6 มิ.ย.65 -โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าว “ทันเหตุการณ์ฝีดาษวานร Monkeypox Update” เพื่อร่วมเจาะลึกและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคฝีดาษวานร รวมถึงแนวทางการป้องกันดูแลตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกวิธี และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับสถานการณ์โรคฝีดาษวานร
ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลีนิก โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรอัพเดตในวันนี้(6 มิ.ย.65) มีรายงานผู้ป่วยยืนยันประมาณ 1,000 คน กระจายทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศกลุ่มเสี่ยงในแถบยุโรปและอเมริกา โดยเฉพาะในประเทศสเปนและอังกฤษ
ผศ.นพ.โอภาส ให้ข้อมูลอีกว่า โรคฝีดาษวานร เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตระกูล orthopox ค้นพบครั้งแรกว่ามีการติดเชื้อสู่คนจากการ ถูกลิงกัด ในปี ค.ศ. 1970 เป็นที่มาของชื่อโรคฝีดาษวานร อย่างไรก็ตามแท้จริงแล้วการติดเชื้อไวรัสฝีดาษวานรสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือ การรับประทานเนื้อสัตว์ตระกูลสัตว์ฟันแทะอื่นได้ด้วย เช่น กระรอก หนู เป็นต้น หากมีการติดเชื้อในคน ก่อให้เกิดอาการไข้ มีผื่นตุ่มน้ำ ตุ่มหนองตามร่างกาย คล้ายโรคฝีดาษ(smallpox) ซึ่งถูกประกาศว่ากำจัดไปได้แล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1968
ปัจจุบันโรคฝีดาษวานร มีการระบาดประจำถิ่นอยู่ในแถบแอฟริกาตอนกลาง และตะวันตก ซึ่งพบว่ามีการระบาดประปรายเป็นระยะทั้งปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กและในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน มีอัตราผู้ติดเชื้อเสียชีวิตเฉลี่ย 3-6% เมื่อเทียบกับการระบาดฝีดาษในอดีตที่เสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 30% ในไทยกลุ่มคนที่เคยเป็นโรคฝีดาษอายุเกิน 42 ปีขึ้นไป ได้รับการปลูกกฝี สังเกตที่ไหล่จะมีตุ่มก้อนเล็กๆ คือการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งฝีดาษวานรเป็นไวรัสในกลุ่มเดียวกันที่มีความรุนแรงน้อยกว่า แต่อาจจะรุนแรงได้ในคนไข้บางราย
“การระบาดของโรคฝีดาษวานรในขณะนี้เกิดจากหลายปัจจัย อาทิ การระบาดจากสัตว์สู่คนในประเทศแอฟริกา และการแพร่กระจายเชื่อจากคนไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งการระบาดของโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนโรคโควิด19 เพราะส่วนใหญ่จะแพร่เชื้อจากการสัมผัสเป็นหลัก ส่วนการแพร่เชื้อผ่านการหายใจจะมีโอกาสน้อยกว่า สำหรับประเทศไทยยังไม่พบผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษวานร แม้จะพบเคสที่มีอาการสงสัย 6 ราย ได้มีการตรวจแล้วว่าไม่ใช่โรคฝีดาษวานร ซึ่งจากการระบาดในยุโรป พบการยืนยันว่าติดเชื้อจากผู้ที่มีประวัติเดินทางกลับจากไนจีเรีย จากนั้นเชื่อว่ามีการแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากไวรัสมีระยะฟักตัวนานได้ถึง 21 วัน และในบางรายพบว่าอาการผื่นตุ่มน้ำ เกิดขึ้นเพียงเยื่อบุช่องปาก และที่อวัยวะเพศถึง 60% คล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเริม หรืออาจจะเป็นเชื้อรา ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคฝีดาษวานร ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้อื่นได้ แต่ย้ำว่าโรคฝีวานรไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” ผศ.นพ.โอภาส กล่าว
ผศ.นพ.โอภาส อธิบายว่า ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในยุโรปและอเมริกา คือ กลุ่มชายรักชาย ทั้งนี้อยากให้เข้าใจว่าไม่ใช่กลุ่มชายรักชายที่จะเป็นโรคโรคฝีดาษวานรเท่านั้น แต่เพราะเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มพบว่ามีการติดเชื้อ จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการติดเชื้อ โดยสัดส่วนของกลุ่มชายรักหญิงจะน้อยกว่า จากปัจจัยการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน หรือในขณะที่มีเพศสัมพันธ์เพราะเชื้อก็พบอยู่ในเยื้อบุช่องปาก โดยกลุ่มคนจำนวนนี้อาจจะมีการเดินทางจากต่างประเทศมายังประเทศไทยและมีการนำเชื้อเข้ามาได้
“ขณะนี้ในประเทศที่เริ่มมีการระบาดมาก คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา สเปน โปรตุเกส ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเกิน 20 คน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากข้อมูลของประเทศอเมริกา สเปน และโปรตุเกส มีการตรวจสารรหัสพันธุกรรมฝีดาษวานรในปี 2018 เพื่อเทียบกับปี 2022 พบว่าไวรัสมีการกลายพันธุ์กว่า 40 ตำแหน่ง ซึ่งรวดเร็วกว่าอัตราการการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น 2 ตำแหน่งต่อปี อาจจะเป็นไปได้ว่าไวรัสมีการกลายพันธุ์เป็นระยะๆ เพราะไม่ได้มีการเทียบรหัสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังไม่มีการวิเคราะห์แน่ชัดว่าการกลายพันธุ์นี้จะเอื้อให้การติดเชื้อง่ายขึ้นหรือไม่” ผศ.นพ.โอภาส กล่าว
ผศ.นพ.โอภาส ย้ำแนวทางการป้องกันโรคฝีดาษวานรเบื้องต้นว่า การควบคุมตามมาตรการโควิด19 จะช่วยให้ลดการแพร่กระจายของโรค การเฝ้าระวังและควบคุมผู้ที่มีอาการเข้าข่ายและกักตัวประมาณ 21 วัน-1 เดือน เพื่อไม่ให้แพร่กระจาย ส่วนการได้รับวัคซีน ซึ่งยังไม่มีวัคซีนรักษาโดยเฉพาะ แต่สามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีนฝีดาษ ซึ่งสามารถป้องกันได้ 85% แต่ด้วยผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะจึงต้องผ่านการพิจารณาในก่อนได้รับวัคซีน แต่ป้จจุบันมีการพัฒนาวัคซีนฝีดาษรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 ซึ่งจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในอเมริกามีการเตรียมใช้วัคซีนฝีดาษรุ่นที่ 3 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยง
ทั้งนี้ในไทยมีวัคซีนฝีดาษที่เก็บไว้เป็นวัคซีนฝีดาษรุ่นแรก(Dryvax) ที่เป็นเชื้อเป็น สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีที่มีการจัดเตรียมไม่ทัน หากมีการพิจารณาเปลี่ยนก็จะเป็นวัคซีนในรุ่นใหม่ เบื้องต้นจะมีการพิจารณาใช้วัคซีนในกลุ่มเสี่ยงก่อน คือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มบุคลากรในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคฝีดาษลิง ทั้งนี้เนื่องจากมีการหยุดฉีดฝีดาษไประยะหนึ่ง ทำให้ในปัจจุบันสัดส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนลดลง และในผู้ที่เคยได้รับการปลูกฝีไปแล้วอาจจะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลง แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ โดยขณะนี้ อยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาในการฉีดวัคซีน ว่าควรมีการกลับมาฉีดใหม่หรือไม่ หรือในคนที่เคบปลูกฝีปแล้วว่าควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ยังต้องเฝ้าระวังมากยิ่งขึ้นหากมีการระบาดจากคนสู่สัตว์เพราะจะส่งผลต่อการควบคุมการแพร่การจายของโรค
ด้านดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี นักวิจัยประจำศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการว่า เนื่องจากโรคฝีดาษวานรเป็นโรคอุบัติซ้ำ มีข้อมูลและประสบการณ์ในการตรวจหาเชื้อฝีดาษและฝีดาษวานรกว่า 5 ปี จึงสามารถเตรียมการตรวจได้ในทันที ทั้งระบบการคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยเชื้อเพื่อช่วยในการยืนยันผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร ส่วนการตรวจในปัจจุบันสามารถใช้วิธี RT-PCR และการถอดรหัสสารพันธุกรรม โดยใช้ตัวอย่างทั้งการสะกิดแผล เลือด และการสว็อบ ผลตรวจจะออกภายใน 24 ชั่วโมง สำหรับการรักษายังคงเป็นการรักษาตามอาการ โดยโรคสามารถหายเองได้โดยส่วนใหญ่ ทั้งนี้มีการพบน้ำยา RT-PCR ตรวจโรคฝีดาษวานรขายในท้องตลาด ซึ่งเป็นตัวน้ำยาที่มาจากการวิจัยที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง หากผู้ที่ตรวจแล้วพบว่ามีความเสี่ยงก็อย่างจะให้ส่งผลการตรวจมายังโรงพยาบาลเพื่อยืนยัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' มีคำตอบ 'วัคซีนป้องกันฝีดาษวานร' มีหรือไม่
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไขข้อสงสัย ฝีดาษลิง สายพันธุ์ใหม่ ‘Clade 1B’ เหตุใดจึงถูกยกระดับเป็นภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สายพันธุ์ Clade 1B ทั่วโลกรวมถึงไทยที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงสายพันธุ์