พลังงานแย้มส่งมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าเลขาครม.แล้ว จับมืออุตฯศึกษาผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม 200 เมกะวัตต์ ตั้งเป้าเปิดรับซื้อไฟภายในปีนี้ 100 เมกะวัตต์
15 ก.พ. 2565 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องมาตรการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) นั้น ล่าสุดเสนอเรื่องไปยังเลขาธิการ ครม. แล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุเข้าเป็นวาระเพื่อพิจารณาและเสนอให้ ครม. เห็นชอบต่อไป
พร้อมกันนี้ นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานสักขีพยานร่วมกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในพิธีลงนามบักทึกความเข้าใจการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไฟฟ้า (Waste-to- Energy) และการส่งเสริมการผลิตการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ระยะเวลา 4 ปี ว่าเพื่อสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจ BCG ( (Bio-Circular-Green Economy Model) ตั้งเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะเฟส 2 เพิ่มขึ้นอีก 600 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 200 เมกะวัตต์ ซึ่งเตรียมเปิดรับซื้อภายในสิ้นปีนี้
“แนวทางการรับซื้อไฟฟ้าเบื้องต้นมีแนวโน้มว่าปี 2565 จะแบ่งเป็นโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมปีละ 100 เมกะวัตต์ ขยะชุมชน 200 เมกะวัตต์ โดยจะมีการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ(COD)ปี 2567 ขณะที่ปี 2566 จะรับซื้อในปริมาณเดียวกับปี 2565 แต่ COD ปี 2568 โดยก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานขยะไปแล้วในระยะแรกรวมเป็นปริมาณทั้งสิ้น 343.94 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นขยะชุมชน 313.16 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 30.78 เมกะวัตต์ และยังมีในส่วนของการนำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตความร้อนปริมาณ 135 Ktoe (พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)”นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว
นายสุริยะ กล่าวว่าขณะนี้ทั้ง 2 กระทรวงอุตสาหกรรมจะตั้งคณะทำงานร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อศึกษาแนวทางศักยภาพของพื้นที่ และปริมาณขยะอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาโรงไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan 2022) และให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2608 โดยมอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรม (กรอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงวัตถุอันตรายด้านการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ตามกรอบของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินงาน
“กระทรวงอุตสาหกรรมจะป้อนขยะอุตสาหกรรมให้ได้ 5 ล้านตัน จากทั้งหมด 18 ล้านตัน แต่ไม่รวมกับขยะอันตรายใดๆ น่าจะเพียงพอที่จะช่วยลดการฝังกลบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดูแลมาก โดยโรงงานที่สร้างขยะมีรวม 60,000 แห่ง หากมีโรงไฟฟ้าอนาคตก็ไม่จำเป็นต้องหาพื้นที่ฝังกลบและกระทบสิ่งแวดล้อมชุมชนเพิ่ม”นายสุริยะกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พีระพันธุ์' ไม่รู้เรื่องตั้งคกก.JTC บอกยังไม่ได้รับแจ้ง
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค หรือ JTC เพื่อจัดสรรผลประโยชน์ร่วมทางทะเล ระหว่างไทยและ
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
‘ภูมิธรรม’ ทุบฝ่ายต้านบิดเบือน MOU เกาะกูด ทำผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน เมื่อการเมืองบิดเบือน MOU เกาะกูด" ระบุว่าการจุดประเด็นทางการเมืองเรื่อง MOU 44 ในช่วงนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในหลา