'ประกันรายได้' กับ 'การพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย' ในภารกิจ 'จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์'

สัมภาษณ์พิเศษ มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 

กระทรวงพาณิชย์ดำเนินโครงการประกันรายได้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร
⦁ ตั้งแต่ปี 2562 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้สั่งการให้ดำเนินโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 สินค้า อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
⦁ เรียกว่า “ทำได้ไว ทำได้จริง” มาตลอด เพราะ 3 ปีที่ผ่านมาสามารถช่วยเกษตรกรแล้วกว่า 7.925 ล้านครัวเรือน

o งบประมาณที่ใช้ : รวม 3 ปี ใช้ 207,775.45 ล้านบาท
▪ ปีที่ 1 (2562/63) 59,824.08 ล้านบาท
▪ ปีที่ 2 (2563/64) 60,576.59 ล้านบาท
▪ ปี่ที่ 3 (2564/65) 87,374.78 ล้านบาท
⦁ ขอให้ทุกคนมั่นใจได้ว่าหากราคาเกณฑ์กลางต่ำกว่าราคาประกันรายได้ เกษตรกรได้เงินทุกบาททุกสตางค์ไม่ตกหล่นอย่างแน่นอน โดย ธ.ก.ส. จะโอนเงินที่รัฐชดเชยให้เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง
⦁ หลักการของโครงการประกันรายได้ คือ เป็นช่องทางหนึ่งในการอัดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ เงินประกันรายได้ที่รัฐบาลชดเชยให้เกษตรกร จะเกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ จากการจับจ่ายใช้สอยของเกษตรกร กระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น ตลาด ร้านค้า ชุมชน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และนำไปสู่การขยายตัวของ GDP

o ซึ่งจากการประเมินโครงการประกันรายได้ พบว่า การจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ปี 1 – ปี 3) รวม 153,370.01 ล้านบาท จะเกิดการหมุนเวียนการใช้จ่าย กระตุ้นเศรษฐกิจ และมีผลต่อ GDP ของประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม 160,834.69 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่รัฐได้ใช้จ่ายไปในช่วง 2 – 3 ปี

⦁ สำหรับสินค้าเกษตร 5 ตัวนี้ นอกจากโครงการประกันรายได้แล้วก็ยังมีมาตรการคู่ขนานเพื่อดูแลเสริมด้วย เช่น

o ข้าว มี มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ (ฝากเก็บในยุ้งฉางเกษตรกร ชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ให้ผู้ประกอบการ 3%) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ และ มาตรการเสริม เร่งด่วน เมื่อข้าวตกต่ำ เช่น เพิ่มจุดรับซื้อ ข้าวเหนียว
⦁ มันสำปะหลัง เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง สนับสนุนเครื่องสับมันสำปะหลังให้กลุ่มเกษตรกร (มันสับ)
⦁ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น ชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ 3%
⦁ ปาล์มน้ำมัน เช่น ผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 64/65 การบริหารการนำเข้า
⦁ ยางพารา เช่น สนับสนุนสินเชื่อผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 3% สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท

การดูแลสินค้าเกษตรตัวอื่นทำอย่างไร

⦁ สำหรับสินค้าตัวอื่นนอกเหนือจากสินค้าเกษตร 5 ตัวที่มีโครงการประกันรายได้นั้น กระทรวงพาณิชย์มีการดูแลด้วยมาตรการต่าง ๆ โดยการยกระดับราคาสินค้า เช่น
⦁ มาตรการที่ใช้งบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในการช่วยเหลือเกษตรกรด้านการตลาด เพื่อรักษาหรือยกระดับราคาสินค้าเกษตร พัฒนาโครงสร้างการผลิต ปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เช่น โครงการบริหารจัดการผลไม้ปี 2564 ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เป็นต้น
⦁ จัดกิจกรรม Counter Trade “ช่วยเกษตรกรหาตลาด” แลกเปลี่ยนสินค้า หาตลาดล่วงหน้าทุกจังหวัด โดยทีมเซลส์แมนจังหวัด (ทีมพาณิชย์ 76 จังหวัด) ทำงานเชิงรุก สร้างมูลค่าการค้ารวม 8,617.18 ล้านบาท (ปี 63 มูลค่า 3,245.06 ล้านบาท ปี 64 มูลค่า 5,372.12 ล้านบาท)
⦁ และดำเนินการจับคู่ธุรกิจแบบออนไลน์หรือ Online Business matching (OBM) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่น การเจรจาขยายตลาดสินค้าเกษตรและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ

การส่งออกในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง

⦁ เรียกได้ว่าปี 2564 เป็นปีที่กระทรวงพาณิชย์ทำผลงานด้านการขับเคลื่อนการส่งออกโดดเด่นมาก มีการขยายตลาดเชิงรุกที่ทำให้การส่งออกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
⦁ ตัวเลขการส่งออกปี 2564 (มกราคม–ธันวาคม) ขยายตัว 17.1% และในบางเดือนสูงสุดในรอบ 11 ปี และมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน ที่ 271,173.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
⦁ การส่งออก ในเดือนธันวาคม 64 มีมูลค่าสูงสุด 24,930.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (810,712 ล้านบาท) ขยายตัว 24.2% โดยได้รับอานิสงส์จากการเร่งนำเข้าในหลายประเทศเพื่อสต็อกสินค้าให้ทันช่วงเทศกาลปีใหม่ และการดาเนินการตามแผนส่งเสริม การส่งออกเชิงรุกของกระทรวงพาณิชย์
⦁ การส่งออกไทยขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4% กว่า 4 เท่า เป็นผลสำเร็จจากการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งตามแผนส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ที่เร่งแก้ไขปัญหา และสร้างโอกาสทางการค้าให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับความต้องการซื้อจากต่ำงประเทศ และปริมาณการค้าโลก ที่ปรับตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงปัจจัยเสริมจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่า และราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัว ในระดับสูง ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง
⦁ สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวกว่า 22.4% ต่อเนื่อง 13 เดือน สินค้าเกษตรหลัก ขยายตัวเกิน 20% ทุกตัว ได้แก่
⦁ ข้าว ขยายตัว 24.9% กลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง อังโกลา เซเนกัล โกตดิวัวร์
⦁ ยางพารา ขยายตัว 22.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)
⦁ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 48.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม)
⦁ ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัว 23.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์)
⦁ น้ำตาลทราย ขยายตัว 123.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน)
⦁ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัว 17.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย สิงค์โปร์)
⦁ อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 35.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 28 เดือน (ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย)
⦁ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ขยายตัว 18.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ในตลาดสหรัฐฯ จีน กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม)
⦁ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 25.8% ขยายตัว ต่อเนื่อง 8 เดือน (ในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา)
⦁ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 169.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 19 เดือน (ในตลาดมาเลเซีย อินเดีย เมียนมา เวียดนาม จีน)
⦁ มูลค่าการค้าขยายตัวกว่า 21.56% โดยเป็นมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น 27.25%
⦁ เฉพาะ ธ.ค. 64 มีมูลค่าการค้าขยายตัวกว่า 24.26% โดยเป็นมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้น 30.64%
⦁ เมื่อเจาะเฉพาะการค้าชายแดน การค้าสินค้าเกษตรชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย กัมพูชา เมียนมา สปป.ลาว) ปี 2564 จะเห็นว่า
⦁ ในส่วนของแผนผลักดันการส่งออกปี 2565 กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน และเสริมด้วยแผนงานใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคต โดยจะ
⦁ ขับเคลื่อนการส่งออก ด้วยหลัก “รัฐหนุน เอกชนนำ” ผ่านกลไก กรอ.พาณิชย์
⦁ เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก โดยเดินหน้ายุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”
⦁ มุ่งเน้นตลาดเป้าหมาย 3 กลุ่ม (1) ตลาดศักยภาพเดิม รุกตลาดเพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด ด้วยกลยุทธ์การเจาะตลาดเมืองรองด้วย Mini FTA และเสริมสร้างภาพลักษณ์ (2) ตลาดใหม่ เปิดตลาดด้วยกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า และสร้างโอกาสในการพบปะเพื่อเจรจาธุรกิจ (3) ตลาดที่เคยเป็นตลาดสำคัญ ฟื้นฟูความเชื่อมั่น ด้วยกลยุทธ์การฟื้นความสัมพันธ์ระดับสูง เร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า และเพิ่มกิจกรรมทางการค้า
⦁ เดินหน้าเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาค ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และปรับตัวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม และดำเนินธุรกิจภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG รวมถึง เร่งสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (GenZ)
⦁ ขยายการเชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และการเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจทางออนไลน์ (OBM) ให้เป็น Smart OBM โดยประยุกษ์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อให้การจับคู่เจรจาธุรกิจมีความแม่นยาและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการซื้อขาย
⦁ สร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้กับสินค้าและธุรกิจบริการไทย ด้วยการใช้ soft power จากความเข้มแข็งของประเทศไทยด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ และเอกลักษณ์ความเป็นไทย (Thainess) โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการส่งออก อาหารไทย ดิจิทัลคอนเทนต์ สปา/สมุนไพรไทย ร้านอาหาร Thai Select
⦁ เพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกด้วยแบรนด์ (Brand) นวัตกรรม (Innovation) และการออกแบบ (Design) ที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG เพื่อสร้าง BCG Heroes ในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพสูง อาทิ อาหารแห่งอนาคต อาหารสัตว์เลี้ยง บรรจุภัณฑ์ ไลฟ์สไตล์ และเครื่องสำอาง/สมุนไพรไทย เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อม

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของสินค้าเกษตรไทยอย่างไร

⦁ การใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรเรียกได้ว่าเป็นอนาคตและเป็นนโยบายสำคัญข้อหนึ่งของ รนม.และ รมว.พณ ในวิสัยทัศน์ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ได้เน้นย้ำให้เกิดการจัดทำ single big data และ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้การเกษตรไทย กลายเป็นการเกษตรทันสมัย เมื่อใช้เทคโนโลยีทั้งสองเพื่อผลิตให้แม่นยามากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง โดยการใช้ทรัพยากรการผลิตที่น้อยลง เช่น น้า ปุ๋ย ยา ในขณะที่ผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่ำแต่ขายได้กาไรมาก และได้มาตรฐานสาหรับส่งออกไปยังทุกตลาดของโลก อีกทั้งยังเดินหน้าสร้างแพล็ตฟอร์มกลาง ซึ่งดาเนินการสร้างแพลตฟอร์มกลางในรูปแบบแบบ B2B (Business-to-Business) เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มกิจกรรมจากการซื้อขายปริมาณมากในแต่ละครั้ง โดยเข้าถึงได้บนหน้าเฉพาะ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” บนเว็บไซต์ moc.go.th
⦁ ตัวอย่างผลการดำเนินการของแพล็ตฟอร์มกลาง เช่น การจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ของสหกรณ์และผู้ซื้อจากต่ำงประเทศระหว่างวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2564 โดยมี 9 สหกรณ์ และ มีผู้นำเข้าจำนวน 22 ราย จาก 9 ประเทศ รวม 59 คู่เจรจา ผลคือสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายคาดการณ์ในระยะเวลา 1 ปี 79.46 ล้านบาท หรือ 2,410,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวอินทรีย์ นมอัดเม็ด ผลิตภัณฑ์นม และผลิตภัณฑ์เนื้อวัวแปรรูป เป็นต้น
⦁ การดำเนินการของ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด นี้มุ่งเน้นให้ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะต้องสามารถคาดการณ์ หรือ forecast ผลผลิตล่วงหน้าของไทยเองและของประเทศอื่นได้ เพื่อที่จะเข้าใจว่าการผลิตของไทยสอดคล้องกับตลาดขนาดไหน เมื่อเข้าใจแล้วจะสามารถกาหนดราคาและบริหารจัดการการเข้าตลาดได้ง่ายขึ้น และเมื่อเกิดความแม่นยำแล้วจะทำให้ลดการสูญเสียในการผลิตลง และลดต้นทุนการผลิตด้วย
⦁ กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตการเกษตร โดยที่ไทยต้องผลิตสินค้าเทคโนโลยี กลางน้ำและปลายน้ำด้วย ไม่ใช่แค่ผลิตต้นน้ำ อาทิเช่น ยางต้องผลิตยางรถยนต์เอง มันสำปะหลังต้องผลิตพลาสติกได้ และสาหรับสินค้าที่สร้างปลายน้าได้ยาก อาทิ ข้าว ไทยควรผลักตัวเองไปเป็น trader ของโลก ดังเช่นที่สิงค์โปร์ทำอยู่
⦁ นอกจากนี้ ต่อจากนี้ไปการใช้เทคโนโลยีภาคเกษตร เป็นเรื่องของ การทำเกษตรกรรมให้ยั่งยืน มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดการใช้กำลังแรงงาน นาเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
⦁ จะต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่าย Agro-Industrial Business ของแต่ละพื้นที่ ใช้หลักการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Based) ควบคู่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้า หากวัตถุดิบ/สินค้าเกษตรพื้นที่ใดมีความโดดเด่น จับป้อนสู่โรงงานแปรรูปสินค้านั้นที่อยู่ทั่วประเทศ ใช้กลไกเซลล์แมนจังหวัดจับคู่เกษตรกรและผู้ประกอบการมาเจอกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตทางการเกษตรมีผู้รับซื้อที่แน่นอน และโรงงานแปรรูปไม่เกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
⦁ รวมทั้งจะต้องเปลี่ยนเกษตรกรดั้งเดิมเป็นนักธุรกิจการเกษตร (Farmer to Agribusiness Man) ยกระดับพัฒนากลุ่มเกษตรกรศักยภาพสู่นักธุรกิจเกษตร เพิ่มความรู้ด้านการค้าขายและการตลาด ขายสินค้าเกษตรมูลค่าสูงที่ตลาดต้องการ
⦁ ในส่วนจุดแข็งของประเทศไทยด้านอาหาร กระทรวงพาณิชย์ก็จะเดินหน้าสานต่อ “อาหารไทย อาหารโลก” สร้างไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัยของโลก มุ่งเน้นโมเดล BCG ประชาสัมพันธ์และทำการตลาดสินค้าอาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นสินค้าไทย ทำจากวัตถุดิบคุณภาพดี มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้รับการรับรอง มีรสชาติอร่อย เน้นส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์เลี้ยง
⦁ โดยจะช่วยชี้เป้าตลาดสินค้าเกษตรและอาหารดาวรุ่งใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการไทย ค้นหาความต้องการ (Demand) จากกลไกทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อสร้างตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารดาวรุ่ง เน้นสินค้าที่มีมูลค่าสูง มีนวัตกรรม อาทิ สมุนไพร กัญชา และกัญชง รวมทั้งอาหารฟังก์ชัน อาหารฮาลาล และอาหารแห่งอนาคต

ทั้งหมดที่พูดถึงนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ที่เกษตรและพาณิชย์จับมือกันสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เสริมรับไปกับโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 สินค้า ที่นอกจากจะสร้างหลักประกันรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน นำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เพิ่ม GDP ของประเทศ และสนับสนุนให้มีการพัฒนาการผลิต เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่พี่น้องเกษตรกรไทย ช่วยให้ภาคการเกษตรของประเทศพัฒนาไปสู่เกษตรสร้างชาติต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย

'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ

'มิสเตอร์เกษตร' วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ

‘มิสเตอร์เกษตร’ วอน รัฐบาลแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ แนะกรมการค้าภายใน ประสานรง.อาหารสัตว์รับซื้อมันเส้น