'นักไวรัสวิทยา' ชี้ 'ฝีดาษคน' แตกต่างจาก 'ฝีดาษลิง' มาก ยันวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษใช้ได้ผล

'ดร.อนันต์'ชี้ ฝีดาษคน หรือ Variola virus แตกต่างจาก ฝีดาษลิง มาก ทำให้ความกังวลที่ฝีดาษลิงจะกลายพันธุ์ไปเหมือนฝีดาษคนแทบจะเป็นไปไม่ได้ ยันวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษใช้ได้ผล

25 พ.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง ว่า

Phylogenetic tree นี้แสดงข้อมูลความใกล้เคียงกันทางพันธุกรรมของไวรัส orthopoxvirus ซึ่งมีฝีดาษลิง (MPXV) รวมอยู่ด้วย จะเห็นว่า MPXV แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ส่วนที่เป็น WA (West Africa) clade กับ CB (Congo Basin หรือ Central Africa) clade โดยความแตกต่างระหว่างกัน 2 clade นี้มีไม่มาก แต่ความสามารถในการก่อโรคแตกต่างกัน สายพันธุ์ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้คือ WA ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อโรคไม่รุนแรง อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า CB มาก

ในแผนภาพนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ฝีดาษคน หรือ Variola virus แตกต่างจาก ฝีดาษลิง มาก ทำให้ความกังวลที่ฝีดาษลิงจะกลายพันธุ์ไปเหมือนฝีดาษคนแทบจะเป็นไปไม่ได้ตามเส้นทางวิวัฒนาการของไวรัส ที่น่าสนใจในภาพนี้คือ ไวรัสที่เราใช้พัฒนาต่อยอดมาเป็นวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษคน คือ Vaccinia virus ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่าง ฝีดาษลิง และ ฝีดาษคน เมื่อวิเคราะห์แผนภาพนี้ดีๆจะเห็นว่า Vaccinia virus มีความใกล้เคียงทางวิวัฒนาการ หรือ ทางพันธุกรรม กับ ฝีดาษลิงมากกว่าฝีดาษคนซะอีก

ถ้าวัคซีนจาก Vaccinia virus ที่ใช้ปลูกฝีกัน สามารถใช้ป้องกันฝีดาษคนได้ดี จนสามารถทำให้ไวรัสหายไปจากธรรมชาติได้ และ วัคซีนใกล้เคียงกับฝีดาษลิงมากกว่าฝีดาษคน ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ทำให้กังวลว่า ถ้าฝีดาษลิงจะก่อปัญหาระบาดเป็นวงกว้างจริงแล้ววัคซีนตัวนี้จะใช้ไม่ได้ครับ เทคโนโลยีรุ่นเก่าที่ไม่จำเป็นต้อง upgrade อะไรเพิ่มเลยครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ

'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ