‘ดอนเมืองโทลล์เวย์’ เตรียมทดสอบ M-Flow ด่านดินแดง

“ทางยกระดับดอนเมือง” เตรียมทดสอบใช้ M-Flow “ด่านดินแดง” ภายในต้นปีนี้ ชี้พร้อมลงทุนเมกะโปรเจกต์คมนาคม มอเตอร์เวย์-ทางด่วน-จุดพักรถ-ฟีดเดอร์” เผย Q4/64 โชว์รายได้พุ่ง 110%มั่นใจปี 65 รายได้-ปริมาณการจราจรโต หลังทิศทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว

24 ก.พ. 2565 – นายธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เปิดเผย ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการให้บริการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบการจัดเก็บค่าผ่านทาง, ระบบการจัดการจราจรและกู้ภัย เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในไตรมาส 1/2565 บริษัทฯ เตรียมเปิดใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางแบบอิเล็กทรอนิคส์ที่ชำระค่าผ่านทางด้วยบัตร M-Pass และ Easy Pass รวมถึงการชำระค่าผ่านทางด้วยบัตร EMV และ QR Payment

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ศึกษาและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งช่อง M-Flow Demo Lane Test ที่บริเวณด่านดินแดง จำนวน 2 ช่อง เพื่อทดสอบระบบการตรวจจับยานพาหนะแบบอัตโนมัติ โดยจะมีการทดสอบการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบ Single Platform ของกรมทางหลวง (ทล.) ในช่วงต้นปี 2565

นายธานินทร์ กล่าวอีกว่า ด้วยความแข็งแกร่งทางด้านเงินทุน บริษัทฯ พร้อมขยายกิจการและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยจะนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่มีมานานกว่า 30 ปี เข้าไปร่วมพัฒนาโครงการที่ภาครัฐเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ทั้งในธุรกิจทางด่วนและทางพิเศษ  (Toll Road Business)

นอกจากนี้ ยังรวมถึงโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน (M5), โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82), โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายกะทู้-ป่าตอง และธุรกิจอื่นนอกเหนือจากธุรกิจทางด่วนและทางพิเศษ (Non-Toll Road Business) อาทิ โครงการพัฒนาจุดพักรถริมทางหลวง (Rest Area) และโครงข่ายระบบขนส่งรอง (Feeder) โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

จากความสำเร็จในการนำหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 140 ล้านหุ้นเข้าจดทะเบียนฯ และมีการซื้อ-ขายเมื่อวันที่ 7 พ.ค.64 ส่งผลให้ ณ 31 ธ.ค. 64 ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่ง อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) อยู่ที่ 0.07 เท่าซึ่งทำให้บริษัทฯ มีสภาพคล่องเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การต่าง ๆ ได้

นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในการขยายกิจการในการเข้าร่วมประมูลโครงการที่ภาครัฐเปิดประมูลเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุน (Public Private Partnership) ในระหว่างปี 2565- 2566 หลายโครงการ รวมทั้งได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการให้บริการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบการจัดการจราจรและกู้ภัย เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ทางเกิดความมั่นใจและประทับใจในการบริการ

ด้านนายศักดิ์ดา พรรณไวย รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจและการเงิน DMT กล่าวว่า ในไตรมาส 4/2564 บริษัทฯ มีรายได้ค่าผ่านทาง 384.79 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นจาก 34,870 คันต่อวัน ในไตรมาส 3/2564 เป็น 72,396 คันต่อวัน ในไตรมาส 4/2564

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ภาครัฐได้ผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว การเปิดประเทศ และการเปิดภาคเรียนบางส่วนที่มีความพร้อมเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผลประกอบการไตรมาส 4/2564 สูงขึ้นกว่าไตรมาส 3/2564 แต่ก็ยังคงต่ำกว่าไตรมาส 4/2563

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2564 บริษัทฯ ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณจราจรและรายได้ จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีการล็อคดาวน์ 2 ครั้ง คือ พ.ค. 2564 และ ก.ค.-ส.ค. 2564 โดยรายได้ค่าผ่านทางลดลง 41% เมื่อเทียบกับปี 2563 แม้ว่ารายได้ค่าผ่านทางจะลดลง แต่บริษัทฯ ก็ยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ และดำเนินการบริหารการจัดการในการลดและควบคุมค่าใช้จ่าย การปรับเลื่อนแผนงานโครงการ ซึ่งไม่กระทบต่อการให้บริการบนทางยกระดับ  

สำหรับแนวโน้มรายได้และปริมาณจราจรในปี 2565 มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ปริมาณจราจรฟื้นกลับอย่างรวดเร็วตามระดับของมาตรการผ่อนคลายกิจกรรมของภาครัฐต่อเนื่อง การเร่งกระจายการฉีดวัคซีน การเปิดภาคเรียน และแผนการเปิดประเทศที่ภาครัฐเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ โดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งจะสนับสนุนการเดินทางและปริมาณจราจรบนทางยกระดับให้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากลักษณะธุรกิจของบริษัทฯ เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานประเภททางด่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

ดังนั้น จึงคาดว่าธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ จะฟื้นตัวเร็วกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะทุกภาคส่วนยังจำเป็นต้องมีกิจกรรมการเดินทาง หรือการคมนาคมยังมีความจำเป็นต่อเนื่องตลอดเวลา และเมื่อพิจารณารูปแบบการการเดินทาง เปรียบเทียบ รถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารสาธารณะ และรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ จะเห็นว่าโดยรถยนต์ส่วนบุคคลสามารถบริหารจัดการเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมได้ดีกว่าการเดินทางโดยรถยนต์สาธารณะและรถไฟฟ้า และลักษณะการเดินทางที่เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยบวก รวมถึงโครงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งโดยรอบทางยกระดับดอนเมืองและการขยายตัวของชุมชน ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

“ตลอดปี 2564 DMT ยังคงดำเนินมาตรการป้องกันและการบริหารจัดการได้อย่างเข้มข้นผ่านทางคณะจัดการเหตุฉุกเฉินโรคระบาด ทำให้บริษัทฯให้บริการกับผู้ใช้ทางยกระดับอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก มีเสถียรภาพ และมีความมั่นคง ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้และยังคงดำเนินมาตรการดังกล่าวในปี 2565” นายศักดิ์ดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DMT พร้อมสนับสนุนนโยบายกระทรวงคมนาคม ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยการจำหน่ายคูปองผ่านทางในราคาพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. ถึง 21 ธ.ค.67

DMT พร้อมสนับสนุนนโยบายกระทรวงคมนาคม ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยการจำหน่ายคูปองผ่านทางในราคาพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. ถึง 21 ธ.ค. 67

ครม.อนุมัติเพิ่มความเร็วรถบนดอนเมืองโทลล์เวย์ รถเก๋งไม่เกิน 100 กม./ชม.

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงการคมนาคม (คค.) เสนอ

‘สามารถ’ ชำแหละ ‘ลดค่าผ่านทาง’ แลก ‘ขยายสัมปทาน’ ใครได้ประโยชน์ ?

ใกล้ถึงเวลาจะขึ้นค่าผ่านทางไม่ว่าจะเป็นทางด่วนหรือดอนเมืองโทลล์เวย์คราใด ภาครัฐมักจะเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานให้ชะลอการขึ้นค่าผ่านทาง เพื่อลดภาระค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ