วันที่ 25 เมษายน 2565 นั้น ทำให้อธิการบดีไม่สามารถยื่นเสนอรายชื่อรองอธิการบดีทั้ง 30 ตำแหน่งได้อีกโดยอธิการบดีก็มิได้นิ่งนอนใจแต่ประการใดการเข้าชื่อของผู้ช่วยอธิการบดีกลุ่มนี้จึงเกิดขึ้นด้วยหมายจะให้สภามหาวิทยาลัยได้บรรจุวาระนี้เพื่อเป็นวาระหนึ่งในการประชุม รวมถึงเพื่อทำให้การปฏิบัติราชการสะดวก และบรรลุเป้าหมายอันยึดถือประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้ง

กรณีที่ 2 การจัดซื้อ iPad เพื่อเป็นอุปกรณ์ใช้ในการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยรามคำแหงและคณะกรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งปกติจะมีการประชุมทั้งในห้องประชุมและประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมจะมีเอกสารประกอบวาระการประชุมจำนวนมาก การจัดใช้ iPadในการประชุมจะสามารถจัดทำเอกสารประกอบการประชุมในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษและลดภาระงบประมาณเกี่ยวกับการผลิตเอกสารประกอบการประชุมในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ การจัดซื้อ iPad สำหรับการประชุมดังกล่าวสำนักเทคโนโลยีการศึกษาได้รับอนุมัติงบประมาณโครงการพัฒนาระบบห้องประชุมออนไลน์ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารวิทยบริการและบริหาร จากคณะกรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัย(ก.บ.ม.ร.) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 สำนักเทคโนโลยีการศึกษาได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบต่าง ๆที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้นตอนจนแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของอธิการบดีคนปัจจุบันในการขับเคลื่อนเรื่อง Smart University ส่วนขั้นตอนในกระบวนการให้ผู้บริหารยืม iPad เพื่อใช้สำหรับการประชุมออนไลน์นั้นสำนักเทคโนโลยีการศึกษาได้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัย(ก.บ.ม.ร.) เรื่องแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมทรัพย์สินทางราชการเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565
ซึ่งเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ซึ่งมิใช่เป็นการดำเนินการเองโดยไม่มีระเบียบรองรับ และในการขอยืม iPadเพื่อการประชุมสำหรับผู้บริหารนั้นขึ้นอยู่กับความสมัครใจและความต้องการของผู้บริหารท่านนั้นมิได้มีการบังคับให้ผู้บริหารทุกคนต้องทำเรื่องเพื่อขอยืมใช้เครื่อง หากกรรมการท่านใดสะดวกจะใช้iPad ส่วนตัวก็สามารถนำมาใช้ในการประชุมได้เช่นกัน

กรณีที่ 3 การไม่เข้าประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 12/2565 ของอธิการบดีด้วยอุปนายกสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้อธิการบดีเข้าร่วมอบรมหลักสูตร“กฎหมายมหาชนกับการบริหารงานมหาวิทยาลัย” รุ่นที่ 13 ระหว่างวันที่ 6-8 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร ซึ่งอธิการบดีเห็นว่าการอบรมครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการนำความรู้จากการอบรมดังกล่าวมาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้หาได้หลีกเลี่ยงที่จะเข้าประชุมในครั้งนั้น
มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงใคร่ขอความเป็นธรรมในการนำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เนื่องจากการนำเสนอข่าวสารทั้ง 3 ประเด็นข้างต้นนี้ อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงและความเข้าใจผิดจากสาธารณชนต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหงมหาวิทยาลัยใคร่ขอให้สื่อมวลชนในความรับผิดชอบของท่านพิจารณาและนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องของมหาวิทยาลัยต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จตุพร-วัชระ' จับมือฟาด 'ทักษิณ' สร้างบาดแผลให้ประเทศ

“จตุพร-วัชระ” จับมือฟาด “ทักษิณ”บาดแผลประเทศ “วัชระ” กังวลผู้นำการเมืองไม่มีรากเหง้าเป็นเครื่องมือต่างชาติครอบงำความคิดเด็กเยาวชนเป็นอันตรายต่อประเทศ

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น นำความรู้ปรับใช้พัฒนาสังคม และประเทศ ในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันที่ 17 มกราคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รับรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปี พ.ศ. 2566

ม.รามคำแหง จัดงานวันสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 52 ปี

มหาวิทยาลัยรามคำแหง เตรียมจัดงาน “วันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง ครบรอบ 52 ปี” ชวนลูกพ่อขุนฯ ทั่วไทยน้อมรำลึกวันสำคัญใน “พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช”

จบ! ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยกคำขอของ 'สืบพงษ์' ให้ทุเลาถอดพ้นอธิการบดีม.รามฯ

ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา คำร้องที่ ๒๘๐/๒๕๖๖ คำสั่งที่ ๗๔๔/๒๕๖๖ ในคดีของศาล