กทพ. เดินหน้าดันทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ ตอน N 1 เล็งสร้างอุโมงค์ทางลอด ‘งามวงศ์วาน-วิภาวดีฯ’ ลดผลกระทบ ม.เกษตรฯ ดันงบเพิ่ม 2 หมื่นล้าน
10 ก.พ.2565-นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พร้อมด้วย นายประมวลรัตน์ จินณรงค์ รองผู้ว่าการฝ่ายกฎหมายและกรรมสิทธิ์ที่ดิน นายพิศาล ไทยสม ผู้อำนวยการฝ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน นายวรปรัชญ์ พ้องพงษ์ศรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาและรักษาเขตทาง 2 รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่บริเวณทางแยกต่างระดับฉลองรัช ตัดกับถนนประเสริฐมนูกิจและถนนประดิษฐ์มนูธรรม ทั้ง 4 ทิศทาง ประกอบด้วยบริเวณตลาดหัวมุม บริเวณลานจอดรถ The Walk บริเวณด้านหน้าคอนโดนวธารา และบริเวณร้านข้าวต้มสมพงษ์ เพื่อสำรวจพื้นที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N 2
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า โครงการทางทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N 2 เป็นทางพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจ รวมถึงบริเวณใกล้เคียงตลอดแนวถนน โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณ กม.1+000 ของถนนประเสริฐมนูกิจ บนตอม่อที่มีอยู่เดิม ผ่านแยกลาดปลาเค้า แยกเสนานิคม แยกฉลองรัช แยกนวมินทร์ ไปสิ้นสุดโดยเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก มีระยะทางรวม 11.3 กิโลเมตร มีทางขึ้นลงจำนวน 5 แห่ง มูลค่าโครงการ 16,960 ล้านบาท
ทั้งนี้ส่วน ตอน N 1 นั้น กทพ. อาจจะมีแนวคิดที่จะก่อสร้างในรูปแบบอุโมงค์ ลอดถนนงามวงศ์วานและถนนวิภาวดี-รังสิต เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ทั้งนี้การก่อสร้างในรูปแบบอุโมงค์จะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่าทางยกระดับปกติหลายเท่า ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อให้โครงการมีผลตอบแทนที่สอดคล้องกับต้นทุนที่ กทพ.จะต้องลงทุนเพิ่ม อาจทำให้อัตราค่าผ่านทางของ กทพ ในทางพิเศษสายนี้ ขยับสูงขึ้น ส่วนจะเป็นเท่าไหร่นั้น กทพ. จะประเมินและนำเสนอให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
BEM ร่วมกับ กทพ. เพิ่มช่อง Easy Pass เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทาง
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ร่วมกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. เปิดช่อง Easy Pass เพิ่มอีก 1 ช่องทาง
4 พ.ค. ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)
BEM มอบรถยนต์กู้ภัย กทพ.
นายไพสัณฑ์ เลิศศรารักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ งานปฏิบัติการทางพิเศษ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ( ที่ 4 จากซ้าย)
BEM แสดงความยินดี กทพ. ครบรอบ 51 ปี
นายอนวัช สุวรรณฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (ที่ 9 จากซ้าย) ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT
กทพ. ชะลอขึ้นค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถีออกไปอีก 6 เดือน
กทพ. ชะลอปรับขึ้นค่าผ่านทางของทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถี ออกไปอีก 6 เดือน มีผลวันที่ 1 มี.ค. 67 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการทางด้านขนส่ง
กทพ.สั่งสอบเหตุคานสร้างด่วนพระราม 3 ถล่มทับคนงานเสียชีวิต
กทพ. สั่งหยุดงานผู้รับเหมา 7 วัน สอบหาเหตุ หลังคานสร้างด่วนพระราม 3 ย่านพระราม 2 หล่นทับคนงานตาย 1 เจ็บ 1 รถยนต์เสียหาย 4 คัน