ศาลยกฟ้อง BTS ยื่นร้องรฟม.เรียกค่าเสียหายประมูลสายสีส้ม

“ศาลปกครองกลาง”ยกฟ้องคดี รฟม.เปลี่ยน TOR ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้ดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ความเสียหายต่อบีทีเอสยังไม่เกิดขึ้น ด้าน “สุรพงษ์” เผยเตรียมฟ้อง กทม.อีกทวงหนี้ค่าติดตั้งระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียว 20,000 ล้านบาท

9 ก.พ. 2565 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซีเปิดเผยถึงกรณีศาลปกครองกลาง นัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลเป็นสาระสำคัญ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจทำให้เกิดการใช้งบประมาณมากขึ้น ต้องไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในส่วนของการเรียกค่าเสียหาย​ที่เกิดขึ้นกับบริษัท​ ศาลได้พิจารณา​ยกฟ้องเนื่องจากศาลมองว่า​บริษัท​ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการดำเนินการอยู่แล้ว​ จึงมองว่าบริษัท​ไม่เสียหาย​​

สำหรับการดำเนินการหลังจากนี้ บริษัทจะหารือกับฝ่ายกฎหมายว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยศาลฯได้อนุญาตให้มีการยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ส่วนคดีอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา คือที่ศาลปกครอง คดีที่ภาครัฐออกประกาศยกเลิกประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้มฝาย จากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกวดราคา และคดีตามกระบวนการศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง 1 คดี ฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาคดี

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่าส่วนกรณีของการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระบุว่า เอกชนทำได้เพียงปฎิบัติตามสัญญาจ้างเดินรถ ก็จะปฎิบัติหน้าที่ต่อไปแม้ว่าจะยังไม่ได้รับหนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งการที่มีคนพูดว่าเอาหนี้ 30,000 ล้าน นำมาแลกกับสัมปทาน ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่ให้บริการจริงกับประชาชน ทั้งการติดตั้งระบบ และการเดินรถ

อย่างไรก็ตามส่วนเรื่องสัมปทานเป็นเรื่องของภาครัฐที่พยายามจะแก้ปัญหาระยะยาว โดยเฉพาะหนี้ของ กทม.ที่รับภาระค่าก่อสร้าง กับงานโยธา มาจากทาง รฟม.จำนวน 60,000 ล้านบาท รวมถึงค่าโดยสารที่ต้องให้เก็บไม่เกิน 65 บาท สวนทางกับเกณฑ์เดิมที่กำหนดไว้สูงสุด 158 บาท ระยะทาง 60 กิโลเมตร จึงเจรจากันเพื่อลดค่าโดยสาร ดังนั้น ทั้งสองเรื่องจึงไม่เกี่ยวข้องกัน ทาง BTSC อยากให้รัฐชำระหนี้สินที่ค้างอยู่เกือบ 40,000 ล้านบาท และหากจะให้เป็นผู้เดินรถต่อไปก็ไม่มีปัญหา เพียงแค่ขอให้ชำระค่าจ้างเดินรถ เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2564 ได้ยื่นฟ้องทวงหนี้ กทม.ในส่วนของค่าดำเนินการเดินรถ 12,000 ล้านบาท ขณะนี้เรากำลังเตรียมฟ้องทวงหนี้ในส่วนของค่าติดตั้งระบบเดินรถอีก 20,000 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชาญ พวงเพ็ชร์' แพ้คดี! ศาลปกครองกลางสั่งชดใช้ 2.3 ล้าน ปมซื้อเครื่องออกกำลังกาย

คดีหมายเลขดำที่ 1015/2565 คดีหมายเลขแดงที่ 2245/2567 คดีที่นายชาญ พวงเพ็ชร์ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ฟ้องเพิกถอนคำสั่งที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

'ศรีสุวรรณ' นำชาวลาดพร้าวฟ้องโยธากทม.-คชก.อนุมัติสร้างคอนโด 6 แท่งเลียบทางด่วนฯ

นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อฟ้อง ผอ.สำนักการโยธา ผอ.เขตลาดพร้าว และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา EIA (คชก.) ของ กทม.

ศาลยกฟ้อง 'หลานชายอดีตรมต.' ล่วงละเมิดทางเพศ 'ดาราสาว'

ศาลอาญายกฟ้อง ‘เอ็ม’ หลานชาย อดีต รมว.ต่างประเทศ ไม่ผิดล่วงละเมิดทางเพศหญิง ชี้หลักฐานจำเลยชัดผู้เสียหายมีสติยินยอม ผลตรวจเเพทย์ไม่พบยานอนหลับ