GPSC ประกาศจ่ายปันผล 0.45 บาท/หุ้น โชว์ฐานะการเงินแข็งแกร่ง รับกำไรปี 67 กว่า 4,062 พันล้านบาท พร้อมเติบโตอย่างต่อเนื่อง
18 ก.พ. 2568 - นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 90,730 ล้านบาท ลดลง 0.4% ขณะที่มี EBITDA รวมทั้งสิ้น 19,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปี 2566 ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 4,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% โดยผลการดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มาจากกำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายทั้งไอน้ำและไฟฟ้าที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อีกทั้งการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างเป็นเลิศ แม้ว่าค่าไฟฟ้าผันแปร (ft) ในกลุ่มอุตสาหกรรมจะลดลงก็ตาม โดยส่วนใหญ่ของผลิตภัณฑ์ไอน้ำ และไฟฟ้า สามารถส่งผ่านต้นทุนได้
“จากผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ประจำปี 2567 บริษัทฯ ยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซี่งคณะกรรมการฯ มีมติจ่ายเงินปันผล จำนวน 0.90 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ 62.5% ประกอบด้วยการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 จำนวน 0.45 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,268,878,215 บาท ซึ่งได้จ่ายแล้วเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 และเงินปันผลสำหรับงวด 6 เดือนหลังของปี 2567 จำนวน 0.45 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,268,878,215 บาท มีกำหนดจะจ่ายเงินปันผลดังกล่าว ในวันที่ 23 เม.ย. 2568 โดยบริษัทฯ มีแผนจ่ายเงินปันผลดังกล่าวเมื่อได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568” นายวรวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ นอกจากการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศแล้ว GPSC ยังมุ่งมั่นพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการเติบโตของความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับสูงมาก โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันทางภาครัฐของอินเดียให้การสนับสนุน ทั้งในด้านการพัฒนาระบบสายส่งและการเปิดใช้งาน Third Party Access (TPA) ต่อยอดเทคโนโลยีจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับไฟฟ้าสะอาด การส่งเสริม supply chain ภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการให้การสนับสนุนงบลงทุน (CAPEX) เพื่อลดต้นทุน และเร่งการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดตามเป้าหมายของประเทศ
ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยเสริมศักยภาพของ GPSC ในตลาดพลังงานหมุนเวียนระดับสากล ผ่านการถือหุ้นใน AEPL สัดส่วน 42.93 % ของทุนทั้งหมด โดยเป็นโครงการที่ชนะการประมูล และมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 20,399 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว 37 โครงการ กำลังผลิต 4,696 เมกะวัตต์ โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 โครงการ กำลังผลิต 2,052 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2568-2569 และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 23 โครงการ กำลังผลิต 13,651 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถผลิตและป้อนเข้าระบบได้ในปี 2568-2570
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสู่ Net Zero Emissions ทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ผ่านความร่วมมือการพัฒนาโครงการต่างๆ ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเตรียมความพร้อมในการลดความเข้มข้นของคาร์บอนในภาคสาธารณูปโภค ให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก และรองรับมาตรการ CBAM ซึ่งจะสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านภาษีคาร์บอนในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ตรีรัตน์' จี้นายกฯ ยกเลิกสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 2,717 เมกะวัตต์
นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส นักธุรกิจพลังงานสะอาด และอดีตนักการเมือง โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก กรณีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ว่าเป็นสัญญาค่าโง่ชั่วนิรันดร์ และเป็นต้นเหตุของค่
IRPC ลุยพลังงานสะอาดดัน IRPC Clean Power คว้าประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนที่ดิน 716 ไร่ อ.จะนะ จ.สงขลา
IRPC ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเดินหน้าในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนผ่านบริษัทในเครือ IRPCCP ที่ได้รับคัดเลือกจาก กกพ. ให้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด
'พีระพันธุ์' นั่งหัวโต๊ะ กพช. สั่งชะลอรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,668 เมกะวัตต์
การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับมอบหมายจาก นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
GPSC คว้า 4 โครงการ รวม 193 MW โดย กกพ. เพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน ตามแผนรองรับอุตฯ แห่งอนาคต พร้อมหนุนเป้าหมายลดคาร์บอนฯ ของประเทศ
GPSC ผ่านการคัดเลือกโดย กกพ. เป็นผู้พัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ของผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 4 โครงการโดยเป็นกำลังการผลิตกว่า 193 เมกะวัตต์ จากโครงการร่วมทุน เฮลิออส 1 เฮลิออส 2 เฮลิออส 4