6 มี.ค.2565 – นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,105 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 2 – 5 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนยังขาดและต้องการ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ระบุ ที่ดินทำกิน รองลงมาคือ ร้อยละ 43.5 ระบุ รายได้ที่มั่นคง ร้อยละ 28.1 ระบุ ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 15.2 ระบุ อาชีพการงาน และร้อยละ 11.5 ระบุ ความรู้ การศึกษาใช้ประโยชน์ได้จริง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 94.5 รับรู้ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญแก้ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนเป็นรูปธรรมมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 5.5 ระบุ ไม่ทราบ
ที่น่าสนใจ คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.2 พอใจที่มีการช่วยเหลือประชาชนให้มีที่ดินทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบต่างๆ เช่น ในพื้นที่ป่าไม้ ป่าสงวนฯ ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นต้น ร้อยละ 92.7 พอใจที่มีการจัดหาและจัดสรรที่ดินทำกินและแหล่งที่อยู่อาศัยให้ชุมชนและประชาชนอย่างถูกกฎหมาย ร้อยละ 91.8 พอใจที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับคำแนะนำใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจากที่ดินที่ได้รับอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 91.5 พอใจที่มีการส่งเสริมอาชีพและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ร้อยละ 90.9 พอใจที่มีรายได้มั่นคงกว่าแต่ก่อนในอดีตที่อยู่อย่างผิดกฎหมาย และร้อยละ 89.7 พอใจที่มีการจัดตั้งหน่วยงานหลัก รับผิดชอบขับเคลื่อนปัญหาที่ดินทำกิน เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 ยังต้องการทุนเพิ่มจากแหล่งทุน ในการพัฒนาที่ดินและอาชีพ และ ร้อยละ 93.8 ต้องการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ในขณะที่ ร้อยละ 85.7 ต้องการให้เร่งขยายพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จ เพื่อกระจายการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นธรรมให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาที่ดินทำกินและการใช้ประโยชน์มีความสำคัญ โดยพบว่า ประชาชนยังขาดและมีความต้องการที่ดินทำกิน ในขณะที่รัฐต้องการให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินสูงสุดโดยไม่รุกล้ำพื้นที่สงวนตามกฎหมาย โดยส่วนใหญ่รับรู้ว่า รัฐบาลจริงจังและให้ความสำคัญแก้ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนเป็นรูปธรรมมากกว่าอดีตที่ผ่านมา และพอใจต่อการแก้ปัญหาและรูปแบบการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนจากที่ดินของรัฐ โดยทราบถึงการจัดตั้งหน่วยงานหลักขึ้นรับผิดชอบขับเคลื่อน และจัดทำต้นแบบการกระจายใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ได้รับประโยชน์แล้วและที่ยังขาดโอกาส ต้องการให้รัฐบาล เร่งนำรูปแบบและตัวอย่างความสำเร็จ กระจายลงในทุกพื้นที่ในแต่ละภาคที่ยังมีปัญหาโดยเร็ว และที่น่าสนใจ คือ ยังต้องการแหล่งทุนเพิ่มในการพัฒนาพื้นที่ การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด เพื่อให้เข้มแข็ง สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองในลักษณะวิสาหกิจชุมชน บนหลักพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'คนอยู่กับป่า' นัดรวมตัวใหญ่ รับครม.สัญจร ยื่นนายกฯ ค้าน พ.ร.ฎ.ของกรมอุทยานฯ
เครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า(สชป.) ได้นัดรวมตัวกันประมาณ 3,000- 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ เช่น ม้ง กะเหรี่ยง
ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ยันไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกา โครงการอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 64
ตร.84%ภูมิใจ ใส่เครื่องแบบ ปูน‘บำเหน็จ’ รองหรั่ง6ขั้น
ตำรวจ 84% ภูมิใจในเครื่องแบบ สายงานสืบสวนพอใจน้อยที่สุด
กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
โพลชี้ชัดเจน ประชาชน อยากเห็นนายกฯ ปฏิรูปตำรวจ
นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ปรึกษามูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ และผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง ปฏิรูปตำรวจ กับ ศรัทธาจากประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,597 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็น 'เงินถูกโจรกรรม ใครต้องรับผิด'
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง