บอร์ดปฏิรูปฯ การศึกษา-กสศ. เยี่ยม 'สมุทรสาครโมเดล'ถอดบทเรียนฟื้นฟูการเรียนรู้ ชี้ต้องมีนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

27 พ.ค.65- ที่โรงเรียนบ้านยกกระบัตร จ.สมุทรสาคร – คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเอง ภายใต้วาระ ฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย เด็กไทยรับเปิดเทอมใหม่ ปี 65

โดยนายอาวุธ วิเชียรฉาย ปลัดจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า จังหวัดสมุทรสาครถือว่าเป็นจังหวัดที่พบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ก่อนและระบาดหนักที่สุดจังหวัดหนึ่ง ดังนั้นสมุทรสาครจึงเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลทั้งทางการแพทย์ การแพร่ระบาด การป้องกัน การจัดการโรค โดยสำหรับเรื่องการจัดการศึกษานั้น เราก็พยายามให้ได้รับความสมดุลระหว่างการให้การศึกษาแก่ผู้เรียนและการควบคุมโรค เพราะหากเราควบคุมโรคเกินไปก็กระทบการศึกษา แต่ถ้าปล่อยให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติก็จะกระทบต่อการควบคุมโรค ปัจจุบันเรายอมรับ ว่า การเรียนการสอนต้องจัดในสถานศึกษา และการที่ กสศ.เข้ามาใช้โรงเรียนบ้านยกกระบัตรเป็นฐานงานวิจัย ซึ่งทางจังหวัดก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง

ด้านนายวรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 สองปีที่ผ่านมาได้สะท้อนปัญหาช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยให้ชัดเจนขึ้น อันเป็นภารกิจสำคัญที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้กำหนดกรอบนโยบายแผนปฏิรูปการศึกษา 5 Big Rocks ในการสร้างความเสมอภาคและยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาเพื่อติดตามสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนหลังเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 และติดตามความคืบหน้าโครงการวิจัยนำร่องฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย หรือ “สมุทรสาครโมเดล” พร้อมเยี่ยมชมห้องเรียนต้นแบบ Learning Recovery Labz ที่โรงเรียนบ้านยกกระบัตร จังหวัดสมุทรสาครโมเดล เพื่อเน้นย้ำความร่วมมือและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านนายภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) กล่าวว่า โรงเรียนบ้านยกกระบัตรเป็นหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบฟื้นฟูการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจฟื้นฟูการศึกษาหรือ Learning Recovery ภายใต้ความร่วมมือของจังหวัดสมุทรสาคร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม และสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีเป้าหมายมุ่งช่วยเหลือให้เด็กและเยาวชนทุกคนได้เข้าถึงการศึกษา มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี และได้รับการชดเชยการเรียนรู้ที่สูญเสียไปในช่วงการปิดโรงเรียน รวมถึงครูทุกคนต้องได้รับการอบรมเตรียมความพร้อม สามารถบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ นำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้มาผสมผสานในการจัดการเรียนการสอน เพื่อจัดการเรียนรู้ซ่อมเสริมที่ตรงกับความต้องการของเด็กแต่ละคน และเราจะมีการถอดบทเรียนที่ได้และนำไปต่อยอดและวางแผนฟื้นฟูภาวะถดถอยทางความรู้ในโรงเรียนที่มีบริบทคล้ายกับโรงเรียนนี้ด้วย

“โดยการที่เราเข้าไปนั้น จะเป็นการหามาตรการที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียนและพื้นที่ เพราะโรงเรียนแต่ละแห่งปิดเรียนต่างกัน และมีสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น เด็กที่ผู้ปกครองอยู่บ้านก็จะได้รับการสอนมากกว่าเด็กที่ผู้ปกครองต้องออกไปทำงาน เป็นต้น ทั้งนี้เราพยายามที่จะทำให้การขับเคลื่อนงานในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นไปในรูปแบบวิทยาศาสตร์ให้มากที่สุด โดยจะมีการวัด ประเมินผล ประมวลภาพผลกระทบ ดูว่านวัตกรรมการต่างๆ ที่นำมาใช้ได้ผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด เพื่อถอดบทเรียน ตีความ และหานวัตกรรมที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การขยายผลให้โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป”รักษาการ ผอ.วสศ.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหตุผลค้านดิจิทัลวอลเล็ต หยุดสร้างความเสี่ยงให้ประเทศ

เพราะเป็นนโยบายหลักในการหาเสียงที่ผ่านมาของพรรคเพื่อไทย มันจึงไม่แปลกที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง รวมถึงแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนกรานเสียงแข็ง