กลุ่มธุรกิจยุโรปย้ำการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันเป็นปัจจัยหลัก ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในไทย
1 ก.พ. 2565 – สมาคมการค้ายูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์ (The European Association for Business and Commerce หรือ EABC) ชี้การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและความสามารถ ในการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย พร้อมเรียกร้องให้มีการสนับสนุน อย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศไทยหลังโควิด-19
งานเปิดตัว “เอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคยุโรปในประเทศไทยประจำปี 2565” ถูกจัดขึ้นในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565 ผ่านทางดิจิตอลผ่านสื่อออนไลน์เพื่อให้สอดคล้องตามคำแนะนำของทางการไทย โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ
เอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคยุโรปในประเทศไทยประจำปี 2565 สะท้อนความพยายามร่วมกันของผู้นำทางธุรกิจยุโรป 12 กลุ่มทำงานในประเทศไทยในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เกี่ยวกับนโยบายในหลากหลายด้าน เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้แก่ประเทศไทยในการเพิ่มความขีดสามารถในการแข่งขันของประเทศ รายงานฉบับนี้ถือเป็นเอกสารอ้างอิงและแนวทางเพื่อการพัฒนานโยบายของประเทศไทยต่อไป โดยเอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคยุโรปในประเทศไทยฉบับปี 2562-2563 ได้ถูกดาวน์โหลดไปมากกว่า 5,000 ครั้ง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ระบุในคำปราศรัยเปิดงานว่า “เอกสารท่าที และจุดยืนของภาคยุโรปในประเทศไทยฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นมาอย่างประจบเหมาะกับช่วงเวลาที่ประเทศไทย กำลังก้าวข้ามสถานถารณ์โควิด-19 และมุ่งหาแนวทางสู่เศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน ทางกระทรวงฯ เชื่อมั่น ว่าประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้ หากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน โดยมีสมาคมการค้า ยูโรเปียนเพื่อธุรกิจและการพาณิชย์เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง”
ด้าน ฯพณฯ เดวิด ดาลี เอคอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและไทย พร้อมระบุว่า “เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของสหภาพยุโรปสามประการ อันได้แก่ การฟื้นตัวอย่างยั่งยืน, ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป และบทบาทของธุรกิจในยุโรป ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ สหภาพยุโรปชี้แนะว่า ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปจะเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในระดับภูมิภาคแลระดับโลก”
นายแจน อิริคสัน ประธานสมาคมฯ กล่าวชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้มุ่งมั่นดำเนินการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและส่งเสริมการค้าการลงทุน ผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมให้เกิดความง่ายในการทำธุรกิจในระหว่างช่วงสถานกาณ์ทางเศรษฐกิจที่เปราะบางนี้ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่จะต้องทำงานร่วมมือกัน พร้อมเน้นย้ำว่าความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรมตามระเบียบการค้าโลก ยังคงเป็นเส้นทางสำคัญสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ นายแจนยังระบุว่า ในสภาพการณ์ที่มีการแข่งขันกันทางเงินทุนและความสามารถอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน นักลงทุนต่างมองหาความได้เปรียบในการแข่งขันที่มากไปกว่าสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะสามารถแข่งขันและมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาวและจะสามารถเป็นฐานธุรกิจในภูมิภาคต่อไปได้ การปฏิรูปต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและ ความง่ายในการทำธุรกิจจึงถือว่ามีความสำคัญมาก
รายงานฯ ระบุข้อเสนอแนะเชิงนโยบายใน 4 ด้านที่สำคัญสำหรับประเทศไทย ได้แก่
1 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การเปิดพรมแดน และการเพิ่มทักษะแรงงานไทย ในทิศทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2 หลักการเข้าสู่ตลาด (Market access) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเสรีภาคบริการ ซึ่งนำไปสู่การขยายโอกาสให้กลุ่มธุรกิจยุโรปและนโยบายยุโรป เช่น ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจและหลักธรรมาภิบาล
3 ความง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of doing business) เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
4 ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสหภาพยุโรปและประเทศไทย
EABC เป็นเวทีในการหารือพูดคุยในเชิงนโยบาย และเป็นเสียงของประชาคมธุรกิจยุโรปในประเทศไทย โดยมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อให้เศรษฐกิจไทยและประชาชนที่พำนักและทำงานอยู่ในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ประธาน EABC ในนามตัวแทนของประชาคมธุรกิจยุโรป สมาชิกและผู้สนับสนุนทุกฝ่ายขอแสดงความขอบคุณคณะทำงาน ผู้สนับสนุน และผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้สำหรับความร่วมมือในการผลิตและการเปิดตัวเอกสารท่าทีและจุดยืนของภาคยุโรปในประเทศไทยประจำปี 2565
นายแจนยังกล่าวเชิญชวนกลุ่มธุรกิจยุโรปทั้งหมดในประเทศไทยให้เข้ามามีส่วนร่วมในงานของ EABC
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทย-ตุรกี ชื่นมื่น รมช. สุชาติ จับมือ รมช. การค้าตุรกี ผลักดันเจรจา FTA ต่อ เพื่อสานสัมพันธ์การค้าการลงทุน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้พบหารือทวิภาคีกับนายมุสตาฟา ตุซคู (H.E. Mr. Mustafa Tuzcu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าสาธารณรัฐตุรกี ในห้วงการเดินทางเยือนตุรกี เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการถาวรว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า