7 มี.ค. 2565 หลังจากเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ยูเครน – รัสเซีย ยื้ดเยื้อมาเกือบ 2 สัปดาห์ ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ที่เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต คือ วิกฤตไวรัสโควิด-19 วิกฤติเงินเฟ้อ และวิกฤติสงครามยูเครน-รัสเซีย ได้ส่งผลกระทบราคาพลังงานโลก
คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเห็นตัวเลขราคาน้ำมันโลกที่ 120 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล ปัจจุบันน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 106.58 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล เบรนท์ 118.11 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และเวสต์เท็กซัส 110.07 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล น้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและขนส่ง ก็จะทำให้ราคาสินค้าและค่าขนส่งยิ่งแพงขึ้น กระทบทั้งค่าครองชีพ และภาคการส่งออก รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อที่มาพร้อมกับเงินฝืด จะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัวและมหภาค
ก่อนหน้านี้ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนและหอการค้าไทย ได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินว่า จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร หากเกิดสงคราม คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล หรือจะกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศถึง 6 บาทต่อลิตร
จากตัวเลขคาดการณ์ที่ออกมา ย่อมส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแน่นอน สะท้อนได้จากเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.พ.2565 เท่ากับ 104.10 เทียบกับม.ค.2565 เพิ่มขึ้น 1.06% เทียบกับเดือนก.พ.2564 เพิ่มขึ้น 5.28% สูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551
ส่วนเงินเฟ้อรวม 2 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.25% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 102.20 เพิ่มขึ้น 1.20% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2565 และเพิ่มขึ้น 1.80% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.2564 และรวม 2 เดือนเพิ่มขึ้น 1.16%
เห็นได้ชัดว่า ตัวเลขเงินเฟ้อนั้น เพิ่มสูงถึง 5 % ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ เพราะยิ่งมีเงินเฟ้อมาก หมายความว่า ค่าของเงินจะลดลง หรือ ในอีกทีทางหนึ่ง ก็คือ จะกลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนมากขึ้น โดยเงินเฟ้อจะไปกระทบต่อชีวิตของ คนชั้นกลาง และคนรากหญ้า ที่หาเช้ากินค่ำ
และเงินเฟ้อในครั้งนี้ ไม่สามารถใช้กลไกดอกเบี้ยมาจัดการได้ เพราะไม่ได้เป็นเงินเฟ้อที่มาจากเศรษฐกิจเติบโต ดังนั้น สิ่งที่ตามมาจากการประเมินในครั้ง นี้ พอสินค้าแพง และคนไม่มีกำลังจะซื้อ ก็จะเริ่มวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย และนำไปสู่ ภาวะเงินฝืดตามมา ซึ่งก็จะถือเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจที่รูปแบบหนึ่ง ที่สามารถจะเกิดขึ้นได้
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดภาวะ วิกฤต ซ้ำซ้อน ในเมื่อรัฐไม่สามารถที่จะควบคุม ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ สิ่งที่รัฐบาลพอจะทำได้ คือ การดูแลราคาสินค้า ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคา รวมถึง การจะต้องดำเนินนโยบายเพิ่มกำลังซื้ออีกครั้ง แต่จะต้องโฟกัสให้กลุ่มคนมีเงิน นำเงินออกมาใช้ ลำพัง แค่คนละครึ่งก็จะช่วยได้เฉพาะกลุ่มคนชั้นกลาง และล่างเท่านั้น
ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องพิจารณากู้เงินเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เพื่อมาใช้ประคองธุรกิจ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกแนวทางที่รัฐบาลพอจะดำเนินการได้ แม้จะต้องเจอกับปัญหา หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม
ส่วนราคาน้ำมันที่คาดว่า จะผันผวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะใช้การสนับสนุนที่เฉพาะจุดกับคนที่ทำธุรกิจขนส่งมากขึ้น ไม่ใช่ให้แบบเหมารวม ซึ่งจะช่วยโฟกัส และไม่เป็นภาระงบประมาณมากเกินไป
ทั้งหมด คงจะต้องติดตามการแก้ปัญหาของรัฐบาลอีกครั้งว่าจะจัดการอย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"
รมว.คลังนัดแบงก์ชาติถกกรอบเงินเฟ้อบ่ายนี้
รายงานข่าวระบุว่า ช่วงบ่ายวันนี้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มีนัดหมายกับ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ