คาดพ.ร.บ.การศึกษาชาติผ่านสภาทันสมัยประชุมนี้ ยันกระจายอำนาจสถานศึกษา100%
นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า ตามที่ สกศ.ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณากฎหมายลูก จำนวน 10 ชุด เช่น คณะกรรมการ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการ พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน คณะกรรมการ พ.ร.บ.การศึกษาพิเศษ เป็นต้น เพื่อที่จะให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ พ.ศ… ที่จะมีการประกาศในเร็วๆ นี้นั้น ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าของการยกร่างกฎหมายลูกต่างๆ เดินหน้าไปกว่าร้อยละ 80 เหมือนเพียงแค่ให้ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ผ่านสภาผู้แทนราษฎร และมีการประกาศใช้ จากนั้นเราก็จะปรับกฎหมายลูกที่มีอยู่ในสอดคล้องและสามารถประกาศใช้ได้ในทันที
นายอรรถพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.การบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา พ.ศ…. และร่างพระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา พ.ศ…. (องค์การมหาชน) นั้น สกศ.จะปรับแนวทางการดำเนินการใหม่ โดยจะปรับให้เป็นไปในรูปแบบขององค์การมหาชนและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ส่วนอีก 8 ฉบับก็ดำเนินการตามกระบวนการปกติ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ขณะนี้มีการอภิปรายไปแล้ว 93 มาตรา จาก 119 มาตรา ลงมติไป 13 มาตรา เหลือการลงมติ ซึ่งนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ ก็ยืนยันว่าจะเสร็จทันสมัยการประชุมนี้ ซึ่งสาเหตุที่ต้องเร่งรัด เนื่องจากเป็นข้อกำหนดที่มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งรสชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ว่าจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา
เลขาสกศ.กล่าวอีกว่า สำหรับร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ฉบับนี้ถือเป็นการกระจายอำนาจไปให้สถานศึกษาแบบ 100% ถึงตัวสถานศึกษาโดยตรง ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงการควบคุมมาตรฐานเท่านั้น นอกจากนี้ ในงบประมาณปี 2566 ของ สกศ.เราได้เตรียมงบฯ สำหรับการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องกฎหมายการศึกษาที่จะออกใหม่ทั้งหมดให้แก่หน่วยที่เกี่ยวข้องและประชาชน เพื่อที่จะสร้างการรับรู้ และการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เนื่องจากที่ผ่านมาเราติดกับปัญหาเรื่องการปฏิงาน แม้ว่ากฎหมายจะเปิดให้กระจายอำนาจ แต่ฝ่ายปฏิบัติยังยึดติดกับการทำงานให้แบบเดิมอยู่ เราก็ไม่สามารถที่จะกระจายอำนาจได้อย่างแท้จริ