แอสตร้าฯจัดเสวนาประสิทธิผลวัคซีน ไวรัลเวคเตอร์กับmRNA มีความเท่ากัน ในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต

บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้จัดเสวนาหัวข้อ เรื่อง “ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน” โดยร่วมกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) เครือข่ายระดับภูมิภาคว่าด้วยเวชศาสตร์เขตร้อนและสาธารณสุข หรือ ซีมีโอทรอปเมด ในประเทศไทย และวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งจะมานำเสนอข้อมูลใหม่ล่าสุด เปรียบเทียบประสิทธิผลการป้องกันโควิด-19 ของวัคซีน ชนิดไวรัส เว็กเตอร์ กับ ชนิด mRNA

ดร. รอนจีน โซลันเต้ วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งฟิลิปปินส์ กล่าวว่าประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ว่ามีข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากทั่วเอเชียนั้นมาจาก VIEW-hub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบอินเตอร์แอคทีฟที่แสดงข้อมูลระดับโลกพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับการใช้วัคซีนและผลกระทบ โดยถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของวิทยาลัยสาธารณสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) และศูนย์การเข้าถึงวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Access Center) ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ได้รับการอัปเดตข้อมูลในทุกสัปดาห์เพื่อเป็นแหล่งรวมกรณีศึกษาจริงจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของวัคซีน โดยกรณีศึกษาจริง 79 เรื่อง ที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลนี้ เป็นงานวิจัยที่รวมเอาข้อมูลด้านประสิทธิผลเชิงเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีน mRNA BNT162b2 และ mRNA-1273 โดยแพลตฟอร์ม VIEW-hub ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบันทึกผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของการศึกษาเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในลักษณะเดียวกันได้

“แต่การศึกษาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อศึกษาถึงการใช้วัคซีนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก แต่เป็นการเน้นดูผลเรื่องการป้องกันการเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต พบว่าการประเมินผลของวัคซีน ไม่ควรดูระยะสั้น ที่ภูมิมักจะพุ่งสูงขึ้นหลังฉีดวัคซีน แต่ต้องดูผลกระทบด้านความรุนแรงของอาการ การเข้าโรงพยาลาล และเสียชีวิตซึ่งเป็นประสิทธิผลระยะยาว และภูมิจะลดลงหลังฉีด 2เข็มไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งควรมีการฉีดเข็มกระตุ้น หลังฉีด2เข็มไปแล้ว “

แพทย์หญิงสุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การฉีดวัคซีนช่วงแรกแอนติบอดิ จะสูงขึ้นในช่วงแรกๆ เดิมทีเราก็ใช้เป็นเกณฑ์วัด แต่ทั้งนี้ ยังต้องดูประสิทธิผลของวัคซีนจากกรณีศึกษาจริง เพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนที่ใช้นั้นได้ผล โดยสามารถการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้อย่างดี เราได้ศึกษางานวิจัยกว่า 79 เรื่อง ที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัคซีนจริง และพบว่าวัคซีนชนิดไวรัลเวคเตอร์ และวัคซีน mRNA ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ล้วนมีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง การเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิต ได้ในระดับสูงไม่แตกต่างกัน โดยมีการศึกษาในจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพ และกาฬสินธ์

“แต่การฉีดเข็ม 3 มีความจำเป็นในการกระตุ้นภูมิ ในประเทศไทยปัจจุบันฉีดเข็ม 2แล้วกว่า 80% แต่เข็ม 3ประมาณ 40% ซึ่งกำลังมีการผลักดัน เพราะเข็ม 3จะช่วยเสริมคุ้มครองการป้องกัน และยังทำให้ลดความเจ็บป่วยรุนแรง เข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตได้มากยิ่งขึ้น”

ทางด้านแอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ ระบุว่า จากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญจากงานวิจัยที่มาจากกรณีศึกษากว่า 79 เรื่อง เผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก1 ต่างให้ประสิทธิผลที่เท่ากันในการการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หลังการให้วัคซีนสองเข็ม

โดยรายงานฉบับดังกล่าวแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัล เวคเตอร์ (Viral Vector) และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (อยู่ที่ระหว่าง 91.3-92.5%) และการเสียชีวิต (อยู่ที่ระหว่าง 91.4 – 93.3%) ในระดับเดียวกัน โดยไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ2 แม้ว่าข้อมูลในขณะที่ทำรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลจากการระบาดระลอกใหม่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน3

ศาสตราจารย์กาย ทเวทส์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในเวียดนาม เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 มีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญของเราแสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ในระดับสูง และเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับภาครัฐและผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคนี้ เพื่อพิจารณานำวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปใช้กับประชาชนอย่างเหมาะสมที่สุดในช่วง 12 เดือนข้างหน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ย้ำเตือน อย่าลืมคนตาย พิการมากมายจากวัคซีนโควิด ลั่นต้องถูกเยียวยา

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

แอสตร้าเซนเนก้า จับมือโรงพยาบาลพุทธชินราช ยกระดับการดูแลรักษาเชิงรุก ส่งมอบนวัตกรรม Asthma Smart Kiosk

กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ทำการติดตั้ง Asthma Smart Kiosk เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ผลักดันจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นเมืองต้นแบบแห่งการดูแลผู้ป่วยโรคปอด