'คมนาคม' ปิ้งไอเดียลดอุบัติเหตุเล็งกำหนดรถผลิตปี 67 ต้องมีระบบป้องกันล้อล็อก

“คมนาคม” เดินหน้ากำหนดมาตรฐานรถจดทะเบียนใหม่ทุกขนาด ต้องติดตั้งระบบป้องกันล้อล้อก–ระบบควบคุมเสถียรภาพ รถยนต์ – มอเตอรไซค์ตั้งแต่ปี 67 หวังยกมาตรฐานความปลอดภัย สอดคล้องมาตรฐานสากลภายในปี 73

2 มี.ค.2565 – นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านยานพาหนะปลอดภัย ภายใต้คณะกรรมการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีนโยบายในการในการลดลดอัตราการเสียชีวิต และลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อให้ประชาชนเกิดความปลอดภัยในการเดินทางในโครงข่ายคมนาคมขนส่ง โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของตัวรถ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยมาใช้งาน รวมทั้งจัดทำแผนบังคับใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น

ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2565 ที่ประชุมได้ตระหนักถึงการกำหนดมาตรฐานของยานพาหนะในการยกระดับนำไปสู่การปฏิบัติและจัดทำแผนออกประกาศข้อกำหนดทางเทคนิคด้านความปลอดภัยของยานยนต์ อ้างอิงตาม UN Regulation ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในสากลโลก โดยที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้ 1.ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการติดตั้งระบบเบรคที่มีประสิทธิภาพไว้เป็น Roadmap เช่น การติดตั้งเบรกในรถยนต์ กำหนดให้รถยนต์และรถกระบะแบบใหม่ ที่ดำเนินการผลิตตั้งแต่ปี 2567 ต้องติดตั้งระบบป้องกันล้อล้อก และระบบควบคุมเสถียรภาพ มีระบบเสริมแรงเบรก ตั้งแต่ปี 2569 และพัฒนาไปสู่ระบบเสริมแรงเบรก เพื่อนำไปสู่ระบบเบรกอัติโนมัติในปี 2571 เพื่อให้รถยนต์และรถกระบะมีสมรรถนะด้านการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด

2.สำหรับการกำหนดมาตรฐานตัวรถกำหนดให้ภายในปี 2568 จะต้องมีความปลอดภัยของรถเป็นไปตามมาตรฐานการชนด้านหน้า และด้านข้าง ตามมาตรฐานสากล และนำมาตรฐานความปลอดภัยกรณีชนคนเดินเท้า ที่จะต้องมีตัวถังที่ออกแบบซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงจากการชน เป็นต้น

3.สำหรับกรณีของรถจักรยานยนต์ ที่ประชุมก็ได้มอบนโยบายให้เร่งยกระดับมาตรฐความปลอดภัย เช่น กำหนดให้ระบบห้ามล้อของรถจักรยานยนต์ใหม่ทุกขนาด จะต้องติดตั้งระบบป้องกันล้อล้อก เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน พร้อมกำหนดมาตรฐานการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างและแสงสัญญาณ ตั้งแต่ปี 2567

4.สำหรับการพัฒนาความปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุกับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่ประชุมได้พิจารณากำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการออกมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างและด้านท้าย เพื่อลดความรุนแรงจากการชนด้านข้างหรือด้านท้ายของรถบรรทุก ออกมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์มองภาพ ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงจากการไม่เห็น เป็นต้น

5.เพื่อเป็นการศึกษากำหนดมาตรการในการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ ที่จำเป็น ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกทำการศึกษาเทคโนโลยีความปลอดภัยอื่น ๆ ที่กำลังพัฒนา เช่น Intelligent Speed Assistance ซึ่งจะช่วยเตือนเวลารถขับเกินความเร็วที่กฎหมายกำหนด หรือ ระบบ Forward Collision Warning System ที่จะช่วยเตือนการชนในกรณีที่รถมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า เป็นต้น

ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้ ขบ.เปิดการรับฟังความเห็นเห็นจากภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาอุปสรรคหรือแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์ให้เทียบเท่ากับสากลโดยเร็ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในภาพรวมอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ก่อนการออกประกาศกำหนดมาตรฐานรถที่จดทะเบียนในประเทศไทยตามมาตรฐานที่กำหนดการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยดังกล่าวข้างต้น ทางกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ ขบ.เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ Public Hearing เพื่อให้ประชาชน นักวิชาการ องค์กรภาคราชการ เอกชน และผู้ผลิตรถหรือยานพาหนะต่างๆ ได้แสดงความคิดเห็นก่อนดำเนินการสรุปแนวทางการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บขส.ตื่นคุมเข้มรถโดยสารทุกคันต้องตรวจสภาพก่อนให้บริการ

‘สุรพงษ์’ เน้นย้ำ!! รถโดยสาร บขส. ทุกคันต้องตรวจสภาพความพร้อมก่อนให้บริการ – พนักงานแนะนำอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยบนรถ สร้างความมั่นใจผู้โดยสาร

นายกฯลงพื้นที่ตรวจความพร้อมคมนาคมทุกช่องทาง ขอทุกฝ่ายร่วมกันลดอุบัติเหตุ

'เกณิกา' เผย นายกฯห่วงใยประชาชน ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมคมนาคมทุกช่องทาง ให้บริการประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขอทุกฝ่ายร่วมกันลดอุบัติเหตุพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน วันหยุดที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชน

บขส.ย้ำอย่าหลงเชื่อแท็กซี่เรียกเก็บค่าบริการ 50 บาท

บขส. เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าว ‘ให้แท็กซี่เรียกเก็บค่าบริการ 50 บาท’ในสถานีขนส่ง หมอชิต 2 ย้ำหากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวจะลงโทษตามกฎหมายทันที

อบรมนักเรียนประถม ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทย

ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ประธานเครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม กล่าวว่าเด็กและเยาวชนมีบทบาทสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก จากการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชน ซึ่งเป็นคนที่ผู้ใหญ่รักมากที่สุด