2พ.ค.65-นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลงานกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ถึงประเด็นที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ..ได้พิจารณาลงมติเสียงข้างมากเห็นชอบร่างมาตรา 3 ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งมีคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 เรื่อง ปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ. ว่า เรื่องดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร โดยตนได้ชี้แจงว่าการมีคำสั่ง คสช.ฉบับดังกล่าวออกมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว หลักการเพื่อต้องการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยแยกเนื้องานส่วนการบริหารงานบุคคลออกมาจากเขตพื้นที่ที่เดิมอยู่ในรูปแบบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ซึ่งพบว่าในอดีตมีข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใสในการเรียกรับผลประโยชน์จากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการครู ดังนั้นเมื่อการบริหารงานบุคคลมาอยู่ภายใต้กำกับของศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ทำให้เรื่องเหล่านี้สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้ในเชิงโครงสร้าง เนื่องจากการเป็นคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนในพื้นที่ร่วมเป็นกรรมการทำให้เกิดความโปร่งใส
นายสุภัทร กล่าวต่อว่า ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าการมี ศธจ.เป็นการซ้ำซ้อนกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) นั้น ต้องถามว่าซ้ำซ้อนอย่างไร ในเมื่อแยกโครงสร้างการบริหารงานบุคคลออกมาชัดเจนแล้ว อีกทั้งยังได้เพิ่มงานลงไป คือ การขับเคลื่อนแผนการบูรณาการการศึกษาจังหวัด เพื่อให้ประสานแผนบูรณาการร่วมกันกับทบวง กระทรวง กรมอื่นๆ ไม่ใช่แค่บูรณาการกับหน่วยงานสังกัดศธ.เท่านั้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ทั้งนี้เราต้องนำความจริงมาพูดกัน และการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างสามารถแก้ปัญหาเรื่องเรียกรับผลประโยชน์ได้หรือไม่ ซึ่งจากการวิจัยก็พบว่าสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงและไม่มีปัญหาดังกล่าวหลงเหลืออยู่ โดยนายวิษณุก็รับฟังการรายงานข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยดี อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ….จะต้องดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และประเด็นเรื่องโครงสร้าง ศธ.จะต้องถูกเขียนไว้ในกฎหมายลูกตามลำดับ ส่วนจะผลักดันร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ประกาศใช้ในปีนี้หรือไม่นั้นคงต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลดำเนินการต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาฯรับหลักการ ยกเลิกมรดกคสช.ที่ 14
ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ สันติภาดา รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม พิจารณา ร่างพระราช
'อมรัตน์' จี้ยกเลิก มรดกบาป คสช.
นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อีตสส.พรรคก้าวไกล และที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร โพส
'ครูมานิตย์' เผยเพื่อไทยจ่อยื่นร่าง 'ยกเลิกคำสั่ง คสช.' ประกบภูมิใจไทย
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สส.สุรินทร์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ป.ป.ช. เปิดกรุสมบัติ 'อิทธิพล-ตรีนุช' กรณีพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอิทธิพล คุณปลื้ม กรณีพ้นจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม โดยนายอิทธิพล แจ้งว่า มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 81,162,381 บาท มีหนี้สินทั้งหมด 543,016 บาท
'ทนายถุงขนม' อ้างคำวินิจฉัยศาลรธน. เปิดช่องยกเลิกคำสั่ง คสช.
'พิชิต-ที่ปรึกษาของนายกฯ' ชี้ช่อง ยกเลิกคำสั่งคสช. อ้าง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 30/2563 สอดคล้อง รัฐธรรมนูญมาตรา 77 และ มาตรา 279 เปิดช่องยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็น
รัฏฐาธิปัตย์เทวดา! โฆษกรัฐบาลพูดถูกแล้ว ต่อไปใครจะแตะต้องรัฐบาลไม่ได้ เหมือนยุคทรท.เข้มแข็ง
จากกรณีนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม. ว่า ที่ประชุม ครม. นายกฯ ได้สั่งการให้ไปทบทวนว่าคําสั่ง คสช.อันไหนที่ยังมีความจำเป็นต้องคงไว้หรือไม่