สมาคมผู้ค้าปลีกชง 3 มาตรการแก้ปัญหาปากท้องช่วงราคาสินค้าแพง

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ชง 3 มาตรการ รัฐแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชนทั้งตรึงราคาสินค้า-สต็อกสินค้าอุปโภค บริโภค-แก้ไขกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและออกมาตรการควบคุมราคา

1 มี.ค. 2565 – นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกคน และทุกระดับ โดยเฉพาะ ผู้ที่มีรายได้น้อยที่เจอผลกระทบ 2 เด้ง ทั้งในเรื่องของค่าครองชีพสูงขึ้น และรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 การตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุด

โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาสมาคมฯ มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์รายใหญ่กว่า 30 ราย เพื่อตรึงราคาให้ครอบคลุมสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันกว่า 500 รายการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 จนถึงจบไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยได้ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิดในการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมถึงสมาชิกและภาคีเครือข่ายของสมาคมฯ ยังคงรักษาอัตราการจ้างงานที่มีจำนวนกว่า 1.1 ล้านอัตราให้คงเดิมซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังคงยืนยันที่จะพยายามตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มากต้องประเมินเป็นรายไตรมาส โดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารสดซึ่งเป็นปัจจัยหลักของปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในขณะนี้

ทั้งนี้ขอนำเสนอมาตรการเพื่อที่จะให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในภาวะที่ค่าครองชีพสูงและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

1.ตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น ซึ่งสมาคมฯ และซัพพลายเออร์ในภาคีเครือข่ายยืนยันที่จะตรึงราคาสินค้าฯ จนถึงจบไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 ทั้งนี้ นโยบายการตรึงราคาจะมีการประเมินเป็นรายไตรมาส

2.เตรียมสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นให้กับประชาชน เพื่อเตรียมสต๊อกสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

3.ช่วยฟื้นฟู SMEs ไทย สมาคมฯ และภาคีเครือข่ายจะเร่งขยายในเรื่องการจัดหาแหล่งเงินทุนให้ SMEs ไทยนอกจากนี้ สมาคมฯ ยังคงยืนยันที่จะพยุงการจ้างงานในระบบค้าปลีกให้อยู่ที่ 1.1 ล้านอัตรา

โดยขอให้ภาครัฐเร่งผลักดันมาตรการมาตรการเพื่อฟื้นเศรษฐกิจในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการ

1.เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่มีวงเงินงบประมาณถึง 3.1 ล้านล้านบาท ให้มีการอนุมัติและดำเนินการเพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว

2.การพยุงราคาพลังงานให้คงที่ โดยการใช้ทุกมาตรการเพื่อพยุงราคาพลังงานให้นานที่สุด ถึงแม้รัฐบาลได้มีมาตรการพยุงราคาน้ำมันปรับลดภาษีอัตราน้ำมันดีเซลสรรพสามิตและน้ำมันอื่นๆ 3 บาท ต่อลิตรเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงควรพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการออกมาตรการควบคุมราคาค่าขนส่งซึ่งค่าขนส่งถือว่ามีสัดส่วนถึง 8-10% ของต้นทุนสินค้า และ

3.กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน โดยคงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ“คนละครึ่ง” และ โครงการ “ช้อปดีมีคืน” ที่ภาครัฐดำเนินการได้ดีอยู่แล้วในการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน และเพื่อเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบจากผู้ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ ขอให้ภาครัฐพิจารณาโครงการ “ช้อปดีมีคืน” เฟสสองเพิ่มเติม และให้ยืดทั้งระยะเวลาโครงการ รวมถึงวงเงิน ที่สามารถใช้จ่าย โดยเพิ่มจาก 30,000 บาท เป็น 100,000 บาท ทั้ง 2 โครงการจะเป็นการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน

เทพไท ถาม 'เศรษฐา' เพิ่งรู้หรือ ‘ของแพงทั้งแผ่นดิน’ จี้แก้ปัญหาปากท้องให้สมราคาคุย

อยากเรียกร้องให้รัฐบาลชุดนี้ ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนอย่างเป็นระบบ  ให้สมกับราคาที่คุยว่า พรรคเพื่อไทยมีความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ 

นิด้าโพลเผยประชาชนมอง ขึ้นค่าแรง 400 บาท ไม่คุ้มค่าแกง - ค่าครองชีพที่ปรับตาม

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ค่าแรงขึ้น… คุ้มมั๊ย กับ ค่าแกง?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'ดุสิตโพล' ชี้ประชาชนยังหวังพึ่งรัฐ ดูแล ของแพง ค่าครองชีพ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“ที่พึ่งของคนไทย ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) สำรวจระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2566 พบว่า จากการที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ

เผยเสียงสะท้อนปชช. หลังลดราคาน้ำมัน ฝาก 'รมว.พลังงาน' รื้อกม.ปรับโครงสร้างให้เป็นธรรม

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นวันแรกที่ราคาน้ำมันลดลง 2.50 บาท จากการลงไปสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มาเติมน้ำมันพบว่า ประชาชนดีใจที่ราคาน้ำมันลดลงช่วยเหลือค่าครองชีพได้ระดับหนึ่ง