'สพฐ.'จี้โรงเรียนปีการศึกษาหน้าต้องยกระดับคุณภาพ4ด้าน เปรียบเทียบของเก่า-ของใหม่


7เม.ย.65-“อัมพร” แจ้งเขตพื้นที่ฯ ปีการศึกษาหน้า โรงเรียนต้องยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น  โดยกำหนดตัวชี้วัด 4 ข้อ เปรียบเทียบปีก่อน กับเป้าหมายของปีนี้ ทั้งคุณภาพนักเรียน คุณภาพครูและผู้บริหาร หลักสูตร และการมีส่วนร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมสัมมนาผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ตนได้เน้นย้ำให้เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตเตรียมความพร้อมการเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565  ซึ่งยืนยันว่าเราจะไม่มีการเลื่อนเปิดภาคเรียนอีกแล้ว เพราะตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และได้ปรับบ้านเป็นโรงเรียนเปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ช่วยเกื้อหนุนในลักษณะของการเรียนการสอนแบบผสมผสานมาโดยตลอด ดังนั้นการเปิดภาคเรียนใหม่ที่จะถึงนี้ขอให้โรงเรียนเตรียมความพร้อมที่จะเปิดภาคเรียน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เด็กมาเรียนได้อย่างปลอดภัย  เตรียมความพร้อมทั้งด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับการเรียนแบบ On Site และการเรียนแบบทางไกลด้วย

นายอัมพร กล่าวต่อว่า สำหรับการรับนักเรียนชั้นม.1 และ 4 ในปีการศึกษา 2565 ตนขอให้เขตพื้นที่ดูแลนักเรียนที่พลาดโอกาสจากโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง หรือเด็กคนไหนยังไม่มีที่เรียนจะต้องเร่งสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง และจัดหาที่เรียนให้เด็กได้มีที่เรียนทุกคนด้วย ขณะเดียวกันเมื่อเปิดภาคเรียนใหม่แล้วเขตพื้นที่จะต้องป้องกันเด็กหลุดระบบการศึกษา หรือค้นหาเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาในภาคเรียนที่ผ่านมาจากสถานการณ์โควิดให้กลับมาเรียน ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป เพราะเราจะต้องสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันปัญหานักเรียนในทุกมิติ เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับสถานศึกษาปลอดภัยด้วย  

เลขากพฐ. กล่าวอีกว่าที่สำคัญ ในการประชุมครั้งนี้ตนได้กำหนดตัวชี้วัดการขับเคลื่อนโรงเรียนในปีการศึกษาหน้า ซึ่งต้องการให้ทุกโรงเรียนมีตัวชี้วัดเพื่อยกระดับคุณภาพของโรงเรียน ใน 4 ข้อหลัก คือ 1.เรื่องคุณภาพผู้เรียน ทุกโรงเรียนต้องกำหนดให้ได้ว่าในด้านองค์ความรู้ จะมีการยกระดับมากกว่าเดิมอย่างไร 2.คุณภาพครูและผู้บริหาร ทุกโรงเรียนควรจะมีทิศทางในการยกระดับศักยภาพครูของโรงเรียนตัวเองให้ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียน 3.หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน อยากให้ลงรายละเอียดว่าโรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่เป็นหลักสูตรปี พ.ศ. 2551 ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560 ซึ่งมี 5 สมรรถนะแล้วหรือยัง สามารถทำได้หรือไม่ และทำแล้วนำไปสู่การเรียนการสอนได้มากน้อยอย่างไร และ 4.การมีส่วนร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละโรงเรียน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning

กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม

การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนได้จริงตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ต้นแบบการส่งเสริม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย ดร.ภูมิ พระรักษา

16 พ.ค.เปิดเทอมแน่แต่ให้สิทธิ์โรงเรียนเลื่อนหากมี 'โควิด-ฝุ่นพิษ-อากาศร้อน'

รัฐบาลย้ำ สพฐ.พร้อมเปิดเทอม 16 พ.ค. นี้ กำชับผู้บริหารโรงเรียนปรับรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม คำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ

สพฐ.ทำโครงการเงินอุดหนุนรายหัวลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา

โฆษกรัฐบาลเผย สพฐ.ทำโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนรายหัว อนุบาล – ประถม – มัธยม – ปวช. พร้อมเงินสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาระผู้ปกครอง