29 มี.ค.65 ศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯหนึ่งในทีมผู้พัฒนาหน้ากาก CUre Air Sure เปิดเผยว่า หน้ากากดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์แรกของบริษัท CURE Enterprise สตาร์ทอัพจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาบันโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย การผลิตและการจัดการจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) และทาง CU Engineering Enterprise ร่วมลงทุนจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมนี้เกิดจากสภาวะวิกฤติโควิด-19 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งประเทศไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างหนัก และหน้ากากที่มีอยู่ก็มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงต่ออันตรายได้ทีมวิจัยที่ร่วมกันทำงานแก้ปัญหานี้จึงเกิดแนวคิดว่าประเทศไทยควรมีเทคโนโลยีที่รับมือกับเหตุการณ์ขาดแคลนหน้ากากที่มีประสิทธิภาพระดับสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯจึงได้ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นจากกองทุนศตวรรษที่สองของจุฬาฯ โดยประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนได้แก่ SCG Packaging, เครือบริษัท TCP, เครือสหพัฒน์และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ พัฒนาหน้ากาก CUreAir Sure ซึ่งมีลักษณะพิเศษในการกรองอนุภาคและป้องกันฝุ่น PM2.5 เทียบเท่ากับหน้ากาก N95 สามารถกรองอนุภาคที่มีขนาด 0.1 micron สูงถึง 99%
“ตัวหน้ากากทำจากพลาสติกใส ฉีดขึ้นรูป แข็งแรง ป้องกันรอยขีดข่วน และทนต่อสารเคมีขอบซิลิโคนรอบหน้ากากมีความยืดหยุ่นแนบกระชับกับใบหน้าของผู้สวมใส่ช่วยลดการระคายเคืองระหว่างผิวกับหน้ากาก และยังช่วยลดการรั่วไหลของอากาศภายนอกสู่ภายในหน้ากากสายรัดศีรษะปรับความยาวได้ ส่วนแผ่นกรองเป็นแบบเปลี่ยนได้ ซึ่งเป็นขยะชิ้นเล็กกว่าหน้ากาก N95 ช่วยลดปริมาณขยะติดเชื้อที่กำจัดได้ยาก” ศ.ดร.อนงค์นาฏกล่าว
หน้ากาก CUre Air Sure จำนวน 988 ชุด ที่ผลิตเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2564 ได้ส่งมอบโดยหน้ากากให้โรงพยาบาล 18 แห่งทดลองใส่ และยังได้รับความสนใจจากองค์กรและบุคคลที่ติดต่อขอสนับสนุนหน้ากากให้กับโรงพยาบาลที่มีความต้องการมากกว่า 300 โรงพยาบาล มียอดรวมมากกว่า 18,000 ชุด
สำหรับ หน้ากาก CUre AIR SURE ได้รับรางวัลระดับโลกด้านการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น เวที Good Design Award 2021 (G-Mark) เมื่อเร็วๆ นี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของทีมงานนักวิจัยอย่างยิ่ง ซึ่งร่วมมือกับนักออกแบบจาก SCG Packaging และภาคอุตสาหกรรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตชิ้นส่วน และประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดทำในประเทศไทย“ตอนนี้เรากำลังพัฒนาหน้ากากเวอร์ชั่นใหม่ โดยจะนำแผ่นกรองมาไว้ด้านข้าง และทำให้บริเวณด้านหน้าหน้ากากเป็นพลาสติกใส สามารถมองเห็นใบหน้าของผู้ใส่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้
ด้านการจัดจำหน่าย หน้ากาก CUre Air Sure มีวางขายที่โอสถศาลา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ราคาชุดละ 500 บาท (มีแผ่นกรอง 4 แผ่น) แผ่นกรองชุดละ 100 บาท เหมาะกับการใช้งานได้ในทุกพื้นที่ ใช้งานซ้ำได้นานนับปีแผ่นกรองเปลี่ยนเพียงสัปดาห์ละครั้ง โดยมีต้นทุนการใช้งานประมาณวันละ 5 บาท ปัจจุบันมีบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนกว่า 23,000 คนได้ใช้งานแล้ว นอกจากนี้ผลประกอบการที่ได้กว่า60% จะถูกนำกลับสู่จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัยอื่นของทางมหาวิทยาลัยต่อไป ผู้สนใจหน้ากาก CUre Air Sure สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/CureThailand/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
PM2.5 มาแล้ว พบ ‘กทม.’ ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ พบเกินค่ามาตรฐานในกรุงเทพฯ
คุณภาพอากาศทั่วไทยอยู่ระดับปานกลางถึงดีมาก!
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ