เอกชนกระทุ้งรัฐ คลอดนโยบายหนุนรถอีวี หลังผู้บริโภค-ผู้ผลิตไม่กล้าตัดสินใจเดินหน้า พร้อมแนะฟื้นนโยบาย “รถเก่า แลก รถใหม่” กระตุ้นความต้องการตลาด พ่วงลดฝุ่นพิษ PM2.5
14 ก.พ. 2565 นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์รถยนต์ของไทยยังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีการคาดการผลิตในปี 2565 นี้ อยู่ที่ 1.8 ล้านคัน แต่ขณะที่สถานการณ์รถยนต์ระบบไฟฟ้า(อีวี)ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่องถึงนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาลที่เตรียมออกมาว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากน้อยเพียงใด แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าในประเทศแม้จะได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถทำตลาดขายได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังรอความชัดเจนของนโยบายสนับสนุนอยู่ จากการประเมินเบื้องต้นว่าจะมีการช่วยเหลือทั้งลดภาษี หรือการอุดหนุนในด้านต่าง ๆ
“ทั้งนี้ต้องการให้ทางภาครัฐกำหนดและออกใช้นโยบายให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทุกอย่างเกิดความชัดเจนและสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตของตลาดได้ ไม่ใช่แค่เรื่องการซื้อขายเท่านั้น แต่รวมถึงการผลิตด้วยที่ปัจจุบันจากการหารือกับหลาย ๆ ค่ายรถยนต์ก็มีความพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตรถอีวีในประเทศไทยมากขึ้น ขณะที่ด้านราคาของรถอีวีผมมองว่าก็ต้องมีราคาที่ไม่เพียงเกินไปเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาป เพราะหากจะจูงใจให้คนหันมาซื้อรถอีวีกันมากขึ้น ก็ต้องมีราคาที่คนไทยพร้อมที่จะควักเงินจ่ายไหว”นายสุวัชร์ กล่าว
นายสุวัชร์ กล่าวว่าการนำนโยบายเดิมอาทิ รถเก่าแลกรถใหม่มาใช้ก็อาจจะเป็นแนวทางที่ดีที่จะสนับสนุนให้ความต้องการใช้งานรถอีวีมีเพิ่มมากขึ้นในประเทศ รวมถึงยังเป็นแนวทางสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลภาวะอย่างเช่น PM 2.5 ได้อีกทางหนึ่ง แต่การกำหนดนโยบายรถเก่าแลกรถใหม่ครั้งนี้ก็ต้องเปิดโอกาสให้กับผู้บริโภคให้สามารถเลือกได้ด้วยว่าจะเปลี่ยนรถใหม่ไปใช้รถรูปแบบไหน ไม่ใช่กำหนดต้องเป็นแค่รถอีวีเท่านั้น เพราะเชื่อว่าผู้บริโภคก็ต้องคำนวนความต้องการ และเปรียบเทียบความเหมาะสมของการใช้แน่นอน หากบังคับให้เปลี่ยนแค่รถอีวีจะเป็นการจำกัดเกินไปเพราะปัจจุบันรถอีวีตัวเลือกยังน้อยอยู่
“ถ้าภาครัฐตึงจนเกินไป กำหนดเพียงรถไฟฟ้าเท่านั้น อาจจะทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเพราะตัวเลือกยังมีน้อยและราคากระโดดต่างกันเกินไป ถ้าถามความเห็นผมการเอาเป้าหมายลด PM2.5 เป็นที่ตั้งด้วยนั้น แค่ให้เปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฮบริด หรือปลั๊กอิน ไฮบริด หรือแม้กระทั่งรถอีโคคาร์ ก็ดีกว่าการใช้รถยนต์เก่าแน่นอน แต่ทุกอย่างจะสำเร็จได้ อยู่ที่การกำหนดนโยบายและนำออกมาใช้จริง ๆ สักที ไม่ใช่ประกาศแล้วเงียบหายไป ทั้งนี้แม้นโยบายดังกล่าวจะมีปัญหากับกลุ่มผู้ขายรถมือสองอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าไม่กระทบเยอะเนื่องจากผู้บริโภคมีโอกาสที่จะตัดสินใจ และความต้องการรถมือสองก็ยังมีอยู่”นายสุวัชร์ กล่าว
อย่างไรก็ตามมองว่าทุกอย่างต้องมาพร้อมกันถึงจะสนับสนุนตลาดรถอีวีให้เติบโตไปได้ นอกจากสินค้าจะต้องมีความพร้อมแล้ว ราคาก็ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่คนซื้อไหว อาจจะต้องใช้กลไกของนโยบายรัฐมาช่วยบ้าง แต่ก็เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดความต้องการมากขึ้น ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานของรถอีวี อาทิ สถานีชาร์จไฟฟฟ้า ก็ต้องมีความพร้อม เพิ่มให้การใช้งานสามารถกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยไม่ใช่กระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองใหญ่ ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แนะ 4 วิธีรับมือเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่หมดกลางทาง
เทรนด์รถ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยข้อดีที่น่าสนใจกว่ารถยนต์น้ำมันหลายข้อ ทั้งดีไซน์สวยที่มาพร้อมกับฟังก์ชันภายในที่แปลกใหม่และทันสมัยกว่าเดิมมากๆ
SolarEdge ส่ง 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ รับตลาดโซลาร์เซลล์ไทยพุ่งสวนกระแสโลก
ตลาดโซลาร์เซลล์ (PV) ของไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น กระแสความนิยมรถยนต์ไฟฟ้า
'จิราพร' คาดแนวโน้มดี สัปดาห์หน้ารถไฟฟ้า BYD เข้าชี้แจง สคบ. หาทางออกให้ผู้บริโภค
น.ส.จิราพร สินธุไพร รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตรวจสอบแคมเปญลดราคารถยนต์ไฟฟ้า BYD ว่า ในฐานะกำกับดูแล สคบ.ได้
สัมผัส “Honda e:N1” ยนตรกรรมไฟฟ้า 100%
หลังจากฮอนด้า ออโตโมบิล ประเทศไทย ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นรุ่นแรกของทางฮอนด้าในประเทศไทย ซึ่งได้นำมาอวดโฉมในงาน บางกอกมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45