ครม.เคาะแพ็กเกจใหญ่ช่วยเหลือ 'ลูกหนี้รายย่อย-เอสเอ็มอี'

ครม. อนุมัติชุดใหญ่! จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นแน่

11 ธ.ค.2567 - นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อให้การช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รายงานในที่ประชุม ครม.ว่า จากการสรุปผลประชุมของคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 19 พ.ย. โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยกระทรวงคลังได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และมาตรการช่วยเหลือ ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยกระทรวงการคลังคลัง ได้เสนอ ครม. ดังนี้

1.มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ประกอบด้วย มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ยโดยการเน้นตัดต้นเงินลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ 3 ประเภท (สัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2567) ประเภทสินเชื่อวงเงินรวมต่อสถาบันการเงิน เช่น 1. สินเชื่อบ้าน/สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ไม่เกิน 5 ล้านบาท, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อเช่ำซื้อรถจักรยานยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 800,000 บาทไม่เกิน 500,000 บาท, สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท ส่วนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลดภาระการผ่อนชำะค่างวด ระยะเวลา 3 ปี โดยในปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ชำระค่างวดร้อยละ 50 70 และ 90 ตามลำดับตามค่างวดที่ชำระจะนำไปตัด เงินต้นทั้งหมดเพื่อให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ในช่วงระยะเวลามาตรการ

นายจิรายุ กล่าวว่า ส่วนมาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs ที่มียอดหนี้ ไม่สูง เช่นลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็น NPLs และมีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท (ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา)นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนโดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระร้อยละ 10 ภาครัฐรับภาระร้อยละ 45 และสถาบันการเงินรับภาระร้อยละ 45 ของภาระหนี้คงค้าง ทั้งนี้ แหล่งเงินของทั้ง 2 มาตรการ มาจากเงินนำส่งเข้า FIDF ของ ธ.พาณิชย์ (ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯ) จำนวน 39,000 ล้านบาท, เงินงบฯตาม ม.28 เพื่อชดเชยให้ SFIs 6 แห่ง จำนวนวน 38,920 ล้านบาท, มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของ Non – banks โดยขยายการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปยังลูกหนี้ของ Non - banks เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเปราะบางและมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูง สำหรับคุณสมบัติลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ 5 ประเภท (สัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อน 1ม.ค.2567) ในประเภทสินเชื่อวงเงินรวมไม่เกิน 1. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 800,000 บาท 2.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ 50,000 บาท 3. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กการกำกับ 100,000 บาท หรือ 200,000 บาท 4. สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล 20,000 บาท 5. สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance) ส่วนรูปแบบการช่วยเหลือ เช่น ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเป็นร้อยละ 70 ของค่างวดก่อนเข้าร่วมมาตรการระยะเวลา 3 ปี ลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 จากอัตราดอกเบี้ยก่อนเข้าร่วมมาตรการตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยแหล่งเงินธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ Non – banks อัตราร้อยละ 0.01 ต่อปีวงเงิน 50,000 ลบ. ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี งบฯ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 ลบ.

นายจิรายุ กล่าวว่า 2.มาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมของ SFIs มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอยซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนนกับกลุ่มลูกหนี้ ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และครอบคลุมลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการรักษาวินัยทางการเงินของลูกหนี้ โดยรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลูกหนี้ปกติ ครอบคลุมลูกหนี้ รายย่อย ผู้ประกอบการรายย่อย/เกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ผ่านการลดดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ผ่านการพักชำระเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ในระหว่างพักชำระหนี้ ลูกหนี้ที่ขอสินเชื่อใหม่ ผ่านการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ส่วนแหล่งเงิน ให้ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลาม ใช้จ่ายจากเงินที่ได้จากการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนำระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) จากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปี สำหรับรอบกการนำส่งเงินในปี 68 โดยจากประมาณการเงินนำส่งเข้ำ SFIF ของ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ในปี 2568 ซึ่งพบว่าหากได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งฯ เหลือร้อยละ 0.125 ต่อปี จะมีการนำส่งเงินเข้า SFIF ลดลงประมาณ 8,092 ล้านบาท

ส่วนแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก คือ 1.ยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของ บจก. ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการมีหนี้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ และไม่เกินกำลังในการชำระคืน รวมถึงออกแบบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างตรงจุดและทันการณ์ และยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ปรับปรุงและเพิ่มเติมการจัดทำฐำนข้อมูลภาวะหนี้นอกระบบของครัวเรือน เพื่อให้มีข้อมูลสถานะภาระหนี้สินที่แท้จริง และ 2.การสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับรายได้ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ส่งเสริมให้แรงงานยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ดูแลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจรายใหญ่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.เห็นชอบ อนุมัติ และรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้รับความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลุกรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเล็งชง ครม.เม.ย.นี้แก้สัญญา

จานร้อนมาแล้ว บอร์ดอีอีซีชงแก้สัญญารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินเข้า ครม.ภายเดือน เม.ย.นี้ ก่อนสั่งคู่สัญญาเอกชนเดินหน้าโครงการ

'ขุนคลัง' ลุยฟื้นชีพรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

'พิชัย' ยันเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดแก้สัญญาผ่านฉลุย ชี้เป็นโครงการสำคัญในพื้นที่ช่วยดึงการลงทุน รับมีโอกาสขยายพื้นที่เขตอีอีซีไปยังปราจีนบุรี