นายกฯสั่งบูรณาการการทำงานแก้ไขภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน

นายกฯ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ไฟป่า หมอกควัน กำชับทุกหน่วยงานร่วมบูรณาการการทำงาน ป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่

6 มี.ค. 2565 – นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ และได้สั่งการ ติดตามการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกภูมิภาค ซึ่งขณะนี้หลายพื้นที่เริ่มมีสถานการณ์ภัยแล้ง น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่าง ๆ มีปริมาณน้ำเก็บกักลดลง และมีแนวโน้มของสถานการณ์ไฟป่า ปัญหาหมอกควัน และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินเกณฑ์มาตรฐาน

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีห่วงกังวลผลกระทบที่อาจส่งผลถึงชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพของประชาชน ซึ่งเกิดจากปัญหาภัยแล้ง ปัญหาหมอกควัน และปัญหาไฟป่า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิต โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน และให้น้อมนำศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหา

ในโอกาสนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำแผนปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2565 จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 10 หน่วยปฏิบัติการทั่วประเทศเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้งและสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ เติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่าง ๆ ของประเทศ ป้องกันการเกิดไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน รวมทั้งสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยประจำอยู่ 5 ภูมิภาค จำนวน 10 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ ภาคเหนือตอนบนตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ตาก ภาคเหนือตอนล่างตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.แพร่ และ จ.พิษณุโลก ภาคกลางตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.นครสวรรค์ และ จ.กาญจนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.อุดรธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.บุรีรัมย์ ภาคตะวันออกตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.จันทบุรี และภาคใต้ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 4 หน่วยปฏิบัติการ เพื่อติดตามสถานการณ์และช่วงชิงสภาพอากาศในการปฏิบัติการฝนหลวงช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและความต้องการน้ำในบางพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย

“นายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบถึงสุขภาพ และการดำรงชีวิตพื้นฐานของประชาชนอย่างเร่งด่วน ภัยแล้ง ไฟป่า และหมอกควัน โดยกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ผสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นบูรณาการการทำงานร่วมกัน วางแผนให้การปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งใกล้ชิดพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพี่น้องประชาชนในการสังเกต เฝ้าระวัง และแจ้งปัญหาภัยธรรมชาติต่าง ๆ ผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง และจักได้แก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วนอย่างทันท่วงที” นายธนกร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวนาบุรีรัมย์ เร่งสูบน้ำเข้านาข้าว ทยอยยืนต้นตาย เหตุฝนทิ้งช่วง

ชาวนาในเขต อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ ที่มีนาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ต่างเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ระดมสูบน้ำเข้านาข้าวของตนเอง เพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังเหี่ยวเฉา และเริ่มยืนต้นตายเป็นหย่อมๆ เพราะประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงนาข้าว อี

อากาศร้อน ภัยแล้ง พริกขี้หนูสวนออกผลผลิตน้อย ราคาพุ่งกก.ละ 400-500 บาท

ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ผลพวงจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน มีราคาปรับตัวสูงขึ้น

หนุ่มวัย 45 เปิดสวนทุเรียนอินทรีย์ 150 ต้น ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง ได้ผลผลิต 7-8 ตัน

หนุ่มวัย 45 ปีชาวตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พาสวนทุเรียนอินทรีย์จำนวน 150 ต้นฝ่าวิกฤติภัยแล้งมาได้ จนได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน ขณะที่สวนทุเรียนรายอื่นพากันยืนต้นตาย เผยเคล็ดลับน้ำต้องไม่ขาด

ระดมกำลังคุมสถานการณ์ 'ไฟป่าพรุโต๊ะแดง'

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยสิรินธรระดมกำลังหน่วยงานพร้อมชาวบ้านอาสาสมัครในพื้นที่ คุมสถานการณ์ไฟป่าพรุโต๊ะแดงได้แล้ว โดยเข้าควบคุมบริเวณหัวไฟได้สำเร็จ

น้ำลด สันดอนผุด ชาวบ้านหวั่นทุจริตขุดลอกคลองพระอาทิตย์ จ.สงขลา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในจังหวัดสงขลา ทำให้น้ำใน แม่น้ำลำคลอง แห้งขอด เป็นจำนวนมากในหลายท้องที่ โดยเฉพาะใน 4 อำเภอของคาบสมุทร สทิงพระ คือ อ.สิงหนคร .สทิงพระ กระแสสินธุ์ และ ระโนด