หนัก! พาณิชย์เผยเงินเฟ้อ ม.ค. เพิ่มขึ้น 3.23%

“พาณิชย์”เผยเงินเฟ้อม.ค. เพิ่มขึ้น 3.23%% เหตุได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นหลัก ส่วนหมู ไก่ ไข่ น้ำมันพืช เป็นปัจจัยเสริม คาดเดือนก.พ. ยังเพิ่มต่อเนื่อง จับตาปัจจัยกดดัน ทั้งราคาพลังงาน บาทอ่อนกระทบต้นทุนนำเข้า แต่ยังประเมินเงินเฟ้อทั้งปี 0.8-2.4%

5 ก.พ. 2565 นายรณรงค์ พูนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนม.ค.2565 เท่ากับ 103.01 เทียบกับธ.ค.2564 เพิ่มขึ้น 1.13% เทียบกับเดือนม.ค.2564 เพิ่มขึ้น 3.23% สูงขึ้นจากเดือนธ.ค.2564 ที่ 2.17% และทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน โดยมีปัจจัยหลักมาจากสินค้ากลุ่มพลังงานที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรง ทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ โดยเพิ่มขึ้น 19.22% และมีผลต่อเงินเฟ้อถึง 2.25% ขณะที่สินค้ากลุ่มอาหาร แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มสูงขึ้น แต่มองว่า ราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้น เป็นเพียงจำเลย ที่ทำให้ค่าครองชีพประชาชนสูงขึ้น โดยค่าครองชีพที่สูงขึ้น มาจากราคาพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ สินค้าในกลุ่มอาหารสด ที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ โดยเนื้อสุกร มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียง 0.67% ไก่สด มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.03% และไข่ไก่ มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.05% ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ที่ปรับราคาสูงขึ้นเล็กน้อยตามต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าจ้างแรงงาน และมีผลต่อเงินเฟ้อ เช่น น้ำมันพืช อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน และค่าบริการส่วนบุคคล แต่ก็ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ปรับลดลง เช่น ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ผักสด ผลไม้สด เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน และค่าเล่าเรียน เป็นต้น

สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก พบว่า ดัชนีอยู่ที่ 100.99 เพิ่มขึ้น 0.26% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2564 และเพิ่มขึ้น 0.52% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2564

“เงินเฟ้อเดือนม.ค.ที่สูงขึ้น 3.23% ยังไม่เป็นสัญญาณบ่งชี้ให้หน่วยงานรัฐใช้มาตรการสกัดเงินเฟ้อ หากจะใช้มาตรการต้องพิจารณาเงินเฟ้อที่ขยายตัวต่อเนื่องในหลาย ๆ เดือน ติดต่อกัน และเป็นการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว เช่น จาก 3% เป็น 5% 7% แต่ย้ำว่า เงินเฟ้อเดือนม.ค.2565 ยังเป็นเงินเฟ้อในระดับอ่อน ๆ มาจากปัจจัยหลัก คือ ราคาพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่ไม่สามารถควบคุมได้”นายรณรงค์กล่าว

นายรณรงค์กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในเดือนก.พ.2565 หากราคาพลังงานยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อของไทยสูงขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ทั้งปี ยังคาดว่า จะอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ที่ 0.7-2.4% ค่ากลางอยู่ที่ 1.5% โดยยังมีปัจจัยที่ต้องจับตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ราคาน้ำมัน ที่อาจสูงขึ้นได้อีก

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามปัจจัยอื่น ๆ เช่น ค่าเงินบาท ที่หากอ่อนค่ามาก จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้น จึงต้องดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับเงินเฟ้อ , มาตรการช่วยเหลือประชาชน ที่แม้ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้นในช่วงโควิด-19 แต่หากเงินเข้าสู่ระบบไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ เหมือนอย่างที่หลายประเทศใช้งบประมาณสูงในการช่วยเหลือประชาชน แต่ก็ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ รวมถึงการเก็บภาษี เช่น ภาษีที่ดิน ที่อาจกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' วอนม็อบรถบรรทุก ขอให้ใจเย็นรออีกหน่อย จะได้ใช้น้ำมันราคาถูก

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกช่วงครึ่งหลังของปี 2567

“สุชาติ” ชี้ช่องทางตลาดในและต่างประเทศแก่ผู้ประกอบการถุง พลาสติกสาน สยามแฟล็กซ์แพ็ค จำกัด โอกาสโตยังเปิดกว้าง!

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หารือกับผู้บริหาร บริษัท สยามเฟล็กซ์แพ็ค จำกัด ผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าถุงกระสอบพลาสติก สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA

‘สุชาติ’ แนะเกษตรกร/ผู้ประกอบการโคนม นำนวัตกรรม และดูแลสิ่งแวดล้อม เพิ่มมูลค่า พร้อมศึกษาประโยชน์จาก FTA ขยายตลาดส่งออก

รมช.พณ. สุชาติฯ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการนมโคแปรรูป ในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกษตรและผู้ประกอบการเร่งใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายตลาดส่งออก และเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่การเปิดเสรีสินค้านมและผลิตภัณฑ์ ภายใต้ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568