ร่างพ.ร.บ.ควบคุมเหตุรำคาญกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง วางโทษฝ่าฝืนจำคุก 3เดือน ปรับไม่เกิน2หมื่นบาท

1มิ.ย.65-นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากการที่กรมอนามัยได้เสนอ ร่างคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางควบคุม เหตุรำคาญ จากการกระทำให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด พ.ศ. …. เพื่อเป็นแนวทาง สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นใช้ควบคุมเหตุรำคาญและเสนอร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำ ให้เกิดกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ. …. ต่อคณะกรรมการสาธารณสุขในการประชุม ครั้งที่ 137-2/2565 วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมการสาธารณสุขมีมติเห็นชอบ ร่างคำแนะนำฯ ดังกล่าว โดยหลังจากนี้ กรมอนามัยจะได้ชี้แจงให้กับท้องถิ่นเพื่อถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ร่างคำแนะนำ ต่อราชการส่วนท้องถิ่น ได้กำหนดให้การควบคุมเหตุรำคาญตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ว่าด้วยการสาธารณสุข มีดังนี้

1) ควบคุมการใช้กัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใดในทำนองเดียวกัน โดยไม่ก่อเหตุรำคาญ จากกลิ่น หรือ ควันรบกวนประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง 2) เมื่อได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญ เรื่อง กลิ่นหรือควันจากการสูบกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด ให้เจ้าพนักงานดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เช่น สถานที่หรือบริเวณที่ถูกร้องเรียน สถานที่ที่ประชาชนร้องเรียน แหล่งกำเนิดกลิ่นหรือควัน ลักษณะกลิ่น ช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น 3) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่าเรื่องร้องเรียนไม่เป็นเหตุรำคาญตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งผู้ร้องเรียนทราบ และยุติเรื่อง


นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า กรณีพบว่าเรื่องร้องเรียนนั้น เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เจ้าพนักงานพิจารณาออกคำแนะนำ เพื่อให้ผู้ก่อเหตุปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ โดยให้ระบุข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ รวมทั้งระบุมาตรการหรือวิธีการที่ใช้ ในการแก้ไข หรือปรับปรุงให้เหตุรำคาญนั้นระงับไปภายในระยะเวลาที่กำหนด 4) ให้เจ้าพนักงานติดตามตรวจสอบ การดำเนินการตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานที่กำหนดให้ผู้ถูกร้องเรียนต้องปฏิบัติ หากผู้ถูกร้องเรียนไม่ดำเนินการ ตามคำแนะนำ ให้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งทางปกครอง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 หรือ มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้ก่อเหตุดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญ


“กรณีผู้ถูกร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง ให้เจ้าพนักงานดำเนินการส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข โดยอัตราโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวข้างต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้ถูกร้องเรียนปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง เรื่องยุติ ให้เจ้าพนักงานแจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' แฉ โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

กรมอนามัย ชวน ชาวเน็ต ‘เล่น’ TikTok ‘เล่า’ ผ่านคลิป ‘ลุ้น’รางวัลรวม กว่า 30,000 บาท

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมการประกวด TikTok Challenge เชิญชวนคนไทยแจกสูตรเด็ดเคล็ดลับ สุขภาพดี ทั้งกินดี นอนดี หรือ

ผงะ! ผลตรวจพบ 8 คนงาน มีสารแคดเมียมสูงเกินมาตรฐาน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยผลการปฏิบัติงานเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพเพิ่มเติม กรณีพบกากแคดเมียมและกากสังกะสีผลการเก็บตัวอย่างแคดเมียมในปัสสาวะของพนักงานโรงงาน

Food Waste ปัญหาใหญ่ที่ซ่อนในศูนย์อาหาร

ศูนย์อาหารถือเป็นสวรรค์ของนักกิน เพราะเป็นแหล่งรวมอาหารนานาประเภท บางแห่งมีร้านดัง สะดวกสบายเพราะจัดพื้นที่ให้นั่งรับประทาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก มีเมนูอร่อย จานด่วน ราคาสบายกระเป๋า ทำให้เป็นแหล่งรวมร้านอาหารและผู้บริโภคจำนวนมาก