16 มิ.ย.65- นายรังษี ปัดลี รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า อภ.ได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยมีขอบข่ายการอนุญาตให้ผลิตเครื่องมือแพทย์ในกลุ่ม Respiratory care service สำหรับผลิตภัณฑ์ Nasal spray solution จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว โดยมีผลิตภัณฑ์ชนิดแรกคือ สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19 และยังได้รับการรับรอง ISO-13485 : 2016 มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ จาก บริษัท UIC certification service ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจรับรองประเมินมาตรฐานสากล ทั้งนี้สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19 นี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 5 หน่วยงาน คือ องค์การเภสัชกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ บริษัทไฮไบโอไซ จำกัด โดยทั้ง 5 หน่วยงานได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม “สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อโควิด 19” เพื่อผลักดันงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไทยสู่ระดับโลก ไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา
รองผอ.อภ. กล่าวต่อว่า องค์การฯเป็นองค์กรหลักในการผลิตและจัดหายาและเวชภัณฑ์ในสถานการณ์โควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นนวัตกรรมสามารถผลิตขึ้นใช้ได้เองในประเทศ ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานยอมรับในระดับสากล องค์การฯจึงได้ทำหน้าที่ในการผลิตและควบคุมคุณภาพ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม “สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อโควิด-19” จากความร่วมมือของภาคีทั้ง 5 หน่วยงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งสนับสนุนโดยกรมการแพทย์และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
จากการที่องค์การฯ ได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ และการรับรองมาตรฐาน ISO-13485 : 2016 ในส่วนของสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์สเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการผลิตจากสถานที่แห่งนี้ มีคุณภาพ ความปลอดภัย และองค์การเภสัชกรรมยังสามารถต่อยอดผลิตเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ ในกลุ่มระบบทางเดินหายใจและช่องปากต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย
“สำหรับสเปรย์แอนติบอดีพ่นจมูกที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อโควิด-19 ที่องค์การเภสัชกรรมผลิตนั้น คาดว่าจะสามารถผลิตออกสู่ตลาดเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เข้าถึงนวัตกรรมสุขภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ใน ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในระบบสุขภาพของประเทศต่อไป ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และเป็นนวัตกรรมสุขภาพในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพของคนไทย ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป” รองผอ.อภ.กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
โควิด game over แล้ว! ‘หมอยง’ ชี้จากนี้เหมือนโรคทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศา
'หมอยง' ชี้สายพันธุ์โควิดในไทยตั้งแต่ต้นปีเปลี่ยนแปลงชัดเจน!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก