สพฐ.ค้นพบเด็กหลุดจากระบบการศึกษาอื้อ

เผยช่วงแจกเงินเยียวยา 2พัน มีนักเรียนจำนวนหนึ่งหายไปไม่ติดต่อขอรับเงิน

1พ.ย.2564 -ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนประชุมคณะทำงานด้านการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ที่ต้องการขจัดความลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ดังนั้นจากนโยบายของ รมว.ศธ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงรับมาดำเนินการมาขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ โดยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ตนเป็นประธานคณะทำงานขับเคลื่อนในเรื่องนี้ ซึ่งในที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาว่ามีกี่ประเภท และสาเหตุปัญหาที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษา เพื่อแบ่งรูปแบบการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างตรงจุด

“สพฐ.มุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานี้ให้ได้ ซึ่งจะวางแนวทางมอบหมายหน่วยงานทีเกี่ยวข้องค้นหาเด็กตกหล่นที่หลุดนอกระบบการศึกษาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่าอยู่ตรงไหน เขตไหน อำเภออะไร เพื่อนำเด็กเหล่านี้เข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้ เพราะส่วนหนึ่งเรามีข้อมูลจากการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 2,000 บาทจะต้องระบุตัวตนของนักเรียน แต่เรากลับพบว่า มีเด็กจำนวนหนึ่งยังไม่มีการติดต่อเข้ารับการจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นเราจะค้นหาจากฐานข้อมูลนี้ด้วย"

ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าวอีกว่า สำหรับเด็กที่มีเหตุจำเป็นต้องย้ายตามครอบครัวจนทำให้หลุดระบบการศึกษานั้นเราจะตามไปค้นหาด้วยเช่นกัน เพราะหากเด็กไม่สะดวกจะเรียนในระบบได้จริงๆก็อาจมาเรียนการศึกษานอกระบบแทน หรือการสร้างอาชีพให้เกิดรายได้เลี้ยงครอบครัว เนื่องจากสพฐ.ทำงานร่วมกับกศน. อาชีวศึกษาและภาคเอกชนต่างๆ อยู่แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning

กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม

การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนได้จริงตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ต้นแบบการส่งเสริม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย ดร.ภูมิ พระรักษา