สรรพากรปล่อยคู่มือการเสีย ภาษีคริปโทฯ- โทเคนดิจิทัล ละเอียดยิบ

1 ก.พ. 2565 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมสรรพากรได้จัดทำคู่มือการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีของการเสียภาษีคริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล ซึ่งมีความยาวถึง 33 หน้า ทั้งนี้เพื่อให้แนวทางและความรู้ที่ถูกต้องสำหรับประชาชน ที่มีเงินได้จากการทำธุรกรรมดังกล่าว

ก่อนหน้านี้กรมสรรพากร ได้ประกาศแนวทางการเก็บ ภาษีคริปโทฯ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ทำให้ชัด ผ่อนปรน และมองอนาคต โดยมีข้อสรุปดังนี้

ทำให้ชัด

สำหรับการกำหนดรูปแบบของภาษีเงินได้ ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน ทางกรมสรรพากรได้มีแนวทาง ดังนี้

1.การจัดเงินได้ให้ชัดเจน โดยระบุประเภทเงินได้และผลประโยชน์ให้ครอบคลุมกำไร/รายได้จากการโอน/ผลประโยชน์อันใดจากสินทรัพย์ดิจิทัล

2.วิธีการ วิธีการคำนวณต้นทุนโดยใช้วิธีมาตรฐานการบัญชีรับรอง โดยสามารถทำได้ ๒ วิธี คือ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) โดยสามารถเปลี่ยนวิธีคำนวณในปีถัดไปได้

การวัดมูลค่าสินทรัยพ์ดิจิทัล ณ เวลาที่ได้มา หรือราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มาทั้งนี้รายละเอียดต่างๆ จะมีอยู่ในคู่มือการชำระภาษีของผู้มีเงินได้จากการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งทางกรมสรรพากรกำลังพิจารณาร่วมกับ สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และสมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และจะดำเนินการเผยแพร่ในวันจันทร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕

ผ่อนปรน

กรมสรรพากรได้มีแนวทางในการดำเนินการผ่อนปรนหลายๆ ประการ ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน และยังอยู่ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรที่สามารถดำเนินการได้ โดยแบ่งออกเป็นในเรื่องของภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามรายละเอียด ดังนี้

การคำนวณภาษีเงินได้พึงประเมิน (กำไร) นั้น ทางกรมสรรพากรจะดำเนินการเสนอให้มีการออกกฎกระทรวงเพื่อให้สามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน ซึ่งจะสามารถเข้าเงื่อนไขนี้เฉพาะ ผู้ประกอบธุรกิจ หรือ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น กรณีธุรกรรมที่กระทำผ่าน Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน และไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ทำให้ไม่ครบองค์ประกอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แต่อย่างใด

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรจะเสนอพระราชกฤษฎีกาให้ยกเว้น VAT สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่าน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือ Exchange ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

มองอนาคต

กรมสรรพากรจะพิจารณาหารือร่วมกับชุมชนสินทรัพย์ดิจิทัล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เชิงนโยบายในอนาคต เพื่อแก้ไขกฎหมายที่จำเป็นและเหมาะสม อาทิ การแก้ประมวลรัษฎากรมาตรา ๕๐ ที่เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยให้ผ่าน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือ Exchange เป็นผู้หัก และนำส่งกรมสรรพากร การเปลี่ยนประเภทการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ (Financial Transaction Tax) สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสมและบริบทต่าง ๆ โดยรอบอีกครั้ง”

อ่านเพิ่มเติม สรรพากรเคลียร์ชัดแนวทางรีดภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล – เทรดคริปโต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สรรพากร' ปักธงรีดภาษี 2.27 ล้านล้านหวังอานิสงส์มาตรการรัฐช่วยหนุน

“สรรพากร” ปักธงรีดภาษีปีงบ 2567 พุ่ง 2.27 ล้านล้านบาท หลังประเมินเศรษฐกิจโตเฉลี่ย3% มองอานิสงส์มาตรการรัฐช่วยหนุนผลงานฉลุยตามเป้าหมาย

ป.ป.ช. ฟัน 4 ขรก.สรรพากร 'ร่ำรวยผิดปกติ' โกงเงินคืนภาษี 2 พันล้าน

นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะรองโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงถึงมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดคดีการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

สรรพากรเคาะลดหย่อนภาษีซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการจัดตั้งกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ