8 มี.ค.65 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางออนไลน์ ได้รับความนิยมเพิ่มมากยิ่งอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และการไลฟ์สดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก โดยผู้ขายมักจะแสดงภาพใบรับรองคุณภาพสินค้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับการซื้อขายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
ทั้งนี้ สถาบันฯ ได้ทำการสำรวจสินค้าที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีภาพใบรับรองประกอบ พบว่า มีการปลอมแปลงใบรับรองคุณภาพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพิมพ์เลียนแบบ การทำซ้ำ การแก้ไขข้อความบนใบรับรอง หรือการนำตราสัญลักษณ์ของสถาบันฯ ไปใช้ในการโฆษณาสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และสินค้าไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากสถาบันฯ จริง ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความเสียหายให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพที่ไม่ตรงตามต้องการ หรือไม่ตรงกับข้อความโฆษณาสินค้า
“ขอแนะนำให้ผู้ซื้อ ตรวจสอบความถูกต้องของใบรับรองทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ เช่น ใบรับรองสินค้าหรือ Certificate จะต้องมีเลขที่ หรือ Report No. เฉพาะสินค้าแต่ละชิ้น หากพบใบรับรองที่มี Report No. ซ้ำกันหลายใบ อาจตั้งข้อสันนิษฐานว่าใบรับรองนั้นถูกทำซ้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกหลอกซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่ได้มีคุณภาพตามที่กล่าวอ้าง”นายสุเมธ กล่าว
นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถสังเกตุลักษณะของใบรับรอง ซึ่งหากเป็นใบรับรองจากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน จะมีการป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (Watermark) การใช้กระดาษที่มีเทคนิคการพิมพ์พิเศษ การติดสัญลักษณ์ Hologram เป็นต้น โดยในปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ทำให้การตรวจสอบว่าใบรับรองเป็นของจริงหรือไม่ ทำได้สะดวกมากขึ้น เช่น การแสกน QR Code เพื่อตรวจสอบข้อมูลใบรับรองจากระบบฐานข้อมูลของห้องปฏิบัติการโดยตรงได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GIT จับมือ NGTC สร้างมาตรฐานระดับชาติ พร้อมยกระดับ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบไทยขึ้น ทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT Standard
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดพิธีลงนามความร่วมมือ The National Gems and Jewelry Testing Co. Ltd. (National Gemstone Testing Center) (NGTC),
DITP จับมือ GIT ประกาศจัดงานใหญ่ที่สุดในไทยและเก่าแก่ที่สุดในเอเชีย “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 68 พร้อมเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ครบรอบ 40 ปี
8 สิงหาคม 2566 – นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และ นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT)
GIT เปิดเวทีประกวดออกแบบเครื่องประดับระดับโลก ปีที่ 17 เชิญชวนนักออกแบบส่งผลงานเข้าประกวด GIT’s World Jewelry Design Awards 2023
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเวทีให้นักออกแบบไทย-เทศ ปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลงานออกแบบเครื่องประดับ